ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารของประเทศมีการขยายตัวเพื่อผลิตอาหารตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้ทุกคนได้รับความสุขและความเพลิดเพลินในการบริโภคอาหารแต่ผู้บริโภคควรที่จะรับประทานอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีต่อการดูแลสุขภาพไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตามเพราะอาจกลายเป็นอาหารก่อทุกข์ที่ทำให้คุณไม่สบาย เนื่องมาจากการแฝงตัวของเชื้อโรคจุลิทรีย์หรือพยาธิ สารพิษหรือวัตถุที่ใส่ในอาหาร หรืออาการการแพ้ที่มาจากความบกพร่องทางพันธุกรรมหรือแพ้สารบางชนิด ดังนั้นหน้าที่และบทบาทของคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย.ที่ต้องกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาดเพื่อให้เป็น “อาหารปลอดภัย” ผู้สื่อข่าวสยามรัฐของเราได้มีโอกาศพูดคุยกับ “อรสุรางค์ ธีระวัฒน์” ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหารระดับซี 9 ของสังกัดกองอาหารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้สอบถามถึงหน้าที่และบทบาทของผู้เชียวชาญอาหาร คุณอรสุรางค์ ตอบว่าสำนักคณะกรรมการอาหารและยาจะคุ้มครองผู้บริโภคในด้านผลิตภันท์สุขภาพ แต่โดยบทบาทของตัวเองนั้นจะเป็นด้านอาหาร โดยมาตารฐานของ อย.เองเราจะดูแลด้านคุณภาพมาตราฐานความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตสำเร็จและจำหน่ายในท้องตลาด วันนี้เราจะคุยกันเกี่ยวกับบทบาทของ อย. ที่เกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร อย.ทำงานภายใต้กฏหมายฉบับหนึ่งคือ พ.ร.บ.พระราชบัญญัติอาหารปี พ.ศ.2522 ซึ่งในนั้นจะดูแลเรื่องของสถานประกอบการของการผลิตอาหาร และเรื่องของการนำเข้าอาหารด้วย รวมผลิตภัณท์อาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด แล้วก็เรื่องของการโฆษณาเพื่อไม่ให้มีการหลอกลวง ก็เพื่อให้ได้อาหารที่ปลอดภัย ผู้บริโภคกินเข้าไปแล้วไม่เป็นอันตราย โดยอาหารปลอดภัยนั้นก็ต้องปฎิบัติตามเกณท์มาตรฐานของอาหาร คือ อาหารในท้องตลาดนั้นมีเยอะมีทั้งเครื่องดื่มของเหลวของแข็งอาหารคาวอาหารหวานขนมผลิตภัณท์เสริมอาหารที่เป็นเม็ดเป็นแคปซูลที่กินกันอยู่ ส่วนนี้เนี่ยจะปลอดภัยได้อย่างไร ความจะเกิดก็จากการกำหนดมาตรฐานของอาหารให้อาหารแต่ละชนิดมีมาตรฐานของอาหาร เช่น น้ำบริโภคก็เป็นเกณท์นึง น้ำนมถั่วเหลืองก็อีกเกณท์นึง ซึ่ง อย.มีบทบาทในการกำหนดเกณท์ให้ผู้ประกอบการปฎิบัติตามว่าจะผลิตออกมาให้ได้ตามเกณท์ ทำให้ปลอดภัย เกณท์ก็มีทั้งด้านกายภาพ สี กลิ่น รส ด้านทางเคมีอย่างเช่นโปรตีนในนม ต้องมีเท่าไหร่ ไขมันต้องมีเท่าไหร่ ด้านจุลีนทรีย์ ก็อย่างเช่นที่เราพูดกันว่า อาหารเป็นพิษจากจุลีนทรีย์ เชื้อจุลีนทรีย์ที่ก่อให้เกิดโลก จุลีนทรีย์ที่จะเจอผลิตไม่สะอาดมีการปนเปื้อน มีเกณท์เอาไว้ต้องไม่เจอจุลีนทรีย์ที่อยู่ในวัตถุดิบเหล่านี้ นี่ก็คือหลักของตัวกำหนดความปลอดภัยเพราะฉนั้นในส่วนนี้ อย.ก็ดูด้วย ทีนี้เมื่อมีสถานที่ผลิตแล้วก็ผลิตอาหารได้ อยากผลิตอะไรก็ต้องดูกฎหมายดูประกาศ เพราะ อย.มีกฎหมายหลายฉบับให้ผู้ประกอบการปฎิบัติตามในเรื่องของคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณท์อาหารชนิดเดียวกันอยู่ในท้องตลาดต้องผ่านเกณท์เหมือนกัน เช่น นมเป็นนมโคเหมือนกันซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ ต้องมีเกณท์ว่าไขมันไม่น้อยกว่ากี่เปอร์เซนต์ โปรตีนไม่น้อยกว่ากี่เปอร์เซ็นต์ อันนี้เป็นเกณท์ว่าคุณภาพต้องเป็นไปตามนี้ ส่วนผลิตภัณท์อยู่ในภาชนะบรรจุอย่างเช่นในกล่อง ในถุง ดูฉลากและมีข้อกำหนด อันนี้ก็เป็นคราวๆกว้างๆที่ อย.ดูโดยรวม หลังจากผ่านเกณท์แล้วจะได้เลข อย.ที่เราเรียกเลขสารระบบอยู่ในฉลาก ถามว่าถ้ามีเลข อย.แล้วสามารถรับประกันคุณภาพได้มั้ยเพราะว่าผ่านเกณท์แล้ว ถ้าเค้าผลิตตามเกณท์ที่เราไปตรวจหรือว่ากฎหมายออกมามีผลวิเคราะห์พิสูจน์ยืนยันก็ปลอดภัย แต่ถ้าเกิดไปเจอมีการปลอมปน ปนเปื้อนขึ้นมาโดยเจตนาไม่เจตนา อันนั้นก็ต้องจัดการกันไป ผู้สื่อข่าวสยามรัฐถามต่ออีกว่า ผลิตภัณท์จะปลอดภัยได้อย่างไร คุณอรสุรางค์ ตอบว่า มันต้องเริ่มจากสถานที่ผลิต อย.มีการควบคุมสถานที่ผลิต คงเคยได้ยินคำว่า GMP สถานที่ผลิตแห่งนี้ได้มาตรฐาน GMP อาหารซึ่งอันนี้ก็เป็นเกณท์ให้สถานประกอบการต้องปฎิบัติตาม ว่าจะผลิตยังไงให้อาหารนั้นถูกสุขลักษณะทั้งด้านของอาคารที่ตั้งของกระบวนการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้คนงานอันนี้ต้องปฎิบัติตามมาตราฐานอันนี้เราต้องปฎิบัติตามเลยในส่วนของสถานที่ ในส่วนของการนำเข้าเราไม่สามารถไปตรวจสอบได้ก็ใช้วิธีให้เค้าส่งใบรับรองซึ่งเทียบเท่ากับในที่ผลิต เพราะฉนั้นในเรื่องของการคุมอาหารนำเข้าเราก็ดูด้วย ว่าสถานที่ผลิตเค้าได้เกณท์ GMP หรือเปล่ามีใบรับรองจากประเทศต้นทางหรือเปล่า ผู้สื่อข่าวสยามรัฐถามว่า ปัจจุบันนี้มีการใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตอาหาร ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน เป็นต้นตรงนี้ทำไมถึงใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตและน้ำมันปาล์มมีคุณประโยชน์ยังไง คุณอรสุรางค์ ตอบว่าน้ำมันปาล์มคือน้ำมันพืชชนิดนึง อย.มีประกาศที่ควบคุมคุรภาพของน้ำมันหลายฉบับเลย เอาหลักๆก่อนจะมีตั้งแต่ดั่งเดิมคงได้ยินการใช้น้ำมันถั่วลิสง อันนี้ก็เป็นส่วนนึง ส่วนน้ำมันปาล์มก็แยกออกมาฉบับนึง แต่ถ้าไม่มีเกณท์เป็นการเฉพาะก็จะรวมเป็นฉบับที่เรียกว่าน้ำมันและไขมัน ทีนี้ทำไมถึงต้องแยก เพราะว่าจริงๆน้ำมันพืช พืชและสัตว์เอามาทำเป็นน้ำมันบริโภค ทำเป็นน้ำมันประกอบอาหารปรุงอาหารได้หลายอย่าง ตอนเด็กๆเราก็กินน้ำมันหมู ปัจจุบันในท้องตลาดก็จะมีน้ำมันปาล์ม มีน้ำมันถั่วเหลือง มีน้ำมันรำข้าว คุณสมบัติของน้ำมันแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน หลักๆคือไขมันเป็นน้ำมันและไขมันอยู่แล้ว