กคช.เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ชูธงเป็นผู้นาเป็นที่พึ่งด้านที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และผู้สูงวัย พร้อมช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลัง Covid-19 เดินแผนขับเคลื่อนองค์กรมุ่งเน้นใช้ความหลากหลายด้านการลงทุน นำรูปแบบสมัยใหม่มาใช้ ลดการพึ่งงบประมาณ ปรับโครงการ “บ้านเคหะสุขประชา” รองรับความต้องการของคนทั้งประเทศ ให้เป็นชุมชนสร้างอาชีพ พึ่งพาตนเองเร่งศึกษา 3 รูปแบบการลงทุน เพิ่มความคล่องตัว มีความยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ มั่นใจเป็นโครงการที่สร้างอย่างรอบคอบ ตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง ลบภาพการทิ้งร้างโครงการเดิมสู่ภาพลักษณ์ใหม่ผ่านการแก้ปัญหาทั้งระบบร่วมกัน นายณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ(กคช.)เปิดเผยว่า แผนขับเคลื่อนการเคหะแห่งชาติจากนี้ไป จะมุ่งเน้นถือธงนำในการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เพื่อประชาชน เพื่อเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อการเคหะแห่งชาติ โดยคณะกรรมการจะมุ่งสู่การใช้ความหลากหลายด้านการลงทุน รูปแบบการลงทุนสมัยใหม่ลดการพึ่งพางบประมาณ ใช้ข้อได้เปรียบจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ เครื่องมือทางการเงินสมัยใหญ่ โดยล่าสุดกำลังดำเนินการออกพันธบัตรในรูป Social Bond ครั้งแรกเพื่อจาหน่ายนักลงทุนแทนการของบประมาณรัฐบาลและจัดระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพซึ่งทุกฝ่ายได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงภายหลังวิกฤติ Covid-19 เป็นอย่างดี เพื่อรับผลกระทบทางเศรษฐกิจในอีก 1-2 ปีข้างหน้าการเคหะแห่งชาติได้ปรับแนวคิดการดำเนินโครงการ "บ้านเคหะสุขประชา" จากซื้อ/เช่า เป็น เช่าแล้วซื้อ (Rent to buy) และมองไปยังสังคมสูงอายุที่ได้ประโยชน์จากแนวทางกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Revere Mortgage สำหรับผู้มีอายุเกิน 60 ปี สามารถใช้ทรัพย์เดิมสร้างรายได้ประจำ เพื่อเช่าในโครงการบ้านพักคนชราในอนาคต ทั้งนี้ได้ศึกษารูปแบบการลงทุน ตามหลักการ 3 ประการคือ1.ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย โดยศึกษาความต้องการของตลาดทั้งประเทศด้วย Digital Marketing ให้มีการลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์ม (Platform) พิสูจน์ความต้องการได้อย่างชัดเจน และก่อสร้างตามความต้องการนั้นในแต่ละพื้นที่ (Build on Demand) เพื่อมิให้เกิดสินค้าคงเหลือ และความต้องการเทียม 2.โครงการต้องให้ผลตอบแทนเป็นบวกต่อการเคหะแห่งชาติ โดยไม่มองเฉพาะผลตอบแทนที่ได้จากการเช่า แต่มองผลตอบแทนอื่นประกอบด้วยเช่น ผลตอบแทนจากการจัดประโยชน์พื้นที่ในโครงการ ตาม แนวคิด "เศรษฐกิจสุขประชา" อาทิ ตลาดชุมชน พื้นที่ประกอบอาชีพในชุมชน รวมถึงผลตอบแทนทาง เศรษฐศาสตร์อื่นๆที่วัดผลได้ ต้องถูกนามาคานวนร่วมกันในรูปแบบบูรณาการ ไม่มองผลตอบแทนจาก การก่อสร้างเพียงประการเดียว และรวมทุกส่วนแล้วต้องมีผลตอบแทนที่เป็นบวกต่อการเคหะแห่งชาติ ซึ่งได้มีการหารือกับสานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเป็นที่เรียบร้อย และอยู่ระหว่างการจัดทำแผน 3.รูปแบบการลงทุน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจหลัง Covid-19 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้กระตุ้นให้ทุกรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงหน่วยราชการต่างๆเร่งหาแนวทางการลงทุนรูปแบบใหม่ตาม พ.ร.บ. รัฐเอกชนร่วมทุน พ.ศ.2562 แทนที่จะใช้งบประมาณภาครัฐเพียงประการเดียวสำหรับโครงการ “บ้านเคหะ สุขประชา” มีการศึกษา 3 รูปแบบประกอบด้วย 1.ลงทุนด้วยงบประมาณปกติ 2. ลงทุนตาม พ.ร.บ.รัฐ เอกชนร่วมทุน พ.ศ.2562 และ 3.ระดมทุนผ่านบริษัทในเครือปัจจุบัน หรือบริษัทที่ตั้ งใหม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการ 100,000 หลังจะดำเนินการใน 5 ปี คณะกรรมการจึงจะพิจารณากรอบ การลงทุนโดยใช้ทั้ง3 รูปแบบร่วมกัน เพื่อลดภาระงบประมาณ และใช้เครื่องมือทางการเงิน ตามที่ กฎหมายรองรับ ซึ่งจะทำให้มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น ต้นทุนต่ำ และไม่เป็นภาระต่อการเคหะแห่งชาติ ขณะนี้ฝ่ายบริหารได้นำเสนอรูปแบบเบื้องต้นต่อคณะกรรมการ และอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องรวมไปถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา “ตระหนักดีว่าการสมดุลระหว่าง Demand/Supply เป็นสิ่งสำคัญและโครงการต้องมุ่งไปสู่การสร้างอาชีพให้เกิดขึ้นจริงในชุมชน รองรับปัญหาการว่างงาน และเชื่อมโยงเทคโนโลยี เพื่อสร้างช่องทางจำหน่ายผลผลิตของชุมชนให้ได้โครงการ เคหะสุขประชายังจะนำพื้นที่ Sunk Cost จากโครงการเอื้ออาทรเดิมที่ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จส่วนหนึ่งนำมาดำเนินการเพื่อลบภาพโครงการทิ้งร้างของการเคหะแห่งชาติทั้งประเทศ คณะกรรมการจะดำเนินการ อย่างรอบคอบ ให้มีโครงการต้นแบบ ไม่เน้นแต่ปริมาณ แต่เน้นคุณภาพให้ชุมชนมีส่วนร่วม” ฃนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์ ผู้ว่าการ กคช.กล่าวว่า อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรทั้งระบบ ให้มีการทำงานที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว มีการสมดุลในเนื้องาน ตรวจสอบ ถ่วงดุล และ ผสมผสานพนักงานรุ่นเก่ารุ่นใหม่ทุกส่วน ได้แลกเปลี่ยน ร่วมกันพัฒนาองค์กร และผลักดันนโยบายตั้งแต่รับตำแหน่ง ผมเห็นบรรยากาศที่เปิดกว้าง ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น ผมมีความตั้งใจระดมทุกความคิด ผลักดันโครงการต่างๆ รวมไปถึงดูแลสวัสดิการพนักงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้การเคหะแห่งชาติ ไม่ใช่เพียงก่อสร้างที่อยู่อาศัย แต่สร้างชุมชนที่มีคุณภาพให้ประชาชน รวมถึงวางแนวทางการใช้เทคโนโลยีบริหาร จัดการ ให้รวดเร็ว ลดการทุจริตในองค์กร และเปิดกว้างสู่ความร่วมมือกับ Stake Holder ทุกภาคส่วน