ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธิติ พานวัน อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวว่า จากการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา สืบสานและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไชยา จนข้าวไชยาเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และข้าวหอมไชยาได้รับการรับรองมาตรฐานข้าว GAP มีการปลูกข้าวตามระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสมการปลูกข้าวหอมไชยาอินทรีย์ และมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมไชยา จึงได้จัดโครงการสืบสานพันธุ์ข้าวหอมไชยาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “การจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เมื่อชุมชนพบปัญหาแมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ย และแมลงสิง คอยกัดกินลำต้นและใบข้าว สร้างความเสียหายแก่ข้าว จึงได้ อบรมให้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา ผลิตสารชีวภัณฑ์ โดยการหมัก ขยายเชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลงศัตรูพืช จะทำให้ข้าวไชยาเป็นข้าวอินทรีย์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย ตอบสนองต่อผู้บริโภคที่รักสุขภาพ การลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ยังเป็นการรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยจัดโครงการระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง วันที่ 2 สิงหาคม 2563