นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก อรรถวิชช์ สุวรรณภักดีระบุว่า... “เงินมี แต่เบิกไม่ได้” การบริหารระบบเบิกจ่ายเงินของรัฐติดขัดอย่างหนัก ขอท่านนายกฯ เร่งแก้ไขก่อนเศรษฐกิจโคม่าหนัก . “สภาวะไร้ตัวจริง ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง" ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ เริ่มส่งผลต่อการบริหารรายจ่ายภาครัฐ . 1.จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุล่าช้า - ทั้งที่รู้จำนวนเงินรายหัวชัดเจน รู้ล่วงหน้าการประกาศเลื่อนการเสียภาษีออกไป แต่กลับไม่สามารถบริหารยืมเงินคงคลังได้ทันกาล ทำให้ตกเบิกล่าช้า . 2. ไม่สามารถเบิกใช้งบปี 64 ได้ทัน ต.ค. นี้ - ปกติ 1 ต.ค. 63 ต้องเริ่มใช้งบประมาณปี 64 แล้ว แต่ต้องเอางบปีเก่าใช้ไปพลางก่อน หมายถึงเงินเดือนประจำต่างๆ ยังจ่ายได้ แต่งบลงทุนใหม่ต้องรอก่อน แบบนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจกันยังไง . 3. โยกงบฯ มากอง ช่วยโควิด-19 แล้ว แต่กลับใช้เงินไม่ทันปีงบประมาณ 63 -มีการออก พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายปี 63 ตั้งแต่ ก.ค. 63 จากหน่วยราชการต่างๆ มาไว้ในงบกลาง เตรียมรับมือโควิด 8.8 หมื่นล้าน.จนถึงปลายงบปี 63 แล้ว “ใช้ไปได้แค่ 2 หมื่นกว่าล้าน” เท่านั้น ซึ่งเหลือเวลาใช้เงินอีกแค่ 2 สัปดาห์ ก่อนวันที่ 30 ก.ย. ที่งบปี 63 จะตกไป. การเบิกจ่ายเงินที่โอนมาล่าช้าอย่างมาก . 4.ออกพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และ พ.ร.ก.ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยตำ่ 5แสนล้าน -โครงการ “ใหม่” เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ไม่เด่นชัด และผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจริงยังเข้าถึงสินเชื่อได้ยาก . เศรษฐกิจจะเดินไปได้ GDP จะขึ้น ต้องติดเครื่องยนต์ 4 ตัว คือเพิ่มการบริโภค เพิ่มการลงทุน เร่งรายจ่ายภาครัฐ และส่งออกดี ได้ดุลย์การค้า . แต่ขณะนี้ เราเจอทั้งวิกฤติเศรษฐกิจจากโรคระบาดโควิด-19 และสงครามการค้าจีน-สหรัฐ เครื่องยนต์สำคัญที่ติดง่ายที่สุดคือ การเร่งรายจ่ายภาครัฐ ซึ่งก็คือเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เร่งจ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนด ให้ถึงมือประชาชนผู้เดือดร้อนและผู้ประกอบการเร็วที่สุด แต่อาการวันนี้กลายเป็นว่า . “มีเงิน แต่เงินคาท่อ บริหารไม่ได้” . อาการนี้ไม่ปกติครับ ไม่มีรัฐมนตรีคลังติดตามใกล้ชิด ขณะที่ระบบราชการเอง ไม่ได้ถูกออกแบบให้ทันต่อเหตุการณ์ ในการรับวิกฤติ . ระหว่างนี้ขอความกรุณาท่านนายกฯ เร่งขันน๊อตเรื่องการเบิกจ่ายที่กรมบัญชีกลางของกระทรวงการคลังไปก่อน มิฉะนั้นเศรษฐกิจจะโคม่าหนัก #กล้า #อรรถวิชช์ #งบประมาณ #เบี้ยผู้สูงอายุ #คลัง #เศรษฐกิจ