NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ระบุ ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าติดตามในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเรียกได้ว่าเดือนนี้เป็นเดือนแห่งดาวอังคาร โดยเฉพาะ เริ่มที่ 6 ต.ค.63 #ดาวอังคารใกล้โลก ระยะห่าง 62 ล้านกิโลเมตร โดยช่วงระหว่างวันที่ 6-14 ต.ค.นี้ ดาวอังคารจะใกล้โลก สังเกตได้หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะเริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก จากนั้นจะปรา กฎยาวนานตลอดคืน หากมองผ่านโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวของดาวอังคาร เช่น แผ่นน้ำแข็งขั้วใต้ของดาวอังคาร 14 ต.ค.63 #ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ โดยดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคาร เรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน 21 ต.ค.63 #ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เกิดจากโลกโคจรตัดผ่านวงโคจรของดาวหางฮัลเลย์ เริ่มสังเกตได้เวลา 22.30 น.เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออก อัตราการตก 20 ดวงต่อชั่วโมง 22 ต.ค.63 #ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ ตั้งแต่เวลา 18.00-22.30 น. 30 ต.ค.63 #ดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ ตั้งแต่ 18.00 น.ของวันที่ 29 ต.ค. เข้าใกล้กันที่สุด เวลา 03.39 น. ของวันที่ 30 ต.ค.63 31 ต.ค.63 #Micro Blue Moon ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี และดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน (Micro blue Moon) ในคืนฮาโลวีนและลอยกระทง! ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี 63 ห่างจากโลกประมาณ 406,153 กิโลเมตร มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกถึง 14% นอกจากนี้ ยังเป็น “Blue Moon” ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบเดือน