เมื่อวันที่ 23 ก.ย.09.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยมีนายชวนหลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา หน้าที่ประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่พ.ศ ..ทั้ง 6 ร่าง ทั้งนี้ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ หารือใช้สิทธิ์เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยชี้ว่า ส.ส. สามารถลงนามร่วมเสนอญัตติได้คราวละ 1 ฉบับ หรือลงได้หลายฉบับ เนื่องจากมีการลงชื่อซ้ำกันในญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ ที่ฝ่ายค้านยื่นเพิ่มเติม ซึ่งเป็นปัญหาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256 วงเล็บ 1 ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญควรวินิจฉัย จึงเสนอญัตติด่วนให้รัฐสภาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไม่บรรจุเป็นญัตติเนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 156  ยืนยันว่า การเสนอญัตติเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 157 และขอให้รัฐสภามีมติเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210 หากจะตีตก ก็จะยื่นต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อดำเนินคดี นายชวน  ชี้แจงว่า เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรพิจารณากรณีนี้เป็นพิเศษ มีเรียกประชุมฝ่ายกฎหมายทั้งหมด และมีข้อสรุปว่า ลงชื่อในฉบับเดียวกันไม่ได้ แต่หากทั้ง 4 ฉบับ เป็นคนละฉบับ และหลักการ และเหตุผล ต่างกัน ไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้  ไม่เคยมีปัญหาในการส่งตีความ ส่วนกรณีที่นายไพบูลย์ยกมาเป็นคนละเรื่องกัน และที่ขอให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องเดิมเคยตัดสินไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องส่งซ้ำใหม่ และกรณีญัตติคำร้องของนายไพบูลย์ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 156 เนื่องจากไม่มีบัญญัติไว้ตามอำนาจหน้าที่ จึงไม่รับเป็นญัตติ "แม้ฝ่ายกฎหมาย จะไม่เก่งชำนาญ หรือเข้าใจลึกซึ้ง แต่ก็เชื่อว่าน่าจะอ่านกฎหมายทั่วๆไปได้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อไตร่ตรองดูแล้วผมจึงไม่ได้บรรจุวาระ"ยายชวน กล่าว นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ย้ำว่า การเสนนญัตติด่วนจะต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม ส่วนญัตติพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง 4 ญัตติเพิ่มเติม โดยมีปัญหา 1 ญัตติเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง เนื่องจากเนื้อหาในร่างเกินกว่าหลักการ แต่ก็จะยื่นเข้ามาอีก