ผ่านมาแล้วกว่าเดือนครึ่ง ยังไม่มีวี่แววว่า มหาดไทย และกรม ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(สถ.)จะมีหนังสือแจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)เบิกจ่ายเงินเพิ่มให้บุคลากรท้องถิ่นที่มีส่วนทำงานช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาโควิด-19 เลย ไม่เหมือนตอนที่จะสั่งงานให้เข้าไปแก้ไขสถานการณ์ก็มีคำสั่ง แบบด่วนมาก ด่วนที่สุด พอเรื่องผลประโยชน์สิทธิสวัสดิการกลับเป็นไปด้วยความล่าช้า ทำให้ส่วนท้องถิ่นเกิดความสงสัยว่าทำไมเวลาล่วงเลยมาถึงกว่า 2 เดือนแต่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับกระทรวงมหาดไทยกลับไม่มีหนังสือมาซักซ้อมในเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนมาเลย ทั้งที่มีหนังสือหนังสือจากกระทรวงการคลัง เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับบุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงนามโดยนายฉัตรกฤตดิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ออกมาตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2563 โดยหนังสือดังกล่าวมีใจความระบุว่า ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 เห็นชอบให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน สำหรับหลักเกณฑ์การได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับบุคลากรสาธารณสุขให้กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลางจัดทำระเบียบเกณฑ์เพื่อรองรับการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษโดยอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้สอดคล้องกับกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินอื่นที่กำหนดให้จ่ายเป็นรายเดือน ทั้งนี้ให้นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้บังคับโดยอนุโลมกับข้าราชการทหารข้าราชการตำรวจ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น และบุคลากรภาครัฐอื่นที่ปฎิบัติงานด้านสาธารณสุขในสถานการณ์เช่นเดียวกันนี้ กระทรวงการคลังขอเรียนว่าเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้นและเพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับบุคลากรสาธารณสุขมีความชัดเจนและเกิดความเป็นธรรมนั้นจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับบุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขึ้นโดยให้ส่วนราชการถือปฏิบัติดังนี้ 1.การเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษตามหลักเกณฑ์นี้ “บุคลากร สาธารณสุข“ หมายถึง ข้าราชการพนักงานราชการพนักงานกระทรวงสาธารณะสุข ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 “ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง” หมายความว่าบุคลากรสาธารณสุขผู้ซึ่งมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานใกล้ชิดและสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงเช่นผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการหรือหน่วยบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขคัดกรองผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังสอบสวนป้องกันควบคุมและรักษาผู้ป่วยโดยผู้ป่วยเลือกงานในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่นแพทย์พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น “ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน” หมายความว่า บุคลากรสาธารณสุขผู้ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น ผู้ผลิตงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความรู้เรื่องระบาดวิทยาพยากรณ์สถานการณ์ระบาดในอนาคตเพื่อป้องกันโรคล่วงหน้าและนำข้อมูลไปประกอบการประเมินสถานการณ์รายวัน รวมทั้งจัดทำข้อมูลเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวังการป้องกันเพื่อการควบคุมโรคติดต่อในเขตท้องที่ที่ตนมีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการโดยผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วยผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น เภสัชกรนักจิตวิทยา นักโภชนาการ ผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น 2. ให้บุคลากรสาธารณสุขได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนในอัตราดังนี้ 2.1 ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงได้รับอัตรตราเดือนละ 1,500 บาท 2.2 ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนได้รับในอัตราเดือนละ 1,000 บาท 3.การเบิกและการจ่ายเงินเพิ่ม พิเศษรายเดือนตามข้อ 2.ให้เบิกพร้อมกับการเบิกและจ่ายเงินเดือนให้หัวหน้าสวนราชการจัดให้มีการตรวจสอบผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนตามหลักเกณฑ์นี้ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันก่อนดำเนินการขอเบิกเงิน 4. ผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของการใช้จ่ายเงินตามหลักเกณฑ์นี้ 5.กรณีที่สวนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้ได้ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง 6. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนให้นำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลมกับข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นและบุคลากรภาครัฐอื่นที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในษณาการเช่นเดียวกันนี้ หลังจากนี้ต้องคอยติดตามกันต่อไปว่าส่วนท้องถิ่นที่เป็นเอกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการช่วยป้องกันการแพทยระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 จะมีสิทธิ์ได้รับค่าตอบแทนพิเศษเหมือนกับหน่วยงานอื่นหรือไม่