NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์น่าติดตามเดือนส.ค.63 ระบุ เดือนส.ค.63 มีวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอะไรบ้าง 6 - 20 ส.ค. 63 ดาวหางนีโอไวส์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าระหว่างกลุมดาวเลี้ยงสัตว์และกลุ่มดาวหญิงสาว เริ่มเห็นชัดเจนเวลาประมาณ 20.00 น. แนะนำใช้กล้องสองตาที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 7-10 เท่า ขนาดหน้ากล้องไม่น้อยกว่า 50 มม. สังเกตจากพื้นที่ที่ค่อนข้างูง มุมมองเปิดกว้างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 12 ส.ค.63 ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ เกิดจากโลกโคจรตัดผ่านวงโคจรของดาวหางสวิฟท์-ทัตเทิล ศูนย์กลางกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวเพอร์เซอุสทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มสังเกตได้ 12 ส.ค.63 เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า 13 ส.ค.63 อัตราการตกสูงสุด 110 ดวง/ชั่วโมง มีแสงจันทร์รบกวน 15 ส.ค.63 เวลา 12.22 น. ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ณ กทม. (ครั้งที่ 2) หากยืนกลางแดดช่วงที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเงาจะตกที่ใต้เท้าพอดี ดาวเคียงเดือน ตลอดเดือนส.ค.63 1 ส.ค.63 ดาวพฤหัสเคียงดวงจันทร์ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 2. ส.ค.63 ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 9 ส.ค.63 ดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ เวลาประมาณ 22.50 น.เป็นต้นไป บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 29 ส.ค.63 ดาวพฤหัสเคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้เวลาประมาณ 18.40 น. ของวันที่ 28 ส.ค.63 บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 30 ส.ค.63 ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลา 18.50 น. ของวันที่ 29 ส.ค.63 บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้