มก.หนุนเอสเอ็มอีแปลงเครื่องจักรเป็นทุน เชื่อม 5 สถาบันการเงิน หวังลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการหลังต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด -19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการในส่วนของ SME ทำให้หลายโรงงาน มีการปรับลดแรงงาน ลดค่าตอบแทน ลดต้นทุนในด้านต่างๆกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 5 สถาบันการเงิน ร่วมสร้างแคมเปญช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เสริมสภาพคล่อง พร้อมเดินหน้า ฟื้นฟู พัฒนาธุรกิจ โดยมีการใช้แนวคิด “แปลงสินทรัพย์เป็นทุน” นำมาต่อยอดสู่ โครงการเร่งรัดการจดทะเบียนเครื่องจักรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2563 นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการเร่งรัดการจดทะเบียนเครื่องจักรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2563” มีเป้าหมายในการแปลงเครื่องจักรในโรงงานให้เป็นทุนทางการเงิน เพื่อให้สามารถต่อยอดธุรกิจให้กับ SME ต่อไปได้ พร้อมให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างรวดเร็ว ดอกเบี้ยต่ำ และมีประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจ จึงได้ ร่วมมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมให้คำปรึกษาเชิงลึก เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นรูปธรรม ต่อยอดสู่ผลประกอบการต่อไป ดร.ธิรินทร์ ณ ถลาง ผู้จัดการโครงการเร่งรัดการจดทะเบียนเครื่องจักรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2563 กล่าวว่า จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้โรงงานของผู้ประกอบการในระดับ SME เกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง ทาง กรอ.จึงได้เกิดแนวคิดการช่วยเหลือ ให้มีผลประกอบการให้ที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น ผ่านการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร และมีปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และนำเครื่องจักรมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับสถาบันการเงินเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการโรงงานระดับ SME ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ และยังเป็นการเพิ่มปรับปรุงโครงสร้างของโรงงานหรือเครื่องจักรให้ดีขึ้น เป็นการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งนี้การดำเนินการขอยื่นข้อเสนอกู้เงินทุนต่อสถาบันการเงินตามโครงการดังกล่าว รวมถึงการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร กลุ่มผู้ประกอบการหรือโรงงาน SME กรอ. และได้จัดการให้ความรู้คำแนะนำ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนด้านพลังงาน ลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม หรือมีการใช้พลังงานทดแทน ให้แก่โรงงานของผู้ประกอบการ SME โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยฯ เข้าไปวิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงานของเครื่องจักรของแต่ละโรงงาน เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักนำไปสู่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนไปพร้อมๆกัน ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสานไปยัง 5 สถาบันการเงิน ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรงเทพ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โดยทางศูนย์วิจัยฯ ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จะเป็นผู้ประเมินการเสริมประสิทธิภาพเครื่องจักรว่า จะต้องใช้เงินทุนประมาณเท่าไหร่และช่วยลดต้นทุนได้อย่างไร พร้อมทำเป็นรายงานเพื่อหารือสถาบันการเงิน เพื่อหาแนวทางที่ช่วยเหลือโรงงานต่างๆต่อไป โดยเป้าหมายของโครงการในครั้งนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ได้อย่างทั่วถึงและมีศักยภาพ ทำให้คุณสมบัตินั้นจึงได้ออกแบบมาสำหรับผู้ประกอบการ SME เพียงแค่เป็นบุคคลหรือนิติบุคคล ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือสถานประกอบการ หรือกิจการซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และมีการจ้างงานไม่เกิน 200 คนหรือรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี รวมไปถึงมีความต้องการปรับปรุงเครื่องจักรเดิมให้มีประสิธิภาพมากขึ้นหรือต้องการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ทดแทนเครื่องจักรเดิมเพื่อสร้างโอกาสให้เข้าถึงแหล่งทุนตามตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สำหรับโครงการนี้ได้รับผลตอบรับจากผู้ประกอบการ SME เป็นอย่างดี เนื่องจากทางทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีนโยบายลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเครื่องจักรให้ถูกลงต่อเครื่อง ทำให้ได้เสียงตอบรับดีขึ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ปัจจุบันจากการลงพื้นที่ตรวจสอบของศูนย์วิจัยและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีได้มีการสัมมนา 6 ครั้ง จำนวน 619 คน โครงการจดทะเบียน 63 ประชุมคณะกรรมการเครื่องจักร 6 ครั้ง อบรมเชิงลึก 2 ครั้ง 96 คน ได้มีการวิเคราะห์เครื่องจักรจากโรงงาน 88 แห่ง คิดเป็นจำนวน 2,036 เครื่อง และจากวิเคราะห์คิดเป็นวงเงินลงทุน 482,668,283 บาท เกิดเป็นผลตอบแทน195,875,300 บาทต่อปี ซึ่งจะสามารถคืนทุนเฉลี่ย 2.46 ปี โดยได้มีโรงงานมีประสงค์เข้าร่วมแล้วกว่า 63 แห่ง