สืบเนื่องจากวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ร่วมกันจัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ ทางออกเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยางพารา” ซึ่งได้การตอบที่ดีมากทั้งจากองค์กรภาครัฐและเอกชน และ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 มีการจัดประชุมต่อเนื่องในหัวข้อ พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในการก่อตั้ง “ศูนย์การศึกษาการแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ” โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งในส่วนเจ้าหน้าที่กยท. นักวิจัยและนักวิชาการ ของ ม.อ. จากทุกวิทยาเขต ร่วมกันหาข้อสรุป ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี รศ.ดร. เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และกรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ข้อสรุปจากที่ประชุมในวันนี้ ทั้งกยท. และ ม.อ. จะร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกยท. และนโยบายของ ประธานบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย (นาบประพันธ์ บุณยเกียรติ) ที่จะให้การใช้ยางพารามาขึ้น โดยสิ่งแรก คือ การค้นหาสายพันธุ์ยางพาราที่มีคุณสมบุติเหมาะสม และมีความเสี่ยงที่ต่ำที่สุดหรืออาจจะไม่มี ซึ่งทางกยท. ได้สะสมสายพันยางไว้แล้วกว่า 40 สายพันธุ์ นักวิจัยจะนำไปวิเคราะห์ว่าสายพันธุ์ใดที่มีโปรตีนที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ในลักษณะไหนอย่างไร และจะทำการวิจัยในทุกรูปแบบ “นอกจากดูในเรื่องโปรตีนของการแพ้แล้ว จะดูในเรื่องของการแปรรูป คุณสมบัติต่างๆ ทั้งจากตัวของยางและจากส่วนประกอบที่ไม่ใช่ยาง โดยนักวิจัยจะแบ่งกลุ่ม ไปปฏิบัติงานตามความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ตนเองถนัด และจะร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยต่อไป