"ม็อบคณะราษฎร" แตกกระเจิง! "บิ๊กตู่"งัด "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" ตั้ง"บิ๊กป้อม" หัวหน้ารับผิดชอบ เข้าสลายการชุมนุม "อานนท์-เพนกวิน-รุ้ง" พร้อมพวกแกนนำรวม 22คน ไม่รอด ถูกรวบหิ้วขึ้นรถตู้สอบเครียด "ตชด.ภาค1" ส่วน"ไมค์ ระยอง"เผ่นหนีทัน ก่อนโพสต์เจอกันแยกราชประสงค์ "ตำรวจ"หวั่นม็อบเล่นไม่เลิก ตั้งศูนย์ "กอร.ฉ." คุมสถานการณ์-ตั้งจุดตรวจความมั่นคงรอบกรุง เตือนผู้ชุมนุมงดรวมตัว-ห้ามฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินเด็ดขาด แจงเด้ง3นายพล ปฏิบัติผิดแผนคุมม็อบ "รบ" ยันประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ป้องกันเหตุรุนแรงหลังม็อบประชิดขบวนเสด็จฯ เผยประชุมครม.นัดพิเศษหลังประกาศพ.ร.ก. "พท."ออกแถลงการณ์ ซัดประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน -การใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย-ไม่ชอบธรรม ความคืบหน้ากรณีกลุ่มคณะราษฎร 2563 รวมตัวชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเคลื่อนขบวน บุกยึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มคนเสื้อเหลืองเป็นระยะ โดย นายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน และนายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง แกนนำได้ขึ้นเวทีประกาศยกระดับการชุมนุม และให้มวลชนพักผ่อน โดยจะยุติการชุมนุมที่หน้าทำเนียบฯในช่วงเช้า พร้อมนัดชุมนุมอีกครั้งในเวลา 1 6.00น. ที่แยกราชประสงค์ ล่าสุด เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 15 ต.ค.63 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขณะเดียวกันยังมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 36/2563 เรื่องแต่งตั้ง ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีคววามร้ายแรง ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563 นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรค 3 วรรค 4 และวรรค 6 มาตรา 11 และมาตรา 1 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 นายกฯจึงมีคำสั่ง ความว่า1.ให้ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการ ณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามประกาศสถานการณ์ฉุก เฉินที่มีความร้ายแรง2.ให้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีหน้าที่ และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง ตามที่กำหนดไว้ ในพระราชกำ หนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนได้ตั้งแถวบริเวณแยกมิสกวัน เพื่อเข้ากระชับพื้นที่ในเวลา 04.30น. โดย พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. ได้อ่านประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้ผู้นุมฟัง และให้เวลา 15 นาที เก็บของและเดินออกจากพื้นที่ และเข้ามอบตัว หากไม่ปฏิบัติตามจะจับกุมตามกฎหมายทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มแตกตื่น โดยนายอานนท์แกนนำได้ประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมแยกย้ายกลับบ้านทันที จนเกิดความวุ่นวาย โดยมีมวลชนบางกลุ่มวิ่งหนีตายไปตามถนนพิษณุโลก มุ่งหน้าแยกนางเลิ้ง รวมทั้งวิ่งหนีไปตามตรอกซอกซอยอย่างไร้ทิศทาง โดยการสลายการชุมนุมในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงสามารถยึดพื้นที่คืนได้ทั้งหมด กระทั่ง เวลา 05.00 น. เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวนายอานนท์และนายพริษฐ์ และแกนนำ รวมทั้งหมด 22คน ขึ้นรถตู้ไปสอบสวนทันทีที่ตชด.ภาค1 คลอง5ปทุมธานี รวมทั้ง น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง และนายชานนท์ ไพโรจน์ แกนนำ ได้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวได้ที่ห้องพักของโรงแรมแห่งหนึ่ง ขณะที่ นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง หนึ่งในแกนนำที่ยังไม่ถูกควบคุมตัว ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ไมค์ยังปลอดภัยดีครับ วันนี้ 4 โมงเย็น เจอกันที่แยกราชประสงค์ อย่าเกรงกลัวอำนาจเผด็จการ" ด้าน พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงยืนยันว่า จากการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ ได้จับกุมผู้ร่วมชุมนุมจำนวน 22 คน โดยมี 4 คนเ ป็นแกนนำ จากนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการตั้งจุดตรวจความมั่นคง ให้เป็นไปตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และตั้งแต่เวลา 13.00 น. จะเปิดกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง(กอร.ฉ.) โดยมี พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีการเชิญหน่วยร่วมปฏิบัติเข้าหารือแนวทางปฏิบัติ พร้อมยืนยันว่า การชุมนุมมั่วสุมเกิน 5 คน ที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง สามารถทำได้ พร้อมระบุว่า ขณะนี้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงบังคับใช้เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่หากสถานการณ์ลุกลาม ไปยังจังหวัดอื่น ๆ ก็อาจมีการพิจารณาประกาศเพิ่มและขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่ชักชวนรวมตัวบริเวณแยกราชประสงค์ อย่าฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพฯ และขอให้งดการรวมตัวชุมนุมอย่างเด็ดขาด พล.ต.ต.ยิ่งยศ ยังกล่าวถึงคำสั่งช่วยราชการตำรวจ ประกอบด้วย พล.ต.ต.สมประสงค์ เย็นท้วม รองผบช.น. ,พล.ต.ต.ปราศรัย จิตตสนธิ ผบก.น.1 และ พล.ต.ต.มานพ สุคนธ์ธนพัฒน์ ผบก.อคฝ. เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ผอ.ศปก.ตร. มอบหมาย โดยขาดจากตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่ 14 ต.ค.63 เป็นต้นไป ว่า การดำเนินการเกี่ยวกับผู้ชุมนุมมีแผนการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถ้าทำผิดแผนจะทำให้เกิดความเสียหายได้ การที่ให้ตำรวจทั้ง 3 นาย มาช่วยราชการที่ ศปก.ตร.ไม่ได้หมายความว่าเป็นความผิด แต่เรียกตัวมาสืบสวนข้อเท็จจริงว่า สิ่งที่ปฏิบัติเมื่อประมาณขั้นต้นไม่น่าเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้จึงได้ทำการเรียกตัวมาสืบสวนหาข้อเท็จจริง ถ้าพบว่าเป็นความบกพร่องจะได้ปรับความรู้ความเข้าใจว่าการปฏิบัติกับกลุ่มคนที่มาร่วมกันต้องเป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด ทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบการดำเนินการทางวินัยข้างต้นก่อน ผู้สื่อข่าวถามว่า ตำรวจทั้ง 3 นาย อาจะจะไม่ถ่องแท้ในข้อปฏิบัติการดูแลพื้นที่หรือไม่ พล.ต.ต.ยิ่งยศ กล่าวว่า อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนกับการปฏิบัติตามแผน สถานการณ์ในขณะนั้นการปฏิบัติอาจหลงลืมหรือคลาดเคลื่อนทำให้แผนผิดเพี้ยนไปจากที่วางเอาไว้ ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระจายกำลังรักษาการณ์บริเวณแยกราชประสงค์ และหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ นอกจากนี้รปภ.ของทางศูนย์การค้าได้นำรั้วมาปิดทางเข้า-ออก เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุความรุนแรงในการชุมนุมของคณะราษฎรในเวลา 16.00น. โดยตั้งแต่ช่วงเวลา 14.00น. ได้มีกลุ่มมวลชนเดินทางมาจับจองพื้นที่อย่างต่อเนื่องทั้งนิสิต นักศึกษา วันเดียวกัน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ว่า เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องออกประกาศและคำสั่งรวมทั้งหมด 4 ฉบับ เพราะต้องการทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. และถือเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงได้ในอนาคต เห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ต.ค.ที่มีผลกระทบกับชาวไทยจำนวนมากคือ กรณีที่มีการเข้าใกล้ขบวนเสด็จพระราชดำเนินและใช้วาจาปลุกปั่นก้าวล่วงสถาบัน ด้วยเหตุนี้รัฐบาล จึงอยากป้องกันไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากับประชาชนคนไทยด้วยกันเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลายส่วนแสดงท่าทีไม่ต้องการให้ผู้ชุมนุมก้าวล่วงหรือพาดพิง และไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อถามว่า การนัดหมายชุมนุมที่แยกราชประสงค์ในเย็นวันนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ นายอนุชา กล่าวว่า ข้อกำหนดทั้งหมดได้ประกาศไว้ครอบคลุมแล้ว ว่าห้ามไม่ให้ชุมนุมหรือมั่วสุมเกิน 5 คนขึ้นไป หรือการกระทำที่ยุยงทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ดังนั้นขอให้ทุกคนระมัดระวังการกระทำผิดกฎหมายในช่วงนี้ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี อยากให้ทุกคนช่วยกันเดินหน้าประเทศ สิ่งที่เน้นย้ำก็คือรวมไทยสร้างชาติ ไม่ว่าเรื่องใดๆก็ตาม ขอให้รวมใจเป็นหนึ่งเดียว ร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรค ไม่ว่าจะเศรษฐกิจหรือโควิด-19 หรือเรื่องอื่นๆที่เห็นต่างรัฐบาลก็พร้อมเปิดเวทีรับฟังทุกอย่างภายใต้กฎหมาย โดยเสียงส่วนใหญ่ต้องฟังเสียงส่วนน้อย และเสียงส่วนน้อยก็ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของทุกฝ่ายเช่นเดียวกัน นายอนุชา กล่าวว่า ในวันที่ 16 ต.ค.จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ซึ่งเป็นการประชุมคณะเล็กเพื่อให้รับทราบคำสั่งและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง โดยจะมีการประชุมกันที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า เวลา 10.00 น. ด้าน พรรคเพื่อไทย ได้ออกแถลงการณ์ 4ข้อระบุว่า ตามที่กลุ่มนักศึกษาและประชาชนในนามของ "คณะราษฎร 2563" ได้จัดการชุมนุมขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 และเคลื่อนขบวนมาตามถนนราชดำเนิน จนกระทั่ง ได้รวมตัวกันชุมนุมบริเวณโดยรอบของทำเนียบฯเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งการออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงไม่ได้ดำเนินการด้วยความเป็นธรรมเสมอภาค ทั้งข้ออ้างในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมีความร้ายแรงของนายกฯ และการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบธรรม จึงขอแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกฯและเจ้าหน้าที่ ของรัฐยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และหยุดการใช้อำนาจคุกคามประชาชน ในทุกรูปแบบ และปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมทันที