ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,123 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 8 - 11 กรกฎาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผยว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,123 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 8 - 11 กรกฎาคม 2563 นั้น เนื่องจากการเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เสียงสะท้อนของคนกรุงเทพมหานครในด้านปัญหาต่างๆ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย ,2.สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร ,3.แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ ,4.บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ,5.วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และ6.อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2563 ร้อยละ 69.5 และปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากตัวผู้สมัคร ร้อยละ 65.7 พรรคการเมืองที่สังกัด ร้อยละ 34.3 และอยากได้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติที่มีความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด ร้อยละ 23.5 อันดับสองคือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 18.8 อันดับสามคือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 18 อันดับสี่คือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 15.8 อันดับห้าคือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.4 และอันดับสุดท้ายคือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 10.5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ กล่าวว่า ส่วนของนโยบายที่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญอันดับหนึ่งคือ ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 34.8 อันดับสองคือด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 20 อันดับสามคือด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 14.7 อันดับสี่คือด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาเมือง ร้อยละ 12.5 อันดับห้าคือด้านการจราจรและขนส่งมวลชน ร้อยละ 9.6 และอันดับสุดท้ายด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 8.4 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ปัญหาการคอรัปชั่น ร้อยละ 32.9 อันดับสองคือ ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 20.7 อันดับสามคือ ปัญหาสถานบริการฝ่าฝืนกฎหมาย ร้อยละ 11.4 อันดับสี่คือ ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ร้อยละ 9.4 อันดับห้าคือ ปัญหาการกีดขวางทางเท้า (ฟุตบาท) ร้อยละ 8.6 อันดับหกคือ ปัญหาการจัดการน้ำเสีย ร้อยละ 6.3 อันดับเจ็ดคือ ปัญหาการจัดการน้ำท่วม ร้อยละ 4.5 อันดับแปดคือ ปัญหาการบุกรุกที่ดินสาธารณะ ร้อยละ 3.5 และอันดับสุดท้ายคือ ปัญหาการตัดต้นไม้ริมทาง/การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 2.7