บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัด “โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย” เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมให้แต่ละชุมชนสร้างผ้าขาวม้าที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่นชัดเจนและผลักดันให้เกิดการแปรรูปผ้าขาวม้าเป็นสินค้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้าง โครงการฯ จึงกำหนดจัด งานผ้าขาวม้า ผ้าสารพัน ขึ้น ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ได้แก่ พิธีมอบรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายอินสตาแกรมผ้าขาวม้า 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทผ้าขาวม้าขบขัน ประเภทผ้าขาวม้าสร้างสรรค์ ประเภทผ้าขาวม้าทั่วไทย แฟชั่นโชว์คอลเลคชั่น Play ออกแบบโดย คุณลินดา เจริญลาภ ดีไซเนอร์จากแบรนด์ LALALOVE และคุณหทัยรัตน์ เจริญชัยชนะ ที่โกอินเตอร์ไปเฉิดฉายบนรันเวย์ระดับโลกอย่างงาน Amazon Fashion Week TOKYO 2017 มาแล้ว ซึ่งแฟชั่นโชว์ชุดนี้โดดเด่นทันสมัยเสมือนนำรันเวย์จากประเทศญี่ปุ่นมาตั้งไว้กลางใจเมืองกรุงเทพ ดีไซเนอร์คนเก่งจับเอาเอกลักษณ์ลายตารางของผ้าขาวม้า จับคู่สีตัดกันสวยงามมาดีไซน์ให้มีความทันสมัยและเพิ่มลูกเล่นที่ดูน่ารัก เก๋ไก๋ด้วยฝีมือการเพ้นท์ผ้ารูปสัตว์ และการละเล่นไทย ของ Artist แถวหน้าของเมืองไทย อย่าง คุณหทัยรัตน์ เจริญชัยชนะ (โอ๋ ฟูตอง) โดยได้นางแบบคนสวย “ออกแบบ”ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุข และสาวน้อยผู้ร่าเริง “น้องนิริน” ลูกสาว แม่หนิง ปณิตา ธรรมวัฒนะ มาร่วมเดินแฟชั่นโชว์ คุณอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะเลขานุการร่วมภาครัฐ คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ กล่าวว่า “สำหรับโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย เป็นหนึ่งในหลายโครงการของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ และคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน ส่วนผมรับหน้าที่เลขาธิการภาครัฐ ซึ่งในส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในโครงการนี้ ในประเทศไทยผ้าขาวม้าเปรียบดังผ้าอัศจรรย์ สารพันประโยชน์ตอนเด็กใช้เป็นเปลนอน โตขึ้นมาเป็นเสื้อผ้านุ่งห่ม โพกศีรษะ บังแดดยามออกไปทำงาน ซึ่งอยู่ในวิถีชีวิตคนไทยมาตลอดทุกช่วงอายุ ชาวบ้านใช้ผ้าขาวม้ามาตั้งแต่สมัยเชียงแสน ปรากฎหลักฐานภาพวาดอยู่ในวัดที่จังหวัดน่าน เป็นภาพคนเชียงแสนไม่ใส่เสื้อ แต่นุ่งผ้าขาวม้า ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สื่อถึงวิถีชีวิตของชุมชนมานานกว่า 700 ปี ฉะนั้น ทางกรมการพัฒนาชุมชนกับบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด จึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรทำโครงการนี้เพื่อให้ผ้าขาวม้ากลับมาได้รับความสนใจในวงกว้าง เพราะเป็นผ้าที่ชุมชนผลิตได้ง่าย และมีชุมชนผลิตทั่วประเทศ เป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับประชาชนระดับฐานราก” คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เปิดเผยว่า “โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย เป็นความตั้งใจของทีมงานทุกคนในส่วนของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ทีมงานมีโอกาสลงพื้นที่ไปศึกษาชุมชน ได้รู้จักคนท้องถิ่นของแต่ละชุมชน และพูดคุยกันว่าอยากทำแผนพัฒนาผ้าขาวม้า เพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวและใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน อยากสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า ให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น เลยมานั่งคิดว่าเดิมในการทอผ้าขาวม้าไม่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในแต่ละชุมชน เราจึงอยากให้แต่ละชุมชนมีผ้าขาวม้าที่เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน เพราะทุกจังหวัดมีสีประจำจังหวัด รวมทั้งช่วยหาช่องทางในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งจะมีการเชื่อมโยงคนในชุมชนกับภาคเอกชน เชื่อมโยงกับลูกค้าได้ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการอุดหนุนผ้าพื้นที่เขามากยิ่งขึ้น โดยทางโครงการได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการประกวดผ้าขาวม้าของแต่ละชุมชน , การจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้า เพื่อพัฒนาชุมชนที่ผลิตผ้าขาวม้าให้มีความสามารถในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าขาวม้า เปิดโอกาสให้แต่ละชุมชนมาเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ ในการผลิตผ้าขาวม้า อาทิ การทอ การใช้สีจากธรรมชาติ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้ผลิตผ้าขาวม้า รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ผลิตด้วย นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนผ้าขาวม้าทอมือของไทยจำนวนกว่า 30 ชุด ไปสู่เวทีแฟชั่นระดับโลกบนรันเวย์งานAmazon Fashion Week TOKYO 2017 ณ ประเทศญี่ปุ่น ด้วยฝีมือการออกแบบของดีไซน์เนอร์สาวคนเก่ง คุณลินดา เจริญลาภ เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า LALALOVE ร่วมกับคุณโอ๋-หทัยรัตน์ เจริญชัยชนะ และจัดการประกวดผลงานภาพถ่ายอินสตาแกรมผ้าขาวม้า ซึ่งในแต่ละกิจกรรมก็ได้รับความสนใจจากชุมชนผู้ผลิต รวมทั้งชุมชนต่าง ๆ เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินฝันในการที่ทำให้ผ้าขาวม้าแต่ละหมู่บ้านมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ประเทศไทยจะมีผ้าขาวม้าประจำหมู่บ้านได้อย่างแน่นอน” คุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ดูแลโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย เปิดเผยว่า “โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนที่ผลิตผ้าขาวม้าผ่าน 3 แนวทางหลัก คือการแปรรูปผ้าขาวม้าได้หลายรุปแบบมากขึ้น การสร้างกระแสความสนใจในหมู่คนรุ่นใหม่ และผลักดันผ้าขาวม้าที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นให้ได้รับการรับรองลิขสิทธิ์หรือมีแบรนด์ของตนเอง โดยเราเห็นว่ามีหลายชุมชนทั่วประเทศที่สามารถผลิตผ้าขาวม้าได้ ถ้าสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้เขา ชุมชนทั่วประเทศก็จะได้รับประโยชน์ ดังนั้น ทางโครงการฯ จึงจัดงานผ้าขาวม้า ผ้าสารพัน ขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ และตระหนักให้คนไทยหันมาสนใจผ้าขาวม้า ซึ่งถือเป็นผ้าสารพันประโยชน์ที่คนไทยคุ้นเคย ด้วยการจัดการประกวดผลงานภาพถ่ายอินสตาแกรมผ้าขาวม้า โดยทางโครงการได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปส่งภาพเข้าร่วมประกวดใน 3 ประเภท ได้แก่ ผ้าขาวม้าทั่วไทย , ผ้าขาวม้าขบขัน และผ้าขาวม้าสร้างสรรค์ ซึ่งทางโครงการได้เรียนเชิญคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมคัดเลือกภาพผู้ชนะ และนำภาพที่ได้รับรางวัลทั้งหมดจำนวน 