ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ ปธ.นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย (นายกสมาคมประมงสมุทรสาคร” เปิดเผยว่า จากปัญหาที่รัฐบาลไทยบีบบังคับอาชีพประมงซึ่งทำให้มีผลกระทบต่ออาชีพการทำการประมง ทั้ง22จังหวัด โดยขณะนี้บรรดาชาวประมงต่างพร้อมใจกันประกาศขายเรือแล้ว รวมทั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ต่างทยอยติดป้ายเพื่อขายเรือทิ้งเช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ เพราะทำไปก็มีแต่จะขาดทุน ทั้งนี้ที่ผ่านมาแม้มีการเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพื่อช่วยผ่อนปรนด้านกฎหมายหลายข้อในบางเรื่องฯ อย่างไรก็ตามถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าในการช่วยเหลือแต่อย่างใด การต่อสู้เพื่อขอความเห็นใจกันมาตลอดระยะเวลา6ปี ก็เหมือนกับย่ำอยู่กับที่ โดยเฉพาะเรื่องแก้ไขกฎหมายบางเรื่องที่ไม่ขัดต่อ IUU ซึ่งไม่เป็นผลดีและมีผลการทบหนักต่อชาวเรือที่มีอาชีพการทำการประมง อาทิ เรื่องการแจ้งเข้าออกที่เอกสารผิดพลาดเล็กน้อย ก็ต้องโดนค่าปรับเป็นแสน ซึ่งชาวประมงอาจจะหมดตัวได้ เพราะตอนนี้หลายลำก็ทำกันแบบมีหนี้สินกันแล้ว จึงอยากยุติการทำประมง และให้รัฐบาลมารับซื้อเรือคืนไป แม้ 5 ปี ที่ผ่านมา ชาวเรือประมงได้พยายามปรับแก้ไขการทำอาชีพเพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐบาล ที่กำหนดกฎหมายออกมาว่าแบบสากล โดยเบื้องต้นแรกๆ ก็อ้างว่ามีเรื่องการค้ามนุษย์ แต่ขณะนี้ก็สอบไม่เจอเรื่องการค้ามนุษย์ และใช้แรงงานเด็ก หรืออ้างใช้แรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งไม่มีในภาคประมงภายในอยู่แล้ว แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป้าหมายพุ่งไปที่เรื่องทำลายทรัพยากรทางน้ำอีก แถมมีการจัดยกร่างกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ แบบไม่มีผู้แทนชาวประมง ไปเข้าฟังรับฟังความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลเลยแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ก่อให้เกิดอุปสรรคในการประกอบอาชีพ จนกระทั่งชาวประมงส่วนใหญ่รู้สึกท้อใจ และมองว่า รัฐบาลจ้องที่จะทำลายล้างอาชีพประมงไทยโดยแท้จริง เพราะการตั้งธงที่จะกำจัดเรือประมงเมืองไทย ทั้งที่รัฐบาลไม่ได้เคยส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการประมง และประมงต่อเนื่องเลยแต่อย่างใด ส่วนเรื่องโครงการช่วยให้ด้านสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องๆ ของชาวประมงก็ยังไม่ได้เงินไม่เคยมีลงมาเลยสักกครั้ง ทั้งที่มีข่าวว่า โครงการนี้ได้อนุมัติมาหลายเดือนแล้ว และต่อมาก็มีการตั้งคณะทำงานใหม่ๆ ขึ้นมาทับซ้อน ส่งผลให้อำนาจของอธิบดีกรมประมง ลดบทบาทลงไปในการช่วยแก้ไขปัญหาชาวประมงทะเล เพราะถูกยกอำนาจไปอยู่ภายใต้คณะกรรมการจำนวนหนึ่งที่สร้างความล่าช้า อย่างไรก็ตามทำให้มีเพิ่มขั้นตอนเพิ่มขึ้นและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากความเดือดร้อนอย่างหนักชาวประมงจึงต่างจำเป็นต้องเลิกอาชีพ หากรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามสัญญาต่อชาวประมง ซึ่งขณะนี้ชาวเรือร่วมกันมีแสดงมติ เพราะไม่มีการยอมรับฟังความเดือดร้อนของชาวเรือ แถมไม่หยุดที่จะออกกฎ และระเบียบมาบังคับใช้ อย่างไม่มีความเสมอภาค ทั้งนี้จึงประกาศทวงสัญญา ที่ว่ารัฐบาลจะช่วยเยียวยา โดยการรับซื้อเรือประมง (พร้อมทั้งเครื่องมือทำการประมง) ในราคา100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมาตรการ นโยบายของรัฐเองที่ทำลายอาชีพนี้กันทั้งประเทศเพราะขาดการเหลียวแลมา 5 ปีเต็มจากภาครัฐ