“แรมโบ้” สอนน้อง “นิสิต-นักศึกษา” ก่อม็อบ พร้อมยกบทเรียนเคยตกเป็นเครื่องมือมาก่อน ข้องใจ “ธนาธร” อยู่เบื้องหลังการชุมนุมหรือไม่ “ธนกร” เตือนอย่าจาบจ้วงสถาบัน หวั่นจุดไฟม็อบชนม็อบ “ส.ว.สมชาย” แนะ “บิ๊กตู่” แก้เชือกทีละปม-ดับไฟทีละกองพาสังคมไทยหลุดพ้นความขัดแย้ง ด้าน“กมธ.รับฟังความเห็นม็อบ” จ่อถกนัดแรกสิ้นเดือนนี้ พร้อมลงพื้นที่เก็บข้อมูลการชุมนุมทั่วประเทศ แจงแสดงออกได้ภายใต้กฎหมาย ย้ำไม่ห่วงเรื่องยุบสภา “ดุสิตโพล”เผย ปชช.เชื่อไม่ได้ประโยชน์-ยังเหมือนเดิมปรับครม.ใหม่ “ทักษิณ”โพสต์ขอบคุณทุกคนร่วมอวยพรวันเกิด 71 ปี บอก“ซาบซึ้ง-คิดถึง” แม้จากไทยไป 14 ปี ปลื้มของขวัญพิเศษได้หลานเพิ่มอีกคนต้นปีหน้า เมื่อวันที่ 26 ก.ค.63นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า กล่าวระหว่างไลฟ์สด จัดรายการ “ก้าวหน้า Talk” โดยให้ความเห็นเรื่องม็อบเยาวชนปลดแอกว่าผบ.ทบ.ไม่มีสิทธิมาให้ความเห็นทางการเมือง ว่า การที่ผบ.ทบ.ต้องออกมาพูดเพราะเป็นห่วงประเทศและออกมาพูด เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และขออย่าก้าวล่วงสถาบัน ไม่ได้ขัดขวางการชุมชุมของนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ผบ. ทบ.ออกมาปรามเรื่องการก้าวล่วงไว้ ส่วนที่นายธนาธรระบุว่าผบ.ทบ.เปิดบ้านให้นายสาธิต เซกัล นักธุรกิจไทยเชื้อ สายอินเดียและคณะเข้าพบ แต่ไม่รับฟังนายอานนท์ นำภา และนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน ที่เดินทางไปหาที่หน้ากองทัพบกนั้น นายธนาธร ต้องเข้าใจว่า นายสาธิตเข้าพบผบ.ทบ.เพื่อเล่าความไม่สบายใจ เกี่ยวกับเนื้อหาการปราศรัยของนิสิต นักศึกษาบางคน และนายสาธิต ก็ถือว่าเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ มามากมาย และมีเจตนาที่ดี มีความเป็นห่วงประเทศชาติ ซึ่งแตกต่างจากนายพริษฐ์และนายอานนท์ ที่ออกมาเคลื่อนไหวตลอด “ผมเชื่อว่านายธนาธรน่าจะเข้าใจเรื่องนี้ว่าทั้งผบ.ทบ.และนายสาธิตทำไปเพื่ออะไร แต่กลับออกมาพูดในลักษณะตำหนิทั้ง 2 คน และยังไปพูดดูเหมือนเป็นการสนับสนุนการชุมนุมของนิสิต นักศึกษา ทั้งที่ประเทศต้องการ ความสามัคคีปรองดอง ไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งและวุ่นวายอีกต่อไป ซึ่งแม้นายธนาธรจะออกมาปฏิเสธไม่ได้อยู่เบื้องหลัง การเคลื่อนไหว แต่ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ ว่านายธนาธรน่าจะอยู่เบื้องหลังการชุมนุมหรือไม่ และฝากถึงน้องๆ นักศึกษาว่า อย่าให้ใครชักใยหรือหนุนหลังเด็ดขาด” “บทเรียนในการชุมนุมของพวกพี่ๆ ในอดีตสมัยปี 52-53 พวกพี่ๆ เคยตกเป็นเครื่องมือให้กับกลุ่มบุคคลที่หนุนหลังเพื่อก้าวสู่อำนาจในบ้านเมือง เพียงหวังผลประโยชน์ให้กลุ่มและพวกพ้องของตนเอง ทำให้มีการชุมนุมอันยาวนาน เกิดความขัดแย้งหลายสี เสื้อหลายกลุ่ม ทำให้คนไทยเกิดความขัดแย้ง ทะเลาะกันวุ่นวายทั้งแผ่นดิน ส่งผลทำลายเศรษฐกิจประเทศเสียหายย่อยยับ ซึ่งเป็นบทเรียนที่พี่ๆ ต้องจดจำในอดีตว่า จะต้องบอกกล่าวรุ่นน้องๆ ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก พี่ๆ จดจำภาพในอดีตติดตาติดใจมาตลอดเวลาเพราะมันเจ็บปวดหัวใจที่สุด ถ้าย้อนกลับไปได้จะไม่มีทางตกเป็นเครื่องมือให้ใครเด็ดขาด เป็นเรื่องที่ผิดพลาดในชีวิตของพี่ๆ ที่สุด” ส่วน นายธนกร วังบุญคงชนะ อดีตโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของนักศึก ษาเป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ หากอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่อยากจะวิงวอนกับนักศึกษาซึ่งเป็นปัญญาชนของประเทศว่าอย่าพยายามทำอะไรที่จะทำให้ถูกมองว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน เพราะเชื่อว่า คนไทยทั่วประเทศคงไม่ยอม และคงมีการออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านแน่ ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรค พปชร. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมา ธิการ(กมธ.) ศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น ในกมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560กล่าวถึงการเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษา ให้แก้รัฐธรรมนูญปี60ว่า ขณะนี้ปัญหาต่างๆ ในรัฐธรรมนูญปี 60 ได้นำมาศึกษาใน อนุกมธ.ชุดนี้แล้ว อาทิ การให้แก้ไขระบบการเลือกตั้ง และอื่นๆอีกหลายประเด็น ซึ่งอนุกมธ.ได้พิจารณา ศึกษา อย่างละเอียด รอบคอบ รวมไปถึงประเด็นข้อเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษา ก็อยู่ในการศึกษาของอนุกมธ.แล้ว โดยทางอนุกมธ.จะได้นำเสนอรายงานต่อ กมธ.ชุดใหญ่ ให้ได้พิจารณาและอภิปรายเพิ่มเติม ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ ส่วน นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง“แก้เชือกทีละปมดับไฟทีละกอง”ว่า ขอเสนอแนวทางไปยังนายกฯและทุกภาคส่วน เพื่อช่วยกันพาสังคมไทยออกจากความขัดแย้งที่ส่อเค้าวิกฤติรุนแรง โดยเรื่องการชุมนุมเรียกร้องของนิ สิตนักศึกษาในเวลานี้ นายกฯและคณะรัฐมนตรี(ครม.)ควรเป็นเจ้าภาพ”รวมพลังสร้างชาติ”เองด้วยการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากนิสิตนักศึกษา โดยให้ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย เป็นผู้ร่วมจัดประชุมอธิการบดี ทุกมหาวิทยาลัย ร่วมกับนายกองค์การฯและประธานสภานิสิตนักศึกษาฝ่ายละ1คน เข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็นเสนอทางออกประเทศอย่างสร้างสรรค์ โดยให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ ให้คนไทยทั้ง69ล้านคนได้รับทราบไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ สังคมไทยต้องร่วมปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งการใช้กำลังคนและอาวุธ รวมถึงการปฏิเสธการโจมตีโดยใช้วาทกรรมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จากผู้เข้าร่วมการชุมนุมและผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในทุกกรณี ประเทศไทยติดกับดักความขัดแย้งมานานมากแล้วหากเราจะรวมพลังสร้างชาติต้องดำเนินการเปิดใจรับฟังกันและกันแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่างเดินปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังและรอบด้านไปด้วยกันดีกว่า ขณะที่ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญตามญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎร รับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นิสิต และนักศึกษา กล่าวถึงการทำงานของ กมธ. ว่า จะประชุมนัดแรกในวันที่ 31 ก.