ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านในเขตเทศบาลตำบลบางปลา และผู้ใหญ่บ้าน ม.1 ต.บ้านเกาะ อ.เมืองสมุทรสาคร นำโดยนายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร ได้ร่วมกับ จนท.กองสาธารณสุข ทต.บางปลา พร้อมด้วยตัวแทนสนง.อุตสาหกรรมจังหวัดฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อออกไปตรวจสอบสภาพบ่อน้ำเสียของโรงงานผลิตกระดาษแห่งหนึ่ง ต.บ้านเกาะ หลังจากได้รับการร้องเรียนจากราษฎร ในพื้นที่ว่า มีการแอบปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานลักษณะรั่วไหลระบายออกลงไปคลองสาธารณะ ทั้งนี้หลังเข้าตรวจสอบเพื่อสำรวจปัญหาของการปล่อยทิ้งน้ำของโรงงานผลิตกระดาษ ดังกล่าว บริเวณโดยรอบโรงงาน ปรากฏว่า มีคันกั้นน้ำที่รอบบ่อกักน้ำ ของโซนโรงงานผลิตกระดาษ มีการพังทลายของดินและน้ำในบ่อล้นทะลักออกที่สาธารณะ ก่อนไหลออกสู่ลงคลองสี่วาพาสวัสดิ์ นอกจากนี้บริเวณรอบโรงงานแห่งนี้ จนท.ยังพบการกองสิ่งปฏิกูล และกองเศษเยื่อกระดาษจากกระบวนการผลิตทิ้งเกลื่อน” “ด้วยเหตุนี้จึงได้ประสานให้ทางอุตสาหกรรมจังหวัดฯ และเทศบาลตำบลบางปลา ออกคำสั่งดำเนินคดีตามกฎหมาย กรณีปล่อยให้น้ำเอ่อล้นออกนอกโรงงาน ที่ถือว่า เป็นการ by-pass น้ำ รวมทั้งเก็บน้ำตัวอย่างไปตรวจสอบคุณภาพน้ำ พร้อมสั่งดำเนินการกับ กองสิ่งปฏิกูล กองเศษเยื่อกระดาษจากกระบวนการผลิต บนพื้นที่ซึ่งไม่มีหลังคาปกคลุม และให้ปรับปรุงซ่อมคันดินให้มีความแข็งแรงมั่นคง ต้องให้แล้วเสร็จในเวลา 30 วัน สำหรับเรื่องปัญหาของด้านประตูน้ำที่เราพบว่า มีการชำรุดจนทำให้มีน้ำทิ้งรั่วไหลออกไปลงคลองสี่วาพาสวัสดิ์ โดยจนท.สั่งให้จัดการให้ดีหรือซ่อมแก้ไขปรับปรุงให้เสร็จภายใน 7 วัน จากนั้นก็ให้ปิดตายอย่างถาวรต่อไป” นายวุฒิพงษ์ นอภ.เมืองสมุทรสาคร เปิดเผยว่า จากตรวจสอบพบคือ คันกั้นน้ำบริเวณรอบบ่อเก็บน้ำของโรงงานมีการพังทลายเนื่องจากน้ำในบ่อล้นออกมา และหลุดออกมาลงคลองสี่วาพาสวัสดิ์ และรอบๆโรงงานมีการวางกองสิ่งปฏิกูล กองเศษเยื่อกระดาษจากกระบวนการผลิต โดยมีอุตสาหกรรมจังหวัด และ ทต.บางปลา ฐานะผู้กำกับเฝ้าดูแลและให้รายงานทางจังหวัดรทราบความคืบหน้าต่อไป “ส่วนคดีตามกฎหมาย (1.) ถูกดำเนินคดีกรณีน้ำเอ่อล้นออกนอกโรงงาน ซึ่งถือว่าเป็นการ by-pass น้ำ และให้เก็บน้ำตัวอย่างไปตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งด้วย (2.) ให้จัดการกับกองสิ่งปฏิกูล กองเศษเยื่อกระดาษจากกระบวนการผลิต ไปอยู่บนพื้นที่มีหลังคาปกคลุมบนกองบนซีเมนต์ (3.) สั่งปรับปรุงคันดินให้ดีมีคุณภาพแข็งแรง ภายในระยะเวลา 30 วัน ( 4.) ให้ดำเนินการนำวัสดุมาปิดกั้นชั่วคราวตรงรอยประตูน้ำที่มีการรั่วไหลออก ภายใน 7 วัน และทำอย่างมาตรฐานถาวร “ซึ่งทั้งหมดต้องรายงานผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมี สนง.อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร หน้าที่กำกับดูแลต่อไป”