GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ “...หลายๆ ท่านคงทราบกันดีแล้ว ว่าประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า จะมีวัตถุอวกาศของ 3 ประเทศ แวะไปเยี่ยมเยือนดาวอังคารกัน ได้แก่ Hope, Tianwen และ Perseverance ยานสำรวจดาวอังคารเหล่านั้น จะต้องเจอกับอะไรบ้างนะ อย่างแรกๆ ก็คงเป็นชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร แล้ว “Martain magnetic field” หล่ะ “สนามแม่เหล็กบนดาวอังคาร” มันเป็นยังไง.. เชื่อว่าหลายๆ ท่านอาจจะไม่ทราบมาก่อนว่า เมื่อหลายพันล้านปีก่อนดาวอังคารก็เคยมีสนามแม่เหล็กที่สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกันกับโลก สนามแม่เหล็กที่ห่อหุ้ม ป้องกันและปรับสภาพดวงดาวให้รอดพ้นภัยคุกคามจากอวกาศและจักรวาล อาทิ solar wind หรือ high energy particles ต่างๆ แต่ในปัจจุบัน Mars magnetosphere ได้สลายหายไปหมดด้วยสาเหตุอะไรที่ยังไม่ทราบแน่ชัดจนทุกวันนี้ แต่ทำให้ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารไม่ได้รับการปกป้องจากรังสีคอสมิก รวมทั้งไม่มีสิ่งใดบั่นทอนความแรงของพายุสุริยะให้ลดลงได้เลย ถึงกระนั้น สนามแม่เหล็กของมาร์ก็ไม่ได้หมดไปซะทีเดียว ยังคงมีหลงเหลืออยู่ในซากหินที่มีอายุมากๆ และฝังลึกลงไปอยู่ภายใต้พื้นผิวดวงดาว แต่ก็มีเหลือน้อยมากแล้วเหลือเกิน เมื่อก่อนนี้ ได้แต่หวังว่า โลกของเราจะไม่อยู่ๆ เป็นอย่างดาวอังคาร ก็ได้แต่หวังว่า ประเทศนั้นประเทศนี้จะต้องทำสำเร็จ ต้องค้นคว้าวิจัยเพื่อปกป้องโลกหรือนำทางพวกเราไปยังดาวดวงอื่นเมื่อโลกมีภัย แต่เร็วๆนี้ เริ่มมีหวังและกำลังใจขึ้นมา ว่าประเทศไทยก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมไปสำรวจอวกาศกับนานาประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ งานวิจัย นักวิจัยที่มีความสามารถ ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล บวกกับเทคโนโลยีที่จะพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง จะช่วยนำเราและทำให้มวลมนุษยชาติรอดวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อนเหล่านี้ได้...” #จิสด้าก้าวสู่ปีที่20 #จิสด้า #gistda #spacetechnology ขอขอบคุณ ดร.อัมรินทร์ พิมพ์หนู วิศวกรดาวเทียมชำนาญการ จากจิสด้า" ภาพประกอบโดย nasa