ค. นี้ โดยเน้นการทำงานเชิงรุกและพยายามทำงานให้รวดเร็ว โดยจะลงไปตามพื้นที่ต่างๆที่นักศึกษาจัดชุมนุมกัน ขณะนี้เราได้รวบรวมกำหนดการที่นักศึกษาจะชุมนุมในจังหวัดต่างๆ เพื่อลงพื้นที่รับฟังให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะบางกรณีที่เคยถูกดำเนินคดีไปแล้ว เราจะดูว่าลักษณะการถูกดำเนินคดีเป็นการถูกกลั่นแกล้ง เป็นธรรมหรือไม่ เราต้องการทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมรับรู้ว่าประเทศนี้สามารถแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างได้ ภายใต้กฎหมายเดียวกัน สำหรับข้อมูลที่ กมธ.จะได้จากการลงพื้นที่นั้น กรรมาธิการมี 2 แนวทาง ในการดำเนินการ แนวทางแรกจะมีการถ่ายทอดสดให้ประชาชนได้รับชมถึงการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการว่ากรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร ได้รับการต้อนรับอย่างไร จากนั้นจะจัดทำรายงานข้อเสนอเพื่อส่งไปยังกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ว่าต้องรับผิดชอบในประเด็นใดบ้าง เช่น จะเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขให้เข้าไปดูแลเรื่องสุขอนามัยให้กับนักเรียนนักศึกษา หรือประสานไปยังกระทรวงมหาดไทยให้ดูแลเรื่องความปลอดภัยมากกว่าการเข้าไปคุมพื้นที่ เมื่อถามว่า ข้อเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาที่ให้มีการยุบสภา นายสิริพงศ์ กล่าวว่า กมธ. เรานำเสนออยู่แล้ว ในการอภิปรายของสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีความกังวลในเรื่องการยุบสภา แต่ที่กังวลกันมากคือเกรงว่ายุบสภาไปแล้ว กลับมาก็ยังคงเป็นกฎกติกาเดิม ฉะนั้นเรื่องที่ กมธ. จะคุยและสอดคล้องกับประเด็นที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ว่ายินดีที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใต้กรอบกฎหมาย ส่วนตัวเห็นว่าอาจมีการแก้ไขเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรีว่า ควรมี ส.ว.เข้ามามีส่วนในกระบวนการเลือกหรือไม่ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคมซึ่งเราก็ต้องมาดูอีกที ด้าน นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โพสต์เฟซบุ๊ก ขอบคุณทุกคนที่อวยพรวันเกิดครบ 71 ปี โดยระบุว่า “วันนี้ผมอายุครบ 71 ปีแล้ว ต้องกราบขอบคุณทุกๆ ท่านที่ได้อวยพรมาทั้งทางตรง และผ่านทางเมืองไทย บางคณะก็ได้ไปทำบุญให้ผมด้วย ผมบอกได้อย่างเดียวว่ารู้สึกซาบซึ้ง และคิดถึง ทั้งที่ผมจากเมืองไทยมาเกือบ 14 ปีแล้ว แต่ก็มีสิ่งดีๆ เข้ามาทำให้ผมมีกำลังใจ วันเกิดปีนี้ผมได้รับของขวัญพิเศษ ผมกำลังจะมีหลานอีกคนจากน้องอิ๊งค์ ลูกรักคนเล็กของผม คงจะคลอดปลายมกราคม หรือต้นก.พ.ปีหน้า ช่วงลำบากของทุกๆ คน จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผมอยากจะฝากคลิปของฝรั่งอันนี้ไว้ให้ทุกคนไปชม ผมได้รับมาจากเพื่อนต่างชาติ ผมฟังแล้วรู้สึกว่าน่าจะเป็นกำลังใจที่ดีให้ทุกคนในยามนี้ ผมดูแล้วชอบมากเลยส่งมาให้ลูกๆ ก็เลยขอแชร์ให้กับคนไทยทุกคนได้เป็นกำลังใจครับ” ขณะที่ สวนดุสิตโพล จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ประชาชนได้อะไร ? จากการปรับ ครม.” พบว่า ร้อยละ 55.75 ระบุ เหมือนเดิม ร้อยละ 28.48 ระบุ แย่ลงเมื่อถามว่า“การปรับ ครม.”ครั้งนี้ จะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นรัฐบาลมากน้อยเพียงใด พบว่าร้อยละ 52.88 ระบุเชื่อมั่นลดลงร้อยละ 33.67 ระบุ เหมือนเดิม เมื่อถามว่า ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการปรับครม.ครั้งนี้หรือไม่พบว่าร้อยละ 48.7 0 ระบุ ไม่ได้ เพราะ คนที่ได้ประโยชน์คือนักการเมือง เป็นเพียงการหมุนเวียน ผลัดเปลี่ยนตำแหน่ง ไม่ใช่จากความสามารถที่แท้จริง