FPI โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/63 รายได้รวมแตะ 536 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% อานิสงส์ยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น 32 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 47% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขายงาน OEM ของรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า ไดฮัทสุ มิตซูบิชิ และมาสด้า BT50 เผยมีกำไรจากการดำเนินงานกว่า 61 ล้านบาท นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) (FPI) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาส 1 ของปี 2563 และปี 2562 มีรายได้รวม 536 ล้านบาท และ 484 ล้านบาทตามลำดับ เพิ่มขึ้น 52 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 โดยมีรายได้จากการขายและบริการของไตรมาส 1ของปี 2563 และปี 2562 เป็นเงิน 530 ล้านบาท และ 481 ล้านบาทตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นเงิน 49 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ทั้สาเหตุหลักมาจากยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น 32 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47 จากการขายงาน OEM ของรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า ไดฮัทสุ มิตซูบิชิ และ มาสด้า BT50 โดยบริษัทฯขายสินค้าผ่านบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปในประเทศญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆและยอดขายต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น 29 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12 จากการขายให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ในประเทศซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้น เนื่องจากไตรมาส 1 ปี 2563 ประเทศผู้ขายหลายประเทศได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่เชื้อกระจายเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลให้มีการปิดประเทศ เช่น ประเทศจีน และ มาเลเซีย ดังนั้นลูกค้าจึงหันมาทำการซื้อและสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก “แม้ว่าตลอดช่วงครึ่งปีแรก เราจะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 เนื่องจาก FPI เป็นบริษัทผู้ส่งออกอะไหล่ชิ้นส่วนยานยนต์ เมื่อมีการปิดประเทศต่างๆ ทำให้ทางบริษัทได้รับผลกระทบพอสมควร แต่บริษัท ได้พยายามปรับกลยุทธ์ในการผลิตและส่งมอบ โดยปัจจุบันในส่วนของงานผลิตได้มีการผลิตแบบ Full capacity ส่งผลให้บริษัทสามารถผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ได้ในทุกรุ่นทุกแบบ ซึ่งเมื่อทุกอย่างคลี่คลาย เราจะสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น จากเดิมที่ลูกค้าต้องพรีออเดอร์และรอสินค้า และคาดว่า ผลประกอบการจะเริ่มกลับมาดีขึ้นในเร็ววันจากมาตรการผ่อนคลายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง” นอกจากนี้ถึงแม้ว่าภาคอุตสาหกรรมการยานยนต์หลายๆค่ายจะได้รับผลกระทบ แต่สำหรับ FPI ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตทั้งชิ้นส่วนยานยนต์ แบบ OEM และ REM ต้องยอมรับว่า OEM อาจจะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง แต่สำหรับ Replacement แล้วเรายังได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคงต้องรอให้สถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลาย และเชื่อมั่นว่าออเดอร์ต่างๆจะกลับมาในเร็ววัน ทั้งนี้บริษัทได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 4 จากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31.62 ในไตรมาส 1 ปี 2562 เป็น 30.34 ในไตรมาส 1 ปี 2563 ส่งผลให้รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่อย่างไรก็ตามบริษัทยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10 อย่างไรก็ตามในไตรมาส 1 ของปี 2563 และปี 2562 บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน เท่ากับ 61 ล้านบาท และ 53 ล้านบาทตามลำดับ เพิ่มขึ้น 8 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 กรรมการผู้จัดการ FPI กล่าวอีกว่า ในไตรมาส 1 ของปี 2563 และปี 2562 งบการเงินรวมของบริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ เท่ากับ 41 ล้านบาท และกำไรสุทธิ เท่ากับ 39 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งมีผลมาจากรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลักของบริษัทในไตรมาส 1 ของปี 2563 และปี 2562 จำนวน 102 ล้านบาท และ 14 ล้านบาทตามลำดับ เนื่องจากขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ในการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract และ Forward Option) ในไตรมาส 1 ของปี 2563 และปี 2562 เท่ากับ 67 ล้านบาท และ 4 ล้านบาทตามลำดับ โดยขาดทุนเพิ่มขึ้น 63 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ซึ่งไม่สามารถคาดคะเนได้นั้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังมีผลขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงสถานะเงินลงทุนในบริษัทย่อย FPI AUTOPARTS INDIA PRIVATE LIMITED จำนวน 22 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ของปี 2563 โดยมีสาเหตุหลักจากการที่บริษัทได้เข้าทำการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมร้อยละ 55 ในราคาหุ้นละ 8.6369 อินเดียรูปีรวมถึงค่าเงินอินเดียรูปีที่อ่อนค่าลงประมาณร้อยละ 17 จึงต้องทำการตีมูลค่าเงินลงทุนใหม่สำหรับหุ้นเดิมที่บริษัทถืออยู่ร้อยละ 45 ในราคาพาร์ 10 อินเดียรูป