โครงการเสริมสร้างความรักความสามัคคีระดับตำบลระยะ 4 ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ระดมความคิดแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธ์ข้าว ของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัยนั้นเป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยววิถีชุมชนกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ทุกคนชื่นชอบเป็นอย่างหนึ่งนั่นก็คือการขี่จักรยานชมทุ่งนา เพราะว่าที่อำเภอทุ่งเสลี่ยงนั้นมีผืนนาเป็นจำนวนมากและชาวบ้านส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องการทำนา ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำไร่ ทำสวน ในอดีตเป็นการปลูกข้าวแบบประณีตชาวนาจะดูแลเอาใจใส่แปลงนาของตนเองอย่างสม่ำเสมอ แต่ในปัจจุบันมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยทำให้การทำนาข้าวเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไปจากที่เคยถูกข้าวไว้กินเองส่วนที่เหลือก็นำไปขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าก็กลายมาเป็นการทำนาเพื่อขาย จากที่เกิดคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองก็เปลี่ยนมาซื้อเมล็ดพันธุ์จากที่อื่นมาปลูกทำให้เกิดปัญหาเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ มีการปลอมปน และมีราคาสูง ประชาชนจึงต้องรวมตัวกันเพื่อมาพูดคุยหารือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุโขทัย ถึงความต้องการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไปอย่างยั่งยืนและการสนับสนุนให้จัดกิจกรรมโครงการเสริมสร้างความรักความสามัคคีระดับตำบลระยะที่ 4 ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ครับ นายนิคม สุนันตระกูล ประชาชน ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย กล่าวถึงปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวว่า “ปัญหาความเดือดร้อนคือเกี่ยวกับเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เราปลูกในปัจจุบันคือต้องไปซื้อมาในราคากระสอบละ 670 บาทผมมาดีดลูกคิดดูตกกิโล 28 ทำไมมันแพงมาก แต่ถ้าเรานำไปขายได้แค่ 6 .50 บาท ทางกำนันได้แจ้งมาว่ามีหน่วยงานที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมในการขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ผมก็เลยดีใจแล้วก็ไปปรึกษาทางคณะกรรมการชุมชนได้ข้อสรุปว่าเราต้องมาช่วยกันแก้ปัญหานี้อย่างเข็มแข็ง รวมกลุ่มกันผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ทุ่งเสลี่ยม เป็นโครงการนำร่องโครงการแรกในพื้นที่ ผมก็จะเป็นแกนนำและนำร่องให้กับกลุ่มเกษตรกรของเราต้องทำให้เข้มแข็งและร่วมแรงร่วมใจ เราจะทำให้เป็นตัวอย่าง หน่วยงานของรัฐมาช่วยเราแบบนี้เราก็สามารถจะช่วยกันแก้ปัญหาได้ และเมื่อหมดฤดูทำนาพื้นที่แปลงสาธิตนี้ก็จะว่าง ก็คิดกันว่าจะชักชวนให้กลุ่มแม่บ้านรวมกันมาปลูกผักอินทรีย์ขายและถ้า กอ.รมน.เข้ามาช่วยทำฝายเราอาจขยายไปปลูกผักชนิดอื่นด้วย เช่น แตงกวา ถั่ว ปลูกพืชทุกชนิดที่ทำได้เกิดการขยายตัวในการทำการเกษตร ทำให้เกิดเป็นรายได้ของเกษตรกร ในอนาคตของชุมชนก็มีชื่อเสียงว่าในกลุ่มนี้สามารถในการรวมกลุ่มกันได้ดีไม่มีปัญหาในการทะเลาะเบาะแว้ง เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนอื่นๆ พ.อ.เสมา มังมติ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุโขทัย กล่าวถึงการลงพื้นที่ครั้งนี้ว่า “ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้มอบหมายให้ กอ.รมน.จังหวัดสุโขทัย จัดกิจกรรมสานเสวนาขึ้นในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย เพื่อช่วยเหลือในการแก้ปัญหาของเกษตรกรที่ทำนาในพื้นที่ ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ข้าวมีการปลอมปน การซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวในปัจจุบัน ชาวนาในพื้นที่ ต้องเดินทางไปซื้อที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดตาก ซึ่งมีระยะทางที่ไกล และมีราคาแพง ในด้านการตลาดก็ประสบปัญหาถูกโกงตาชั่งจากพ่อค้าซึ่งปัญหานี้ได้ประสานงานไปทางพาณิชย์จังหวัดให้ช่วยแก้ไขแล้ว สำหรับเรื่องเมล็ดพันธุ์นั้น ชาวบ้านอยากจะทำในลักษณะการพึ่งพาตนเองโดยการทำแปลงสาธิต โดยมี กอ.รมน.เป็นผู้สนับสนุนในการทำโครงการนำร่อง โครงการต่างๆในชุมชนจะทำตามความต้องการของชุมชน เช่นชุมชนนี้อยากทำเรื่องข้าว ทาง กอ.รมน.ก็สนับสนุนเรื่องข้าวชุมชนใครอยากทำเรื่องอ้อย เรื่องมันสำปะหลัง ก็มาบอก ทาง กอ.รมน.ก็จะจัดวิทยากรมาให้ความรู้ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ความสำเร็จของโครงการเสริมสร้างความรักความสามัคคีระดับตำบลระยะ 4 ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนขึ้นอยู่กับความเข็มแข็งของชุมชนเป็นหลัก ทาง กอ.รมน.เป็นให้การผู้สนับสนุน ติดตามโครงการและช่วยแก้ปัญหา การลงพื้นที่ทำให้เราได้รับฟังปัญหาและนำปัญหาไปประสานต่อให้กับหน่วยงานอื่นๆให้เข้ามาช่วยเหลือต่อไป” นางสุรัตน์ พรมอริยะ ประชาชน ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย “ทางกลุ่มแม่บ้านได้รวมตัวกัน เพื่อปลูกผักหลังการทำนาเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ ถ้าทาง กอ.รมน.มาช่วยสนับสนุนเรื่องทุน การรวมตัวกันก็อาจจะขยายจำนวนสมาชิกมากขึ้นเพราะโดยปกติชาวบ้านและผู้สูงอายุก็ปลูกผักสวนครัวกันอยู่แล้ว เป็นการสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง นอกจากการมีอาชีพเสริมแล้วทางกลุ่มอยากได้ความรู้เพื่อมาช่วยในการทำการเกษตรเช่นการทำปุ๋ยอินทรีย์ จะได้ลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายและยังมีอาหารรับประทานในครัวเรือนอีกด้วย” การที่เกษตรกรในตำบลทุ่งเสลี่ยมหันหน้ามาพูดคุยถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนทำให้เกิดเป็นข้อตกลงในการใช้ทรัพยากรร่วมกันซึ่งเป็นกระบวนการที่คนในชุมชนดูแลชุมชนกันเองอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ทำให้ทุ่งเสลี่ยมกลายเป็นชุมชนที่มีความแข็งแรง ในระดับตำบลของจังหวัดสุโขทัย กิจกรรมสานเสวนา ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างความรักความสามัคคีระดับตำบลระยะ 4 ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนในพื้นที่นั้นมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาของชุมชน ชาวบ้านในอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้ตกผลึกร่วมกันที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพขึ้นเองเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างยั่งยืน นอกจากปัญหาเมล็ดพันธ์ข้าวที่จังหวัดสุโขทัยแล้ว ปัญหาภัยแล้งก็นับว่าเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและได้เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำพิจิตรที่ประสบปัญหาภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานที่จังหวัดพิจิตรนั้นมีแม่น้ำพิจิตรที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ทางการเกษตรของชาวพิจิตรซึ่งมีระยะทางตั้งแต่อำเภอเมืองพิจิตรไปถึงอำเภอโพทะเล รวม127 กิโลเมตรแต่ที่ผ่านมาเกิดการตื้นเขินและเต็มไปด้วยวัชพืช ชาวจังหวัดพิจิตรซึ่งมีหัวใจอาสาจึงได้ร่วมกันทำกิจกรรมฟื้นฟูแม่น้ำสายนี้อีกครั้งภายใต้ชื่อว่า”กลุ่มขุนศึกลูกพ่อปู่กอบกู้แม่น้ำพิจิตร” ผู้ใหญ่กี้ สุขประเสริฐ กลุ่มขุนศึกลูกพ่อปู่กอบกู้แม่น้ำพิจิตร กล่าวว่า - เริ่มฟื้นฟูมาตั้งแต่ปี 2557 เริ่มหาวิธีว่าจะทำยังไงให้แม่น้ำกลับมา และได้พบกับรองผอ.รมน.จังหวัดพิจิตรโดยบังเอิญ ก็มาพูดคุยกันถึงเรื่องแม่น้ำพอประชุมเสร็จแล้วมันเป็นการจุดประกายลุยไปที่อาคารบังคับน้ำไปเดินดูว่ามันมีอะไรที่ใช้ได้บ้างไปเจอเครื่องปั่นไฟใช้การไม่ได้ จัดหาช่างในหมู่บ้านมาซ่อมเครื่องปั่นไฟตั้งแต่ 13:00 น ไปจนถึงเกือบ 17:00 น. พอซ่อมเครื่องปั่นไฟเสร็จแล้วเครื่องปั่นไฟติด ลองเดินดูระบบทั้งหมดไปเจอมอเตอร์ 2 ตัวที่ยังใช้งานได้อยู่ก็สามารถเปิดประตูได้ โทรเชิญท่านผู้ว่า โทรแจ้งท่านนายอำเภอแล้วก็ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงมาเปิดน้ำพร้อมกันในวันรุ่งขึ้น เปิดน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าสู่แม่น้ำพิจิตร ยาวลงไปที่อำเภอโพทะเลไปชนกับแม่น้ำยมใช้เวลาถึง 28 วันครับและเริ่มตั้งเป็นกลุ่มคนรักแม่น้ำพิจิตร”กลุ่มขุนศึกลูกพ่อปู่กอบกู้แม่น้ำพิจิตร”แล้วเราก็ได้รับการสนับสนุนจาก กอ.รมน.และกองทัพบกเป็นอย่างดีมาก สนับสนุนเครื่องจักรทำงานครั้งนี้เป็นการขุดลอกปีที่ 2 บริเวณต้นแม่น้ำโดยใช้งบของอุทกพัฒน์ร่วมกองทัพบก" “การฟื้นแม่น้ำพิจิตรไม่ใช่แค่ได้น้ำกลับมาแต่เรายังได้ฟื้นในเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณีกลับมาด้วย เริ่มมีการลอยกระทง มีการนำเรือมาซ่อมซ่อมเพื่อที่จะเอาลงไปแข่งขันกันในวันลอยกระทง เราเห็นความชุ่มชื้นกลับมาแล้ว แหล่งอาหารกลับมา มีคนกลับมาหาปลาในแม่น้ำพิจิตร เราฟื้นแม่น้ำกลับมาเราได้แหล่งอาหารซึ่งเป็นอาหารราคาถูก สองฝั่งแม่น้ำมีการปลูกผักเอาไว้กิน ตำบลเมืองเก่าที่ปลูกส้มโอเยอะๆจากเดิมใช้น้ำใต้ดินซึ่งเป็นน้ำสนิม พอน้ำในแม่น้ำพิจิตรกลับมาเขาเลิกสูบน้ำใต้ดินแล้วครับเอามาใช้น้ำในแม่น้ำพิจิตรซึ่งเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีกว่าสิ่งที่ได้คือความสุข ครอบครัวเราได้เห็นคนอื่นมีความสุข ได้เห็นคนอื่นมีน้ำใช้ ได้เห็นคนอื่นใช้แม่น้ำเป็นแหล่งอาหาร เป็นแหล่งทำกิน นี่คือความสุขของกลุ่มเราครับ” ที่ผ่านมากองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพิจิตรได้ร่วมกับประชาชนอาสาสมัครท้องถิ่นกลุ่มขุนศึกลูกพ่อปู่กอบกู้แม่น้ำพิจิตร ช่วยกันฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรด้วยการเริ่มต้นเข้าไปซ่อมแซมเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อนผ่านประตูระบายน้ำโรงสูบน้ำซึ่งตั้งอยู่ ณ บ้านทุ่งเศรษฐี ต.บ้านขาว อำเภอเมืองจังหวัดพิจิตร จนสามารถรับน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรได้จากนั้นได้ร่วมกันกำจัดวัชพืชบริเวณปากอุโมงค์น้ำและขุดลอกคลองเพื่อให้น้ำไหลเข้าสู่แม่น้ำพิจิตรตามธรรมชาติได้อีกครั้งนั้นเองครับ ปัจจุบันนับเป็นระยะที่ 2 ที่กลุ่มขุนศึกลูกพ่อปู่ก่อนกู้แม่น้ำพิจิตรและหน่วยงานต่างๆได้เร่งพัฒนาฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรอย่างต่อเนื่องซึ่งนอกจากขุดลอกแม่น้ำพิจิตรแล้วยังสร้างฝายกักเก็บน้ำในรูปแบบคอกหมูเพื่อการชะลอน้ำให้ไหลช้าลงและให้น้ำขังอยู่ในพื้นที่ได้อย่างที่สุดเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำน้ำไปใช้ในช่วงฤดูแล้ง ชาวพิจิตรที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำพิจิตรทั้ง 4 อำเภอร่วมกันฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรในทุกๆด้านทำให้แม่น้ำสายนี้เป็นเสมือนแก้มลิงที่บรรเทาปัญหาน้ำท่วมน้ำหลากเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งส่งผลให้ระบบนิเวศโดยรอบพื้นตัวและคืนความสมดุลของห่วงโซ่อาหารในพื้นที่หาพิกัดอื่นทำให้แม่น้ำพิจิตรกลับมามีชีวิตชีวาดังเดิมชาวพิจิตรทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำได้ประโยชน์อย่างทั่วถึงซึ่งเมื่อพิจารณาประโยคต่างๆที่จะตามมาในอนาคต นับว่าเป็นความคุ้มค่าแก่การนำงบประมาณและฟื้นฟูโดยมีพี่น้องชาวพิจิตรเป็นผู้ดูแลรักษาร่วมกันต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจากรายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง5 ทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 21.00-22.00 น.