วันที่ 19 ต.ค. 63 ที่กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.)พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. เปิดเผยถึงคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฉบับที่ 4 ที่ให้ตรวจสอบและระงับการออกอากาศรายการที่มีลักษณะตามข้อ 2 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 ที่มีการเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า เหตุผลที่ออกประกาศฉบับที่ 4 เนื่องจากได้รับการแจ้งจากหน่วยข่าวว่าได้มีการนำเสนอข้อมูลอันจะเกิดสับสนและปลุกปั่นก่อให้เกิดความไม่สงบได้จึงประกาษออกมา ซึ่งการประกาศเป็นประกาศที่ต้องให้ทั้ง กสทช.และกระทรวงดีอี ไปพิจารณาในเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ได้รับว่าทำผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้าทำผิดกฎหมายก็ให้หน่วยงานนั้นๆ ไปดำเนินการพิจารณาตามการบังคับใช้กฎหมายในสภาวะปกติ ถ้าต้องการถอดข้อความออกบางช่วงหรือระงับการออกอากาศต้องไปขออำนาจศาล ประกาศฉบับนี้ยังไม่ได้บังคับบใช้ เพราะจำเป็นต้องมีการกำหนดขั้นตอนหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป “กอร.ฉ. ยังไม่มีนโยบายหรือคำสั่งที่จะกำจัดสิทธิเสรีภาพของสื่อ ไม่มีการสั่งปิดสื่อ เป็นเพียงการจัดการข้อมูลข่าวสารที่มีปัญหาเป็นชิ้นๆหรือเป็นช่วงๆ เวลาไป ซึ่งเป็นข้อมูลข่างสารที่อาจจะก่อให้เกิดความสับสนสถานการณ์รุนแรงขึ้นได้เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องออกมาในลักษณะนี้ก่อน” ผู้ช่วย ผบ.ตร.กล่าว พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวอีกว่า ส่วนคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฉบับที่ 13 1.เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการสื่อและข้อมูลข่าวสารที่มีความร้ายแรง โดยมีหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชน เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใด สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมอันส่งผลกระทบต่อความั่นคงของประเทศและให้รวบรวมไว้เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ 2.สืบสวนตรวจสอบพิสูจน์ทราบติดตามความเคลื่อนไหวของการสื่อวสารหรือข้อมูลข่าวสารของบุคคลที่ได้มีการเผยแพร่รวมทั้งส่งขอ้มูลให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายหรือเพื่อระงับการเผยแพร่ขจ้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม 3.กำหนดมาตจรการเชิงรุกในการบังคับใช้กฎหมายหรือก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม การทำงานของ กอร.ฉ.มีปลัดกระทรวงดีอีเป็นประธาน และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการพิจารณาร่วมกัน หากมีข้อมูลข่าวสารจะแบ่งออกมาเป็นรายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เป็นข้อมูลข่าวสารที่กระทบต่อความมั่นคงหรือเป็นข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมาย ถ้าเป็นบุคคลจะเรียกมาตักเตือน ถ้าเป็นเรื่องความผิดตามกฎหมายแล้วจะให้หน่วยงานนั้นๆ เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ หากเป็นเฟกนิวส์ที่สามารถใช้มาตรทางการปกครองได้ก็ให้หน่วยงานนั้นๆ ดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ ถ้ามีเรื่องเร่งด่วนจริงๆ ถึงจะประกาศใช้อำนาจระงับ ส่วนที่ไม่สวามารถรอให้หน่วยงานปกติทำได้ เพราะหากรอจะไม่ทันต่อเหตุการณ์หรือก่อให้เกิดความเสียหายได้จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างไรก็ตามคงไม่มีการควบคุมสื่อ สื่อยังสามารถถ่ายทอดสดได้ แต่ว่าต้องอยู่ภายใต้ความสงบเรียบร้อย ซึ่งวันนี้จะมีความชัดเจนเรื่องแนวทางปฏิบัติ และจะแจ้งให้สื่อมวลชนทราบอีกครั้ง