89 ภาพมาจัดแสดงนิทรรศการผลงานการประกวดภาพถ่ายอินสตาแกรมผ้าขาวม้า ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2560 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ลานเอเทรียม 2 ศูนย์การค้าเซนทรัลเวิลด์ นอกจากนี้ยังมีแฟชั่นโชว์ผ้าขาวม้าคอลเลคชั่น Play ที่ออกแบบโดยคุณลินดา เจริญลาภ ที่ยกรันเวย์มาจากงาน Amazon Fashion Week TOKYO 2017 ณ ประเทศญี่ปุ่น ให้ได้ชมความสวยงามของผ้าขาวม้าทอมือจากชุมชนต่าง ๆ มาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าผงาดบนรันเวย์ระดับโลก พร้อมด้วยกิจกรรม PAKAOMA Challenge I , Workshop DIY ผ้าขาวม้า และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าจากชุมชนผู้ผลิต ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้มีส่วนช่วยสร้างการรับรู้ อันจะต่อยอดไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าให้เข้ากับยุคสมัย และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯและหลังจากนี้ทางโครงการฯยังมีกิจกรรมต่อเนื่องสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ www.prsthailand.com ค่ะ” ลินดา เจริญลาภ ดีไซน์เนอร์แบรนด์ LALALOVE เล่าถึงแฟชั่นโชว์คอลเลคชั่น Play ว่า “คอนเซปต์ของงานนี้เกิดจากสิ่งที่อยู่รอบตัวเลยค่ะ เราเอาผ้ามาเป็นตัวต้นคิด และคิดต่ออีกว่าจะเอาผ้ามาทำอะไรต่อ และเราก็ปิ๊งไอเดียถึงการละเล่นของเด็กสมัยก่อน เลยเอารวมเข้ากับผ้าขาวม้า สะท้อนถึงความคิดสร้างสรรค์ จึงเกิดคอลเลคชั่น play ขึ้นมา จนมาถึงวันนี้ก็ยังตื่นเต้น ดีใจ และภูมิใจ ที่มีโอกาสได้ทำให้คนเห็นถึงศักยภาพของผ้าขาวม้าและชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าของประเทศไทย รวมทั้งประโยชน์ของผ้าขาวม้าที่ไม่ได้ใช้เฉพาะในครัวเรือนอย่างเดียว แต่สามารถประยุกต์นำไปใช้ได้หลากหลายและใช้ในชีวิตประจำวันเราได้ในทุกแห่ง แต่ทุกสิ่งต้องมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ลินดาอยากให้โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ประสบความสำเร็จ ขอขอบคุณ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ที่จัดโครงการดี ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือชุมชน ช่วยให้คนในชุมชนสามัคคีกัน เปิดโอกาสให้ชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าได้ค้นหาศักภาพตัวเองจนเจอ และนำมาพัฒนาต่อยอด ทั้งเรื่องของการแปรรูป การจัดบรรจุภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งเทคนิคการทอใหม่ ๆ ไม่ใช่แต่เรื่องเม็ดเงินหรือรายได้ที่จะหมุนเข้าหาชุมชน แต่ยังได้เรื่องของ ความคิด วิธีคิด และมุมมอง ทำให้เรามีศักยภาพทำได้หลายอย่าง ทำให้ดียิ่งขึ้น อยากให้ทุกคนหันมาใช้ผ้าขาวม้า เพราะมีประโยชน์หลายอย่างไม่ใช่มีแค่เสื้อผ้าเท่านั้น อยากให้มาใช้ของท้องถิ่นเพื่อเป็นการสนับสนุนชุมชนให้มีรายได้ ขณะเดียวกันด้านผู้ผลิตก็ต้องไม่หยุดพัฒนาผลิตภัณฑ์ อยากให้ช่วยกันต่อไปค่ะ” ออกแบบ ชุติมณฑน์ กล่าวว่า “ดีใจค่ะที่วันนี้ได้มีโอกาสมาเดินแบบในชุดผ้าขาวม้าไทยทอมือ วันนี้ได้ใส่ในคอเลคชั่น Play ที่ถูกออกมาแบบมาได้อย่างน่ารักลงตัว หรือจะประดับตกแต่งเป็นอย่างอื่นก็ได้นั้น คือใช่ คือเป๊ะลงตัวมากค่ะ และที่สำคัญสุดเป็นฝีมือภูมิปัญญาของคนไทยเราเองด้วย อยากให้ผ้าขาวม้าเป็นที่รู้จักทั่วโลกเลย อยากให้คนไทยหันกลับมาใช้ผ้าขาวม้ากันมากขึ้นลานเอเทรียม 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา