จากกรณีที่มีประเด็นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ เมื่อสมาชิกเฟซบุ๊ก Icez Ariyawitoonkul ได้นำภาพที่เกิดขึ้นบนรถตู้คันหนึ่ง ซึ่งผู้โดยสารคนหนึ่งได้นำกล่องใส่ไก่ 1 ตัว โดยสารมาด้วย ทำให้นำคลิปและภาพมาโพสต์บนโลกออนไลน์ พร้อมตั้งคำถามว่า “ต้องนั่งรถตู้กับไก่เป็นๆ หากติดโรคจากไก่จะทำอย่างไร” โดยข้อความระบุว่า “คืออะไรเนี่ย กุนั่งรถตู้กับไก่ ไก่จริงๆเป็นๆ!! ขนส่งแบบนี้ได้ด้วยหรอ? หวัดนก?สกปรกมาก ถ้าเป็นไข้หวัดนกจะรับผิดชอบยังไงคับ? ฝากแชร์ให้ผู้เกี่ยวข้องด้วยคับ ทะเบียนรถตู้ กรุงเทพ- ปากช่อง 15-8010 กท” ต่อมาเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ซึ่งแบ่งเป็นความเห็นว่า ไม่เห็นเป็นอะไร ไก่บางตัวสะอาดมากเลี้ยงดูอย่างดี และความเห็นว่า การขนส่งไก่นั้น มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจน เพราะไก่เป็นสัตว์ปีก ที่เป็นพาหะนำโรค จากประเด็นนี้ทีมไขประเด็นโซเชียลจึงได้นำข้อมูลมาไขข้อสงสัย และวิธีปฏิบัติอย่างถูกต้องในการขนส่งสัตว์ปีกว่าต้องผ่านขั้นตอนอย่างไรทางทีมไขประเด็นจึงสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องซึ่งมีวิธีการดำเนินการอย่างไรคงต้องย้อนไปเมื่อปี 2547 ซึ่งตอนนั้นมีการระบาดของไข้หวัดนก ทางกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์จึงได้ออกกฏหมาย ควบคุม ในกรณีที่จะมีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก เป็นพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 และแนวทางให้เกษตรกร ปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกษตรกรไม่เดือดร้อนมากโดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกจากอีกจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ไม่ว่าจะเดินทางโดยสารกระบะหรือรถมอเตอร์ไซค์ไปก็ต้องมีใบอนุญาตหากไม่มีก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย หรือแม้กระทั้งตัวของไก่เอง หากตรวจพบว่ามีเชื้อก็จะต้องถูกทำลายโดยวิธีการที่ไม่ทรมาน สำหรับขั้นตอนการดำเนินการเพื่อขอใบอนุญาตในการขนย้ายมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เอกสารประกอบการขออนุญาตเคลื่อนย้าย - ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา - บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา ของคนขับรถ - หมายเลขเส้นทางการเคลื่อนย้ายสัตว์ 2. เกษตรกรเจ้าของฟาร์มยื่นความจำนงเพื่อขอเก็บตัวอย่างอุจจาระสัตว์ปีก (Cloacl Swab) เพื่อตรวจหาเชื้อไข้หวัดนกต่อเจ้าหน้าที่/สัตวแพทย์ ประจำศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์ประจำอำเภอ 3. เจ้าหน้าที่/สัตวแพทย์ประจำศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์ประจำอำเภอเข้าไปเก็บ ตัวอย่างอุจจาระสัตว์ปีก (Cloacal swab) และนำตัวอย่างส่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพื่อทำใบบันทึกการส่งตัวอย่างและ นำตัวอย่างส่งตรวจ ณ ศูนย์วิจัย และพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดสุรินทร์ (ใช้เวลาประมาณ 8 วัน) 4. ก่อนจับไก่ประมาณ 1-3 วัน สัตวแพทย์ประจำท้องที่ต้องเข้าไปตรวจสุขภาพสัตว์ปีกที่ฟาร์มก่อนเข้าโรงฆ่า ดูว่าสัตว์ปีกมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดีหรือไม่ พร้อมออกใบ สพส.001 เพื่อรับรองสุขภาพสัตว์ปีก ให้กับเจ้าของฟาร์มปีกเพื่อนำมาประกอบกับการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก 5. ก่อนผลการตรวจวินิจฉัยจะออกประมาณ 1-2 วัน เกษตรกรเจ้าของฟาร์มต้องยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ (แบบ ร. 1) ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด (กรณีเคลื่อนย้ายข้ามโซน) และยื่นต่อเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์ประจำอำเภอ (กรณีเคลื่อนย้ายภายในโซน) 6. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด/โดยปศุสัตว์จังหวัด ทำหนังสือสอบถามพท้นที่ปลายทางการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกว่ามีโรคระบาดเกิดขึ้น ในพื้นที่ปลายทางหรือไม่เพื่อนำไปประกอบ ในการพิจารณาออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก (แบบ ร.4) พร้อมแนบผลตรวจการวิจิจฉัยโรคไข้หวัดนก และแบบตอบรับสัตว์ปลายทาง (กรณีเคลื่อนย้ายข้ามโซน) หัวหน้าปศุสัตว์ประจำอำเภอ พิจารณาออกกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก (แบบ ร.4) พร้อมแนบผลตรวจการวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก และแบบตอบรับสัตว์ปลายทาง (กรณีเคลื่อนย้ายภายในโซน) ให้กับเกษตรกรเจ้าของฟาร์มสัตว์ปีก ส่วนการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในลักษณะที่เป็นการเคลื่อนย้ายที่มีจำนวนน้อยๆ ตอนนี้ยังไม่มีกฏหมายกำหนดควบคุมไปถึง ซึ่งคงต้องรอในอนาคตอันไกล้นี้ที่จะมีกฏหมายออกมาเพื่อความสบายใจของทั้งผู้โดยสารรวมถึงคนที่เป็นเจ้าของสัตว์ปีกด้วย