งานนี้ต้องปรบมือดังๆให้กับคนไทยทั้งประเทศ ที่รวมพลังกันต่อสู้ โควิด-19 ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ มียอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ติดต่อกันหลายวันเป็นเหตุผลสำคัญทำให้รัฐบาลประกาศผ่อนคลายล็อคดาวน์เฟส 4 และ ยกเลิกเคอร์ฟิวส์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา แต่รัฐบาลยังเน้นย้ำให้ประชาชนดำเนินชีวิตภายใต้วิถีชีวิตใหม่ หรือคำว่า New Normal สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้ง เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในต่างประเทศยังไม่เป็นที่วางใจ เพราะยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งทะยานไม่หยุด โดยสหรัฐเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยบราซิล และรัสเซีย ในฟากฝั่งกลุ่มประเทศเอเชียรวมถึงจีน ได้มีการประชุมระดมสมองวางแผนรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเต็มที่ และสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ แต่ละประเทศปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้รับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ล่าสุดรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ และรัฐมนตรีจากประเทศจีน ได้ประชุม ASEAN-China Year of Digital Economy Cooperation ปีแห่งความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน-จีน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประชุมวิดีโอคอลเฟอร์เรนท์ โดยในส่วนของประเทศไทย โดยมีนายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมนำเสนอเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรับมือกับการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ของจีนและประเทศสมาชิกอาเซียน โดยแต่ละประเทศได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยแก้ปัญหา หรือ อํานวยความสะดวกให้ประชาชน ทั้งนี้ในส่วนของประเทศไทยเริ่มจัดการกับโรคโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เมื่อพบว่า มีผู้ติดเชื้อ หลังจากนั้นจํานวนผู้ติดเชื้อมีจํานวนลดลง จนกระทั่งเดือนมีนาคม ซึ่งมีเหตุการณ์ super-spreader ที่สนามมวยลุมพินี เมื่อจํานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อ ควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 นายพุฒิพงษ์ยอมรับว่า ปัญหาสําคัญในช่วงแรกของการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการ แพร่ระบาดและการรักษาโรคโควิด 19 ซึ่งจะก่อให้เกิดความแตกตื่นและความสับสนกับประชาชน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมี Anti Fake News Center ที่จะช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข่าว แต่ไม่เพียงพอ จึงได้ร่วมกับสตาร์ทอัพสร้าง applicatio Card2U ซึ่งจะให้ข้อมูลจํานวนผู้ติดเชื้อ โรงพยาบาลที่สามารถตรวจเชื้อได้ และประกาศอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นแหล่ง one stop service ที่ประชาชนสามารถมาหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ที่เชื่อถือได้ น อกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ ทํางานร่วมกับ AOT ปรับ application AOT Airport เพื่อใช้เก็บข้อมูลและติดตาม ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งทุกคนจะต้องดาวน์โหลด แอพพลิเคชั่นดังกล่าว และกรอกข้อมูล และเก็บ application น้นไว้ในโทรศัพท์มือถือเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถติดตามได้ และสําหรับภายในประเทศเอง ได้มีการใช้มาตรการการกักตัวใน ระดับจังหวัด ซึ่งได้ใช้เทคโนโลยีเดียวกันในการติดตามผู้ที่เดินทางข้ามจังหวัด เพื่อให้แน่ใจว่าคน เหล่านี้จะไม่ไปแพร่เชื้อในจังหวัดอื่นๆ หลังจากนั้น วันที่ 26 มีนาคม 2563 ประเทศไทยประกาศสภาวะฉุกเฉินสกัดการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีผลให้มีการปิดร้านอาหาร ร้านค้า และสถานบันเทิง ประชาชนต้องทํางานจากที่บ้าน หรือ Work Form Home ดังนั้นเพื่อสนับสนุนนโยบายการ WFH ของรัฐบาล ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ร่วมกับ กสทช และ Operator 5 ราย ช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ต้อง ทํางานที่บ้าน โดยการให้ data บทโทรศัพท์มือถือเพิ่ม 10 GB รวมถึงให้โทรฟรี 100 นาทีเป็นเวลา 45 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมให้ free data เพื่อใช้ประชุมออนไลน์ สําหรับข้าราชการและพนักงานของรัฐโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยวันที่ 17 มีนาคม ประเทศไทยเริ่มผ่อนปรนและมีการเข้าสู่เฟส 2 ธุรกิจต่างๆเริ่มกลับมาเปิดให้บริการ แต่อย่างไรก็ดียังต้องมีการเฝ้าระวัง จึงได้มีการทําแอพพลิเคชั่น “ไทยชนะ” เพื่อให้ประชาชนสามารถสแกน QR code เพื่อ check In check out เมื่อเข้าไปใช้บริการตามห้างร้านต่างๆ เพื่อติดตามผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ในพื้นที่ต่างๆ หากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จะสามารถติดต่อผู้ที่อยู่ในบริเวณเดียวกับผู้ติดเชื้อในเวลา เดียวกัน เพื่อไปตรวจเชื้อได้ ประกอบกับประเทศไทย มีแพทย์ ระบบสาธารณสุขที่เก่ง และความร่วมมือของคนไทย ตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นมา ในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเป็น 0 ติดต่อกันมาหลายวัน รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวด้วยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ ณ วันนี้ ทุกประเทศได้ปรับตัวเข้าสู่ยุคการดำเนินชีวิตหลังโควิด New Normal ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ให้บริการ ร้านอาหาร ห้างร้าน หรือแม้การทํางานดิจิทัลแฟลตฟอร์มจะมีส่วนสําคัญ โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหัวหอกสำคัญที่จะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และสนับสนุนให้คนไทยได้ใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ โดยรัฐบาลพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุน ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการลงทุน เพื่อให้ธุรกิจไทยกลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว นอกจากนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม วางแผนรองรับช่วยเหลือและติดอาวุธด้านดิจิทัลให้นักศึกษาจบใหม่ป้ายแดง ไม่ว่าจะจบการศึกษาจากสาขาไหน สามารถอบรมเรียนทักษะด้านดิจิทัล การค้าขายออนไลน์ การทํากราฟฟิคได้ โดยตั้งเป้า 50,000 คน หากสมัครและผ่านเกณฑ์จะอบรมให้ 3 เดือน โดยให้เงินเดือนละ 10,000 บาท เพื่อให้นักศึกษาที่จบปริญญาตรีแต่ยังหางานไม่ได้ ได้มาเรียนและมีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มเติม ขณะนี้ได้นำเสนอแผนงานไปยังสภาพัฒน์ และอยู่ระหว่างการพิจารณา รวมถึงการทํา Cloud เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลต่างๆทั้งหน่วยงานราชการ และถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะพัฒนาระบบคลาวด์ของตัวเองขึ้น เพื่อให้บริษัทไทยไม่ต้องไปเช่า Cloud ของต่างประเทศเหมือนในอดีต แม้วันนี้ประเทศไทยจะผ่อนคลายมาตรการ ปลดล็อคเฟส 4 หลายธุรกิจกลับมาเปิดให้บริการมากขึ้น ขณะที่ทางการแพทย์ทั่วโลก ยังมุ่งมั่นคิดค้นผลิตวัคซีนเพื่อจัดการกำหราบควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ให้อยู่ในวงจำกัด ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ประชาชนยุค New Normal ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องคือ การ์ดต้องไม่ตก ทุกคนยังต้องระมัดระวัง ทั้งการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้อโควิด-19 หากก้าวข้ามสิ่งเหล่านี้ได้ ทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติได้อย่างเร็วที่สุด.