น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ อดีตผู้สมัครส.ส.กทม.เขตจอมทอง-ธนบุรี อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า... คดีบอส #ยังไม่ถึงศาล #อย่าเพิ่งด่าศาล #แต่กระบวนการยุติธรรมต้องโปร่งใส #ศาลกับอัยการ คนละส่วนกัน #อย่าให้ภาพมันชัดว่า #คุกมีไว้ขังคนจน -------- กระบวนการยุติธรรมเริ่มตั้งแต่ "การออกกฎหมาย" และ "การบังคับใช้กฎหมาย" . โดยทั่วไปองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการยุติธรรมเริ่มตั้งแต่องค์กรที่ออกกฎหมาย คือ รัฐสภา และองค์กรที่บังคับใช้กฎหมาย เช่น ในคดีอาญา คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พนักงานสืบสวนสอบสวน) องค์กรอัยการ (พนักงานอัยการ) และองค์กรตุลาการ (ศาล) . ?จากกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย "คดียังไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล" หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ #สำนักงานตำรวจแห่งชาติและองค์กรอัยการ จึงควรต้องออกมารับผิดชอบชี้แจงความโปร่งใสของการออกคำสั่งดังกล่าว . ?ทั้งนี้ องค์กรอัยการนั้นเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หากดูตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) แล้ว อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ซึ่งคือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล จึงเป็นคนละส่วนแยกออกจากกัน อธิบายได้ดังนี้ . #โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดบทบาทและหน้าที่ขององค์กรไว้ได้แก่ . รัฐสภา (หมวด7) คณะรัฐมนตรี (หมวด8) ศาล (หมวด10) ศาลรัฐธรรมนูญ (หมวด11) องค์กรอิสระ (หมวด12) และองค์กรอัยการ (หมวด13) ซึ่งมาตรา 248 วรรค 1 และ 2 บัญญัติไว้ว่า “องค์กรอัยการมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง และไม่ให้ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง . #สำหรับหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) นั้น มาตรา 3 วรรค 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล” ซึ่งเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกหน้าที่ (Separation of Powers) โดย . 1.รัฐสภา เป็น องค์กรนิติบัญญัติ ใช้อำนาจนิติบัญญัติ วางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ เช่น การตรากฎหมาย . 2.คณะรัฐมนตรี เป็น องค์กรบริหาร ใช้อำนาจปฏิบัติการ บริหารจัดการประเทศ . 3.ศาล เป็น องค์กรตุลาการ ใช้อำนาจตุลาการในการวินิจฉัยอรรถคดี . ?#อย่างไรก็ดีการตรวจสอบการดำเนินการในคดีนี้ สามารถทำได้โดยนายกรัฐมนตรี และอัยการสูงสุด . ถึงแม้ว่าจะนายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจแทรกแซงการทำงานของหน่วยงานดังกล่าว แต่ก็ยังมีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานได้ โดยที่ มาตรา 3 วรรค 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้ว่า “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม” . ?#ดังนั้นในคดีดังกล่าวเพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการตรวจสอบ แต่ไม่ใช่การใช้อำนาจในฐานะหัวหน้าคณะรัฐมนตรี แต่เป็นอำนาจตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของพนักงานสอบสวน และอัยการสูงสุดมีอำนาจตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของพนักงานอัยการ เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นของประชาชนและศรัทธาของการบังคับใช้กฎหมาย . ดังนั้นส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 หน่วยงานดังกล่าวต้องออกมาชี้แจงสังคมโดยเร็วที่สุดหลังตั้งคณะทำงานตรวจสอบฯ . #บอสอยู่วิทยา