เมื่อวันที่ 24 ก.ค. นายธนา สุวัฑฒน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ในฐานะอนุกรรมการดำเนินการประเมินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา/โครงการชลประทาน ทำหน้าที่แทนประธานการประเมินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโครงการชลประทาน และฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา ประจำปี พ.ศ.2564 โดยมี นายปริญญา สัคคะนายก ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 15 และคณะอนุกรรมการการประเมินฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และดูงานภาคสนามของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน รักษ์อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเขียวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมร่วมประเมินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโครงการชลประทานฯ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการชลประทานกระบี่ ณ ที่ทำการฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการชลประทานกระบี่ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเขียวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ในการนี้ นายศราวุธ จันทิปะ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการชลประทานกระบี่ ได้นำเสนอผลงานฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 ซึ่งได้นํายุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน จังหวัดกระบี่ และโครงการชลประทานกระบี่ มาเป็นกรอบแนวทางเพื่อกําหนดเป็นวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของฝ่ายส่งน้ำและบํารุงรักษาที่ 3 พร้อมขับเคลื่อนนโยบายภายใต้แนวทาง RID No.1 ในการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน บริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการตามวัตถุประสงค์การใช้น้ำ และพัฒนาบุคลากร นําเทคโนโลยีมาใช้กับการปฏิบัติงาน ภายใต้วิสัยทัศน์ ที่ว่า “ดําเนินงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อจัดสรรน้ำให้ทั่วถึง และเป็นธรรม ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชา (โคก หนอง นา โมเดล) โดยยึดหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ซึ่งนําไปสู่การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ แบบ 4 ประสาน ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน หน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง และชลประทาน จนเกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเขียวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำให้สามารถบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม จัดสรรน้ำได้อย่างทั่วถึง เพียงพอ และเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน โดย นายยุโสบ ขนานใต้ รองประธานกลุ่มบริหารการใช้น้ำรักษ์อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเขียวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำร่วมกับฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการชลประทานกระบี่ ทำให้ชาวบ้านได้มีน้ำใช้อย่างทั่วถึงเพียงพอ ที่ผ่านมามีการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานอย่างต่อเนื่อง ได้รับความรู้เรื่องการจัดสรรน้ำ และคำแนะนำเรื่องการเพาะปลูกให้เพียงพอต่อปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างฯ เช่น การปลูกพืชผักใช้น้ำน้อย หรือปลูกพืชระยะสั้น การปลูกพืชแบบผสมผสาน สามารถสร้างรายได้ในครัวเรือน ทำให้กลุ่มสมาชิกสามารถพึ่งตนเองได้ทุกสถานการณ์ ทั้งนี้ฝ่ายส่งน้ำและบํารุงรักษาที่ 3 โครงการชลประทานกระบี่ สํานักงานชลประทานที่ 15 รับผิดชอบพื้นที่ 3 อําเภอ ได้แก่อําเภอลําทับ อําเภอคลองท่อม และอําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ มีแหล่งน้ำต้นทุนประเภท โครงการชลประทานขนาดกลาง 2 แห่ง ได้แก่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเขียวอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และฝายคลองทรายขาว พื้นที่ชลประทานรวม 7,051 ไร่ โครงการชลประทานขนาดเล็ก 2 แห่ง ได้แก่โครงการทํานบดินคลองสังกาอู้อันเนื่องมาจากพระราชดําริ และโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดําริ พื้นที่รับประโยชน์ 150 ครัวเรือน โดยการเกษตรในเขตพื้นที่ชลประทาน มีการทําสวนปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ผล พืชผัก ปศุสัตว์ เป็นต้น