นายสันติ กีระนันทน์ อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โพสต์เพจเฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า...ได้รัฐมนตรีคลังคนใหม่แล้ว หวังว่าจะเห็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม และตอบโจทย์เศรษฐกิจในตอนนี้ และหวังว่าจะไม่คิดแบบข้าราชการประจำมากเกินไป จนไม่มองสิ่งที่ควรจะทำ เพราะต้องยอมรับว่า รัฐราชการในปัจจุบัน ไม่เป็น technocrat อีกต่อไป technocratic thinking แทบจะหาไม่เจอแล้ว เพราะ technocrat เก่ง ๆ ก็ออกไปจากราชการเกือบหมดแล้ว อย่าเห็นแก่ตัวเลข GDP มากนัก เพราะปัญหาเฉพาะหน้า คือ คนฐานรากจะอดตาย แต่ก็ไม่ใช่กระหน่ำแจกเงิน หรือตั้งหน้ากระตุ้น consumption ของคน middle and upper แต่ต้องเร่งสร้างงานเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป ส่วนเรื่องระยะปานกลางและระยะยาว คือ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศเสี่ยงมากเกินไป แม้ความเป็นจริง ประเทศไทยต้องพึ่ง externalities แต่ต้อง diversify มากกว่าเดิม ไม่ใช่พึ่งพาแต่การท่องเที่ยว และปล่อยให้ value chain กับ supply chain ของการท่องเที่ยวเป็นสายยาวเกินไป การส่งออก ต้องเน้นที่ value addition ไม่ใช่เน้นการส่งออก commodities ที่ไม่สามารถ command price ได้ สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไร้ประสิทธิภาพ เกษตรกรจะอยู่ไม่ได้ ต้อง transform เกษตรกรให้เป็นเกษตรกรอัจฉริยะ ซึ่งสามารถประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี ผมไม่ค่อยมีความรู้นะครับ แต่ความเห็นส่วนตัว 1. เลิกแจกเงินได้แล้ว 2. ไม่ต้องคิดมากกับตัวเลข GDP เพราะปัญหาที่หนักมากในตอนนี้คือ คนระดับฐานรากจะไม่มีกิน ดังนั้น ต้องคิดเรื่องการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพราะถ้าหากคิดแต่ GDP ก็จะคิดเรื่องการกระตุ้น โดยหนีไม่พ้นเครื่องยนต์ที่ยังทำงานอยู่ เช่น การบริโภค (consumption) ซึ่งจะเห็นได้จากพยายามกระตุ้นด้วยโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" หรือ "คนละครึ่ง" ซึ่งเป็นการช่วยคน middle class and upper ทั้งที่คนกลุ่มนี้ยังไม่ได้ประสบปัญหามากนัก 3. ที่ต้องคิดเร็ว ๆ คือ จะช่วยให้กลุ่มด้อยโอกาสมีงานทำได้อย่างไร โดยรวมถึงเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ทั้งที่อยู่ในเมือง และในต่างจังหวัด โครงการลงทุนขนาดเล็กถึงกลาง ที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งในต่างจังหวัด และในเมืองหลัก เมืองรองต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยวที่จะกลับมา หลังจากควบคุมโรคระบาดได้ ซึ่งโครงการอย่างนี้ มหาดไทยและกระทรวงการท่องเที่ยว มีข้อมูลอยู่แล้ว สามารถดำเนินการได้ทันที และต่อเนื่อง จะสามารถสร้างงานได้อย่างน้อย 6 เดือน 4. เรื่องการ upskill และ reskill ต้องทำอย่างจริงจัง โดยใช้กลไกเอกชนเป็นหลัก ทั้งสภาอุตสาหกรรมฯ และสภาหอการค้าฯ โดยรัฐให้ tax incentive เป็นหลัก (ไม่ต้องจ่ายเงินทั้งหมด หรืออาจจะเป็น co-payment กับอุตสาหกรรม) การทำอย่างนี้ นอกจากจะเกิดเงินหมุนเวียนในระบบแล้ว ก็จะเป็นการเตรียมความพร้อมของแรงงานในระบบ (และนอกระบบ) รับกับ disruptive environment 5. คิดเรื่องการปรับโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก ต้องคิดว่า จะกระจายรายได้ของประเทศไปสู่เรื่องอื่นอย่างไร ... ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศใหญ่ มีประชากรเพียง 69 ล้านคน ทำอย่างไรก็ต้องพึ่ง externalities ครับ ในขณะที่คนไม่สามารถมี mobility ได้ แต่สินค้ายังสามารถส่งออกและนำเข้าได้ ... ต้องปรับ mindset การส่งออก commodities เป็นการส่งออก high-value product ครับ โดยคิดเรื่อง value addition ให้มากกว่าการส่งออก commodities ... งานวิจัยเรื่องการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของไทย ต้องได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง และขยายผลไปสู่การเป็น commercialization ให้ได้ครับ ... รัฐอย่าทำเอง แต่ต้องให้ incentive แก่เอกชน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ครับ