องค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมันแต่ล่ะชนิดจะไม่เท่ากัน เราเคยได้ยินเนอะกรดไขมันอิ่มตัว ไม่อิ่มตัว อันนี้มันจะไม่เหมือนกันมันขึ้นกับแหล่ง น้ำมันถั่วเหลืองก็จะมีองค์ประกอบแตกต่างกันไป จะมีกรดไขมันตัวนี้เยอะตัวนี้น้อยเป็นสัดส่วนกันไปจะไม่เหมือนกัน น้ำมันหมูก็เหมือนกันบ้างตัวก็จะมีชนิดที่1สูง ชนิดที่2ต่ำ พอมาอีกตัวนึง 1 ต่ำ2สูง เพราะฉะนั้นการเลือกใช้ก็ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างเช่นน้ำมันปาล์ม จะเหมาะกับการทอดทำให้มีความกรอบมากกว่า ผู้ใช้เค้าจะต้องเลือกว่าเค้าจะใช้เพื่อทำอะไรแต่ว่าทั้งหมดจะต้องมีเกณท์เรื่องของคุณภาพมาตรฐาน ถามว่ามีอันตรายไหมไม่มีอันตรายถ้าบริโภคที่เหมาะสมโดยเกณท์มาตราฐานความปลอดภัยมันผ่านเรื่องของเคมีสารปนเปื้อนโลหะหนัก ผ่านตามกฎหมายแต่การเอาเข้าสู่ร่างกายคนจะเป็นเรื่องของทางโภชนาการ อันนี้เป็นที่ต้องระวังว่าอย่าไปกินเยอะเพราะมันจะมีคำแนะนำเรื่องของการบริโภคซึ่งกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยก็จะมีคำแนะนำว่าอย่ากินอันนี้เยอะ ถ้ากินเกินไปเราก็จะได้รับไขมันเยอะเกินไปก็ไม่เป็นประโยชน์จะกลายเป็นว่ามันเกินจำเป็น ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าวัตถุดิบที่เราลงไปตรวจสอบต้องเป็นอย่างไรบ้าง คุณอรสุรางค์ ตอบว่าวัตถุดิบก็คืออาหารแล้วแต่ชนิดอย่างเช่นใช้น้ำมันที่เราคุยกันเรื่องน้ำมันๆก็ถือเป็นวัตถุดิบชนิดนึงซึ่ง อย.ก็ดูมาตราฐานอยู่แล้วดูสถานประกอบการอยู่แล้ว อย.มีมาตรฐานผลิตเยอะของวัตถุดิบหลายตัวรวมถึงเช่น พวกสารตกค้างในผักในส่วนนี้ก็กำกับดูแลอยู่ ว่าจะต้องตกค้างอะไรบ้างได้แค่ไหนในปริมาณแค่ไหน อย่างนี้คือวัตถุดิบที่เราตรวจสอบ ส่วนทาง อย.สามารถตรวจสอบได้หลายอย่าง และหลังจากได้อนุญาตผลิตภัณท์แล้ว อย.ทำยังไรที่จะให้ผลิตภัณท์นี้มีความปลอดภัย และมั่นใจได้เลยว่าปฎิบัติตามกฎระเบียบของ อย. เราก็จะมีการทำงานอีกหน้า คือการกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาด ซึ่งภารกิจของเรามีตั้งแต่การทำแผนเฝ้าระวัง โดยการเก็บตัวอย่าง ปีนึงทำการเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ ถ้าเจอปัญหาเราก็ลงไปจัดการ ถ้าเจอปัญหาภาพรวมก็จะจัดจำโครงการแก้ไขปัญหากันไป หรือว่าที่ท่านซื้อมาแล้วบริโภคแล้วมีปัญหาก็ร้องเรียนได้ ทาง อย.มีช่องทางของการรับเรื่องร้องเรียน ถ้าปรากฎตัวชัดเจนเราก็ลงไปยังสถานที่ผลิตแห่งนั้นไปตรวจประเมินว่าเป็นไปตามกฎหมายมั้ย อย.มีช่องทางให้ร้องเรียนหลายช่องทาง จะส่งอีเมลก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เป็นทางโทรศัพท์ 1556 สามารถร้องเรียนได้อันนี้เป็นเรื่องของการกำกับดูแลหลังจากออกสู่ตลาด หลังจากนั้นเราก็ดำเนินคดีสามรถดูได้ เราจะมีประกาศผลพิสูจน์ มีหลายเคส ที่ทาง อย.สุ่มลงพื้นที่วิเคราะห์ตรวจสอบ ทั้งได้รับการร้องเรียนมา หรือที่เป็นข่าว เราก็จะส่งหน่วยลงไปตรวจสอบพอมีผลออกมาเราก็จะดำเนินคดี ผู้สื่อข่าวสยามรัฐถามต่อว่า อย.