Disaster Management and Emergency Response ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 พานายอำเภอ 9 อำเภอ เมืองสองแคว ....จับมือ.... ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในจังหวัดพิษณุโลก เตรียมความพร้อมซักซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย (อุทกภัย) ในการช่วยเหลือประชาชน !!! โดยไม่ใช้งบประมาณ... Multi – Agency Coordination เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 พลตรี ทวีศักดิ์ วงศ์ทวีทรัพย์ ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 เป็นประธาน การตรวจความพร้อมและซักซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย (อุทกภัย) โดยการประสานความร่วมมือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ สวนสุขภาพ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ จังหวัดพิษณุโลก, กองพลพัฒนาที่ 3 , กองพลทหารราบที่ 4 , โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก , องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก , เทศบาลนครพิษณุโลก, , ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 9 จังหวัดพิษณุโลก , เทศบาลตำบลอรัญญิก, หน่วยกู้ชีพ - กู้ภัย ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก, ประชาชนจิตอาสาภัยพิบัติจังหวัดพิษณุโลก , นายอำเภอทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก และ ส่วนราชการ หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก นำกำลังพล พร้อมยุทโธปกรณ์ เครื่องมือของหน่วยมาตรวจ ฝึกซ้อมและสาธิตการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติภารกิจร่วมกัน สำหรับ การตรวจความพร้อมและซักซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย (อุทกภัย) แบบประสานความร่วมมือนั้น ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 .. ริเริ่มการฝึกร่วม ระหว่าง หน่วยทหาร, หน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดพิษณุโลก และชมรม/สมาคมกู้ภัยของเอกชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ “ โดยไม่ใช้งบประมาณ ” เป็นการการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ (Full-scale Exercise: FSX) เพื่อเป็นการเตรียมกำลังพล , เจ้าหน้าที่ , ยานพาหนะและเครื่องมือที่หน่วยมีอยู่ให้เกิดความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยที่เกิดขึ้น รวมถึงภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ อีกทั้งยังเป็นการ ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจการบรรเทาสาธารณภัย ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติให้ได้รับความปลอดภัย และสามารถดำรงชีพอยู่ได้ พร้อมเพิ่มทักษะให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายทหาร พลเรือน และภาคประชาชน ในการสนับสนุนและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการ ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติในเรื่องกระบวนการจัดการสาธารณภัยของหน่วยงานทหาร พลเรือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การสาธารณกุศล ภาคเอกชน และภาคประชาชน สามารถนำไปใช้ในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางภัยพิบัติ เน้นความสำคัญในเรื่องของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ คาดว่า จะทำให้เกิดการประสานงานและร่วมมือในการดำเนินงานในภาวะฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว ฉับพลันและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัวในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายให้เกิดการประสานและรวดเร็วสอดคล้องกันและกัน หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริงจะได้ลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยในครั้งนี้ได้จัดการแสดงยุทโธปกรณ์และขีดความสามารถของหน่วยร่วมบูรณาการ โดยเฉพาะการจัดตั้งและการปฎิบัติในกองอำนวยการร่วม เพื่อให้หน่วยต่างๆ ทั้งหน่วยทหาร หน่วยงานภาครัฐ พลเรือน จิตอาสาภัยพิบัติ และภาคเอกชน ทราบขั้นตอนการปฎิบัติ และกำหนดเป็นรูปแบบเพื่อไม่ให้เกิดการสับสนระหว่างการปฎิบัติ ตลอดจนการสาธิตการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยโดยการประสานความร่วมมือระหว่างทหาร ภาครัฐ และมูลนิธิ องค์กร ภาคเอกชน วัตถุประสงค์หลักในการตรวจความพร้อมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ นั้น เพื่อให้มีความพร้อมในการใช้งานจริง รวมถึงการซักซ้อมการจัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ” เพื่อเป็นโมเดลให้ทุกอำเภอได้เห็นภาพการปฏิบัติ ในการเข้าควบคุมเหตุการณ์ทุกครั้ง ที่จะทำให้การปฏิบัติการช่วยเหลือเกิดความเป็นเอกภาพ และ เกิดการบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นขั้นตอน ที่สำคัญ ปฎิบัติการซักซ้อม /สาธิต การปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ จมน้ำ, การข้ามลำน้ำด้วยเชือก, การส่งกลับผู้ป่วย การสาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศด้วยร่มบิน (Paramotor) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เกิดความคุ้นเคยในการทำหน้าที่และการปฎิบัติงานร่วมกัน และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน ทำให้สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้าน ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 เปิดเผยว่า ....การตรวจความพร้อมและซักซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย (อุทกภัย) แบบบูรณาการ ในครั้งนี้ เป็นการฝึกซ้อมร่วมระหว่างหน่วยทหารและฝ่ายพลเรือน เพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการประสานการปฏิบัติในการจัดการสาธารณภัย ซึ่งได้กำหนดการฝึกสาธิตภาคปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ ครอบคลุมการจัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉินในด้านอุทกภัย อาทิ การซักซ้อมการจัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ ” เพื่อเป็นโมเดลให้ทุกอำเภอได้เห็นภาพการปฏิบัติ การจัดตั้งระบบบัญชาการเหตุการณ์และระบบการสื่อสาร การระดมทรัพยากรในการปฏิบัติการ โดยไม่ใช่งบประมาณ ในการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ การปฏิบัติการทางการแพทย์ในการส่งต่อผู้ประสบภัย และการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย ทั้งนี้ การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในศักยภาพและความพร้อมในการเผชิญเหตุและการจัดการสาธารณภัยของหน่วยทหาร พลเรือน ภาครัฐ ด้วย พร้อมทั้งร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม และที่สำคัญยิ่งคือ กระบวนการแจ้งเตือนภัยและติดตามสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและทันเวลา.