ช่วงวันหยุดพักผ่อนแต่ละคนต่างวางแผนไปท่องเที่ยวในสถานที่หลักๆ ซึ่งไม่มีอะไรแปลกใหม่ อีกทั้งยังมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก แต่ในเวลานี้ทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.ได้นำชุมชนตัวอย่างซึ่งได้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยยังคงรักษาอัตลักษณ์และวิถีชุมชนไว้เหมือนเดิม นั้นก็คือ ชุมชนบ้านทุ่งประดู่ ตำบลทุ่งประดู่ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมชนเล็กๆ ที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ โดยชาวบ้านในแถบนี้มีวิถีชีวิตทำการประมงพื้นบ้าน ทำสวนมะพร้าว และทำการเกษตรตามรอยพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมีเสน่ห์ที่แฝงอยู่ในชุมชน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและร่วมใจกันพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว หรือ เรียกกันว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชน มาร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในเชิงอนุรักษ์และกิจกรรมแบบไม่เหมือนใครตามที่ชุมชนจัดไว้คอยต้อนรับและบริการแบบเป็นกันเอง สปาทรายบำบัด สำหรับชุมชนบ้านทุ่งประดู่แห่งนี้ ทาง สำนักงานพื้นที่พิเศษ 8 (อพท.8) ได้เห็นศักยภาพของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งบนชายฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย ด้วยคุณลักษณะของวิถีชีวิต และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้งสวนมะพร้าว และหาดทรายขาว บวกกับวิถีดั้งเดิม ที่มีศักยภาพที่สำคัญในการนำเรื่องราวมานำเสนอเป็นเส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีชุมชน ทั้งกิจกรรมจากผลิตภัณฑ์มะพร้าว พืชสวนปลอดสารพิษ วิถีประมงเรือเล็กดั้งเดิม หาดทรายขาวรักษาโรค กิจกรรมเหล่านี้กำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่แสวงหาพื้นที่ใหม่ๆ เพื่อการท่องเที่ยวแบบไม่ซ้ำใคร ซึ่ง นายสุจินต์ มีประดิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ สำนักงานพื้นที่พิเศษ 8 หรือ อพท.8 ได้กล่าวถึง จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ ว่า ทางชุมชนได้เตรียมอุปกรณ์และตรวจวัดอากาศเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการท่องเที่ยว ก่อนจะร่วมกิจกรรมแล่นเรือใบตามรอยในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยโค้ชอดีตทีมชาติไทยเทรนด์แบบตัวต่อตัวกับนักท่องเที่ยว รวมถึงกิจกรรมประมงเรือเล็กเพื่อจับปลา-ตกหมึก การทำสปาทรายที่ได้รับการตอบรับที่ดีของนักท่องเที่ยวทุกช่วงวัย ด้วยทรายที่นี่มีคุณสมบัติพิเศษมีส่วนผสมของเร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างการของมนุษย์ผ่านการพิสูจน์จากห้องแลปทางมหาวิทยาลัยชื่อดังเป็นที่เรียบร้อย ลมทะเลที่สัมผัสแล้วไม่เหนียวตัว จนกลายเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เมนูน้ำพริกกะปิ ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปี 2563 แม้สถานการณ์การท่องเที่ยวได้เปลี่ยนไป เนื่องมาจากเกิดการล็อคดาวน์จนการท่องเที่ยวหยุดชะงัก แต่ด้วยศักยภาพของชุมชนจึงทำให้ทางอพท.8 เข้าไปเร่งพัฒนาการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนให้สอดคล้องกับวิถีใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น จนทำให้ชุมชนบ้านทุ่งประดู่ กลายเป็นชุมชนต้นแบบของประเทศไทยที่สามารถกลับมาเปิดให้บริการการท่องเที่ยววิถีใหม่ที่เป็นท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนเต็มรูปแบบอีกครั้ง ด้วยมาตรฐานรางวัล DASTA Awards 2020 และจะก้าวขึ้นสู่การเป็นชุมชนเกรด A ที่ทาง อพท.ส่งเสริมทั้งการตลาดและการประชาสัมพันธ์ สะพานไม้บ้านทุ่งประดู่ โดย นายสุจินต์ กล่าวต่อว่า การให้บริการนักท่องเที่ยวของชุมชนหลังจากนี้ยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับรสชาติอาหารสดๆ จากทะเล โดยโปรแกรม Cooking Class ที่ได้ประกอบอาหารตามวิถีชุมชนทุ่งประดู่ด้วยตนเองจากวัตถุดิบของสายชิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น แต่ที่พลาดไม่ได้ของสายรีวิวกับภาพสตรีทอาร์ทที่นำเจ้าแดง เจ้าถิ่นริมหาด ที่ทุกวันนี้ยังคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนได้ถ่ายรูปเช็คอินกัน อีกทั้งยังมีการจัดเต็มทุกเส้นทาง ทั้งสายกิน สายธรรมะ สายอนุรักษ์ และสายชิลล์ ด้วยการเพลิดเพลินและสัมผัสบรรยากาศในชุมชนด้วยการใช้บริการ 3 ล้อรถแท็กซี่หมู่บ้าน หรือซาเล้งเครื่อง นั่งตระเวนรับลมถนนเลียบชายหาดมุ่งสู่ศูนย์ชุมชนทำกิจกรรม D.I.Y ร้อยลูกปัดจากกะลามะพร้าว ทำมัดย้อมจากสีกากมะพร้าวเผา ทำสบู่น้ำมันมะพร้าว เรียนรู้การทำขนมอัญมณีนกคุ้ม ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งผลิตมาจากมะพร้าวพันธุ์พิเศษเรียกว่า มะพร้าวนกคุ้ม ส่วนสายชิมพลาดไม่ได้กับเมนูจานเด็ดซิกเนเจอร์ ของบ้านทุ่งประดู่ เป็นมัจฉาพาลุยสวน ต่อด้วยเมนูเพลิงวารี หรือ งบทะเลย่าง และ เมนูน้ำพริกกะปิที่ผลิตจากเคย วัตถุดิบชั้นเลิศประจำถิ่นที่ใครมาแล้วต้องลองลิ้มชิมรส อัญมณีนกคุ้ม ด้าน นายวิทยา สันติสุขไพบูลย์ ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านทุ่งประดู่ กล่าวว่า ด้วยภูมิอากาศของพื้นที่ภาคใต้ของไทยที่มีความแตกต่างจากภาคอื่นของประเทศ มีลมมรสุมพัดผ่าน จนทำให้ผลผลิตและการให้บริการกับนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาลและสภาพอากาศ ดังนั้นการจัดการการท่องเที่ยวหมู่บ้านทุ่งประดู่ จึงมุ่งไปที่กระบวนการนำเสนอสิ่งที่มี ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตสินค้า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถได้อย่างใกล้ชิด ทั้ง การเรียนรู้วิถีการทำประมง วิถีการทำเกษตร ซึ่งได้รับมาตรฐาน Organic Thailand รวมทั้งได้สัมผัสวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ยังไม่ถูกทำลายหายไป แต่ยังคงรักษาควบคู่ไปกับทรัพยากรต่างๆ ภายในชุมชนให้เกิดความยั่งยืนต่อไปได้