มีมาตรการสร้างความปลอดภัยในอาหารอย่างไรบ้าง คุณอรสุรางค์ ตอบว่าอย.มีภารกิจในด้านการส่งเสริมด้วย เรื่องการให้ความรู้ในทุกระดับ คงเคยได้ยิน (อย.น้อย) คือทำกับเด็กๆเอาความรู้ด้าน อย.ลงไปสอนเด็กๆ ซึ่งทำมากว่า20ปีแล้ว ส่วนอีกด้านนึงทำกับชุมชนโครงการของ อย.เองกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค ในเรื่องของการทำ บ.ว.ร.ร.(บ้านวัดโรงเรียนโรงพยาบาล) เราไปให้ความรู้สร้างความตระหนัก ลงพื้นที่ตรวจตลาด เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลความปลอดภัยเลือกกินเลือกใช้ แล้วเราก็มีการสื่อสารในช่องทางสื่อโซเชียลทั้งหลาย ซึ่งก็สามารถดูได้ที่ FDA THAI นี่เป็นส่วนนึงเฉพาะในประเทศที่ อย.ดูแลไม่ว่าจะเป็นนำเข้าหรือผลิตในประเทศ อันนี้เป็นภารกิจของผลิตภัณท์อาหารที่อยู่ภาชนะบรรจุที่จำหน่ายในประเทศ ทำให้ได้ผลเพราะเราทำตามระดับความรู้ของกลุ่มเป้าหมายที่เราลง อย่าง (อย.น้อย)ก็จะสอนเรื่องการอ่านฉลากการซื้อขนมเหมาะสำหรับกับเด็กที่เค้าจะไปเลือกเองหรือบอกคุณพ่อคุณแม่ หรือกลุ่ม บ.ว.ร.ร.(บ้านวัดโรงเรียนโรงพยาบาล)ก็จะเป็นกลุ่มที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาหน่อย ก็เป็นเรื่องของการใช้ชุมชนและสถานพยาบาล ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดที่เราลงสื่อเพื่อสอนให้เค้ารู้จักเลือกซื้อ อ่านฉลากดูเครื่องหมายต่างๆ สุดท้ายนี้ คุณอรสุรางค์ ฝากถึงผู้บริโภคว่าช่วยทาง อย.เฝ้าระวังด้วยผลิตภัณท์อาหารเราอนุญาตไปเยอะมากในหลากหลายประเภทเพราะฉะนั้นก็จะมีการวางขายในท้องตลาดเต็มไปหมด ถ้าเจออะไรที่ผิดสังเกตอย่างเช่น ภาชนะมีปัญหาเปิดอาหารออกมาแล้วเจอผิดปกติอย่างเช่น นม มันควรจะเหลว แต่กลับเป็นก้อน อันนี้ก็เป็นการผิดปกติ หรือบนฉลากกล่าวอ้างเกินจริงประเภทรักษาโรค อันนี้ไม่ใช่สรรพคุณของอาหาร ถ้าท่านเห็นอะไรที่มันผิดปกติลักษณะนี้ รบกวนช่วยแจ้วทาง อย.ด้วย เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องคนไทยด้วยกัน ตามช่องทางที่ได้กล่าวมาแล้ว อีกส่วนนึงเรามีช่องทางที่ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้บริโภคพอสมควร อยากเชิญชวนให้เข้ามาติดตามข่าวสารทางสื่อโซเชียล เฟสบุค ไลน์ อินสตาแกรม ใช้ชื่อเดียวกันหมดเลย FDA THAI สามารถที่จะติดตามได้ก็จะมีข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ไม่ใช่เฉพาะเรื่องอาหารอย่างเดียว จะมีทั้งเครื่องสำอาง ยา เครื่องมือแพทย์ ของสมุนไพร โดยที่อยู่ภายใต้การดูแลของ อย. และอาจจะข้อมูลถึงความคืบหน้าของการออกข้อกำหนดของ อย. มีเรื่องของสิ่งที่ อย.ต้องการจะเตือน เข่น ข่าวลวง เราก็จะมี เช็ค ชัวร์ แชร์ เข้ามาอยู่ในนี้ด้วยเพื่อที่จะได้เป็นการเตือนภัยสำหรับผู้บริโภค แต่ในส่วนของอาหาร เน้นว่าก่อนเลือกซื้อควรดูให้ดีสังเกตุแล้วอ่านสลาก ซึ่งอาหารก็มีหลากหลายการเลือกกินให้เหมาะสมกับตัวเองเพื่อสุขภาพของตัวเอง