นายกฯ ลงพื้นที่เชียงรายติดตามสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ขณะที่ กรมปศุสัตว์ ร่วมจัดนิทรรศการ "ปศุสัตว์ เพื่อลดการเผา" เมื่อวันที่ 24 ก.ย. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยนายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดี น.สพส.พืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อติดตามสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ณ เทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรฯ) การนำสนอโดยภาพรวมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าพื้นที่การเกษตร) ดังนี้ กรมปศุสัตว์ นำเสนอข้อมูลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในภาพรวมทั้งหมด การทำนาข้าว ในเชียงราย 1.3 ล้านไร่ มีวัสดุหลือใช้ 500 กก/ไร่ และการปลูกข้าวโพดประมาณ 300,000 ไร่ มีวัสดุเหลือใช้ 700 กก./ไร่ สถานการณ์การปลูกพืชทั้ง 2 ชนิด และการบริหารจัดการวัสดุเหลือจากการเกษตรเพื่อไม่ให้เผาจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมวิชาการเกบตร การนำเสนอโดยกรมปศุสัตว์ ได้จัดนิทรรศการการดำเนินการในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ดังนี้ 1.การบริหารจัดการส่วนของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่เกี่ยวของด้านปศุสัตว์ เพื่อลดการเผา -การจัดการฟางข้าว และเปลือกใบข้าวโพด โดยอัดไวแบบป็นเสบียงอาหารสัตว์ปี 2563 ผลิตฟางอัดก้อนได้ ทั้งหมด จำนวน 2,176,000 ก้อน คิดเป็น 43,520ตัน สามารถ ลดการเผาได้ประมาณ 87,040 ไร่ -การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยนำไปเป็นอาหาร โค-กระบือแพะแกะ และผลิตอาหาร TMR ใช้เลี้ยงโคเนื้อและโคนมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2.การจัดนิทรรศการมีชีวิต ประกอบด้วย จัดแสดงสาธิตการอัดฟาง/เปลือกข้าวโพดจัดแสดงสาธิตการผสมอาหาร TMRจัดแสดงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสม บีฟ มาสเตอร์แสดงนิทรรการเกี่ยวกับสูตรอาหารสัตว์และแสดงคุณค่าโภชนาการของฟางข้าว ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมากมีการส่งเสริมสนับสนุนและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและนำเสนอทางเลือกให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อลดการเผา ได้แก่ การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน คืนชีวิตให้ดิน และนำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี และนอกจากนี้ยังสามารถนำเศษวัสดุการเกษตร มาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเลี้ยงโค เป็นต้น