วันนี้(23 มิ.ย.63)ที่ห้องประชุมชั้นสองโรงพยาบาลกาบเชิง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานการประชุม ร่วมกับนายเปราะ กุซอล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีนายภูวเดช สุระโครต นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยว ด้านสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ นายแพทย์สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข จังหวัดอุดรมีชัย พร้อมข้าราชการที่เกี่ยวข้อง 30 คน เข้าร่วมประชุมหารือ ระดับบริหารด้านการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย การเฝ้าระวังและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (Provincial Border Health Committee,Surin-Oddar Meanchey)ภายใต้แผนความร่วมมือเพื่อพัฒนาไทย-กัมพูชา สาขาสาธารณสุข ประจำปี งบประมาณ 2563 ซึ่งนายแพทย์ภูวเดช สุระโครต นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ได้รายงานสถานการณ์การ การควบคุมโรค ไข้มาลาเลีย ไข้เลือดออก วัณโรค การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ในพื้นที่จังหวัดจังหวัดสุรินทร์ตลอดจนการเฝ้าระวังโรคติดต่อไทย-กัมพูชา มีแนวโน้มลดลง ด้นนายแพทย์ สาธารณสุขกัมพูชา ได้รายงานถึงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 จังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา มีเจ้าหน้าที่คอยคัดกรอง ประชาชนชาวกัมพูชา ที่เดินทางผ่านชายแดนด่านผ่านแดนโอร์เสม็ด-ช่องจอม มีการวัดอุณหภูมิร่างกาย ไม่ 38 องศาเซนเซียส มีเจลล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย การกักตัว ชาวกัมพูชา เป็นเวลา 14 วัน โดย นายเปราะ กุซอล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ได้จัดให้โรงเรียน หลายแห่ง เป็นที่กักชาวกัมพูชา เพื่อสังเกตเชื้อโรค มีห้องกัก ตัวถึง 50 ห้อง หากคนไหนตรวจพบไข้สูง ก็จะนำเชื้อตัวอย่างไปตรวจละเอียดอีกครั้งที่กรุงพนมเปญ ทางจังหวัดอุดรมีชัย มีการประชาชนสัมพันธ์ให้ประชาชนตามชุมชน หมู่บ้านต่างๆได้ป้องกันตัว และให้ทราบถึงอันตรายของการของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19ให้มีการป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวด ส่วนการข้ามผ่านแดน ทั้งด่านโอร์เสม็ด-ช่องจอม ด่านอัลลองเวง-สะงำ จ.อุดรมีชัย ก็มีเจ้าหน้าที่ตรวจอย่างเข้มข้น ป้องกันการแพร่ระบาด ซึ่งในช่วงปิดด่านที่ผ่านมา มีชาวกัมพูชาเดินทางกลับประเทศ ที่ด่านอัลลองเวง-สะงำ กับด่านโอร์เสม็ด-ช่องจอม มีจำนวน 19,391คน ส่วนใหญ่เดินทางกลับประเทศ ทางด่านโอร์เสม็ด-ช่องจอม มากกว่า ด่านอัลลองเวง ขณะนี้ไม่พบผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดอุดรมีชัย เป็นเวลาหลายเดือนแล้ว ด้านนายเปราะ กุซอล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัยกล่าวว่า ขณะที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กัมพูชา ที่จังหวัดอุดรมีชัย ไม่พบผู้ป่วยมาหลายเดือนแล้ว จึงอยากขอผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในการขอให้เปิดด่านเพื่อช่วยเหลือชาวกัมพูชา ที่ได้รับความเจ็บป่วยเพื่อให้เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ ขณะนี้ไม่มีเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่สองจังหวัด ทางชาวกัมพูชาได้สอถามมาที่ตน ขอให้ช่วยเจรจากับผู้ว่าสุรินทร์ ว่าทำอย่างไรจะข้ามแดนมารักษาตัวได้ ชาวอุดรมีชัย เขาพอจะทราบเรื่องข้ามแดนดี แต่ชาวกัมพูชาอีก25จังหวัด เดินทางมาไกลก็เสียเวลา สอบถามมาที่ตนให้ช่วยเหลือ ซึ่งก็ต้องขอความเห็นใจจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ว่าจะมีแนวทางนำเนินการอย่างไร ส่วนตนนั้นถ้าพบว่าชาวกัมพูชา ใครติดเชื้อโควิด-19 ตนก็ไม่ให้เข้าพื้นที่และไม่ให้ข้ามแดนเด็ดขาด ด้านนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ให้สัมภาษณ์ว่า การพบปะกับกับท่าน ผู้ว่าฯอุดรมีชัย ได้พบปะกันช่วงสถานการณ์โควิด คุยกันเรื่องขอให้เราช่วยเรื่องคนเจ็บป่วยมีความจำเป็นมาหาหมอมาตามนัด แพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งก็ต้องหารือกับสาธารณสุขเพราะเป็นข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ว่าพี่น้องชาวกัมพูชาเจ็บป่วยมาเราจะรับได้อย่างไร แต่ถ้าติดโควิด-19 มาเราไม่รับเด็ดขาด ต้องหารือกระทรวงสาธารณสุขว่ามีแนวปฏิบัติอย่างไร เขาเสนอมาว่า คนจังหวัดอุดรมีชัย ไม่มีใครติดเชื้อเลย สุรินทร์เราก็80 วันไม่มีการติดเชื้อ เขาเสนอว่าน่าจะมีการผ่อนปรนลงมาไหมเฉพาะคนเจ็บคนป่วยที่ข้ามมา เราติดสินใจไม่ได้ ต้องหารือรัฐบาลกระทรวงสามาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องพี่น้องสองจังหวัดต้องทำมาหากิน เรื่องเศรษฐกิจ ต้องได้รับการพิจารณาด้วย ไม่ใช่เอาชนะโควิด แต่ประชาชนเดือดร้อน ต้องหารือกับรัฐบาลว่าจะแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันอย่างไร รัฐบาลจะผ่อนคลายในระยะต่อไป นอกรอบยังได้คุยนอกรอบการเดินทางของชาวกัมพูชาเข้ามาในสุรินทร์ได้ เข้ามาได้สะดวก ทางจังหวัดบางอย่างคุยได้อยู่แล้วแต่ก็ต้องหารือกับรัฐบาล ผมมีโอกาสได้คุยกับ สมเด็จเตีย บัณ รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ท่านแนะนำว่าจังหวัดติดกันให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ได้พูดคุยกันมากขึ้นเพื่อความสัมพันธ์ที่ดี แก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นเรื่องผลกะทบนโยบายก็ต้องรอรัฐบาลตัดสินใจ และที่กัมพูชาขอบคุณทหารไทย กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่สอง ที่ให้การช่วยเหลือชาวกัมพูชา ที่ลักลอบข้ามแดนเข้ามาในไทย ทางช่องทางธรรมชาติ ก็ได้รับการดูแลอย่างดีจากทหารไทยเพราะเสี่ยงกับการแพร่ระบาดของโรค เป็นเรื่องสำคัญ