ชาวบ้านลำพะยา เดือดร้อน ขอความเป็นธรรม หลังชลประทานเตรียมเวนคืนที่ดินและจ่ายค่าชดเชยไร่ละแสนกว่าบาท เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากกรณีที่ได้มีชาวบ้านตำบลลำพะยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ร้องสื่อมวลชนในพื้นที่ว่า ว่าได้รับความเดือดร้อน จากกรณีชลประทานจังหวัดยะลา เตรียมเวนคืนให้ออกจากที่ทำกินของตนเองที่อยู่มานานหลายสิบปี และจ่ายค่าชดเชยให้ไร่ละหนึ่งแสนสองหมื่นบาท เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยา โดยพื้นที่โครงการทั้งหมด 1,543ไร่ ซึ่งต้องเวนคืนที่ดินของชาวบ้านในพื้นที่ 1,129ไร่ นางกัลยา ไชยรัตน์ ผู้ได้รับผลกระทบกล่าวว่า ในปี 2546 มีการนัดประชุม แต่ไม่ได้บอกเจ้าของที่ดินให้รู้ โดยนัดประชุมกันที่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และบอกเพียงจะให้ค่าตอบแทนค่าต้นผลไม้และต้นยางพาราภายในสวน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. นายอำเภอ หัวหน้าชลประทาน โดยตนได้ถามว่าไม่ขายได้หรือไม่ เขาตอบว่าไม่ได้จะใช้กฎหมายเวนคืนมาบังคับ ต่อมาก็มีการประชุมมาเรื่อยๆ และจะให้ขายให้ได้ และบอกว่าถ้าไม่ให้รังวัดตอนนี้ต่อไปถ้าจะทำรังวัด จะต้องจ่ายเงินเองแปลงละ3,000บาท ต่อมาได้มีการนัดประชุมกันจังหวัดปัตตานี โดยมีคณะกรรมการสิทธิ์มนุษย์ชนเข้าร่วมประชุมด้วย เขาบอกให้ปรับปรุงเขื่อนและฝายน้ำในลำพะยาที่มีอยู่ก่อนแล้ว และให้ชี้แจงกับชาวบ้านว่าหากสร้างอ่างเก็บน้ำจะให้คูส่งนำไปทางไหน แต่กรมชลประทานก็ไม่ได้ชี้แจง ล่าสุดกรมชลประทานก็ได้ให้เจ้าหน้าที่เข้ามารังวัดที่ดิน ขอซื้อจากชาวบ้าน คนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เขาก็กลัวว่าจะไม่ได้เงินก็เลยยอม โดยชาวบ้านในละแวกนี้มีเอกสารสิทธิ์ไม่กี่คน ตนเองมีความเดือดร้อนเพราะมีลูก 4 คน มีที่ดินอยู่ 47ไร่ ต้องแบ่งให้ลูก 4 คนซึ่งถ้าโดนเวนคืนก็จะไม่มีที่ทำกิน ด้าน นายสุพันธ์ คล่องดี ผู้ได้รับผลกระทบอีกราย กล่าวว่า ที่ของตนอยู่ตรงกลางอ่างเก็บน้ำที่กำลังจะสร้าง ได้เคยบอกหัวหน้าชลประทานไปว่าให้หาที่อยู่ใหม่แต่ก็เฉยมาจนทุกวันนี้ อยู่ๆก็มีรถมาปรับที่ แต่ตนได้ถ่ายรูปลงเฟสบุ๊คโพสถึงความเดือดร้อนว่า ตน พ่อแม่และคนอื่นที่ต่อสู้จะอยู่ยังไง เขาได้รับความเดือดร้อนกันทุกคนจะให้ไปทำกินตรงไหน ซึ่งทางชลประทานจะเหมาจ่ายให้ค่าเวนคืนที่ดินไร่ละหนึ่งแสนสองหมื่นบาท ตนเองไม่สบายใจเพราะที่ดินทำกินก็หมด บ้านก็ไม่มี เขาอ้างว่าต้องการใช้น้ำเยอะ ผมถามกลับว่าคนที่ต้องการใช้น้ำทั้งเมืองยะลา เห็นใจคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยบ้างไหม คนที่ไร้บ้าน จะให้เราไปอยู่ตรงไหน เพราะตามสิทธิชาวบ้านที่ได้รับคือจะต้องอยู่บนเขื่อน 15 กิโลเมตร น้ำไฟฟ้าประปาการเดินทางต้องเหมือนเดิมทุกอย่าง ตนอยากให้ความชอบธรรมตรงนั้นกลับคืนมา อยากติดต่อให้เข้ามาคุยว่าจะหาทางออกกันยังไง เพราะชาวบ้านที่อยู่กันตรงนี้ก็พอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่ หากไม่มีที่อยู่ที่ทำกินก็ต้องเริ่มใหม่ทุกอย่าง อยากให้เอาใจเขามาใส่ใจเราไม่ใช่อ้างแต่กฎหมายเพียงอย่างเดียว โดยโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยา ถูกเสนอโดยชลประทานยะลาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งในขณะนั้นชลประทานให้ข้อมูลว่าพื้นที่ดังกล่าว มีเพียงการเกษตรที่ปลูกมะนาว กล้วย พริก และสัปปะรด และชาวบ้านก็เดือดร้อนจากสภาวะขาดน้ำ ซึ่งขัดกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันเพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การทำเกษตรขนาดใหญ่ ทั้งส่วนผลไม้และยางพารา โดยปัจจุบันมีฝายทดน้ำอยู่บริเวณเหนือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเขื่อนเดิมที่ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 เมื่อครั้งที่ชาวต่างชาติได้เข้ามาทำกิจการเหมืองแร่ดีบุก ส่วนพื้นที่ด้านล่าง ก็มีฝายลำพะยา แต่ทั้งสองส่วนก็มีการบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดีมากนัก ชาวบ้านจึงได้คัดค้านการทำอ่างเก็บน้ำลำพะยามาโดยตลอด โดยได้มีการยื่นหนังสือถึงจังหวัดยะลา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน กรมชลประทาน และถวายฎีกา เพราะไม่เห็นด้วยกับโครงการ จนมีการแจ้งจากทางการว่าได้มีการชลอโครงการไปแล้ว แต่เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2561 ทางจังหวัดกับเรียกประชุมอีกครั้ง เพื่อให้ชาวบ้านมารับทราบแนวทางการชดเชยค่าเวนคืน ทั้งนี้โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยา วางแผนเริ่มดำเนินการในปี 2561ไปถึงปี 2564 งบประมาน 990 ล้านบาทในการสร้าง ด้าน นายชูศักดิ์ สุทธิ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดยะลา ชี้แจงว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดกลาง เริ่มต้นเมื่อ 23 กันยายน พ.ศ.2523 ครั้งรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรดครงการฝายลำพะยา ได้พระราชทานพระราชดำริสรุปความว่า ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยาที่บริเวณบ้านทองล้น ตำบลลำพะยา เพื่อกักเก็บน้ำไว้สนับสนุนการทำการเกษตรและเพื่อการบรรเทาอุทกภัย และต่อมาเมื่อวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ.2547 พระไพศาลคุณาการ เจ้าอาวาสวัดลำพะยา ได้ถวายพระพรเรื่องขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำลำพะยา จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 กรมชลประทานได้พิจารณาความเหมาะสมทางด้านเทคนิคและทางด้านวิศวกรรมและกำหนดจุดก่อสร้าง โดยเป็นเขื่อนดินถมบดอัดแน่นแบบแบ่งโซน มีความยาว1400เมตร สันทำนพกว้าง 8 เมตร สูง 33 เมตร มีพื้นที่รับน้ำฝน 20.8 ตารางกิโลเมตร มีปริมานน้ำไหลผ่านหัวงาน 13 ล้าน 3 แสน 6หมื่นลูกบากค์เมตรต่อปี เมื่อสร้างเสร็จสามารถกักเก็บน้ำ 13.28 ล้านลูกบากค์เมตร ก็จะส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ตำบลลำพะยา ตำบลลำใหม่ และตำบลพร่อน อ.เมืองยะลา พื้นที่ 8 พันกว่าไร่ เป็นแหล่งเก็บน้ำให้อุปโภคบริโภคได้690 ครัวเรือน โดยในช่วงกุมภาพันธ์ถึงเมษายน น้ำก็จะมีปริมานน้อย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปรง ซึ่งช่วงดังกล่าวจะทำให้ขาดแคลนน้ำ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งสำรองน้ำให้กับฝายที่อยู่ต่อๆไป ซึ่งในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนจะน้ำแห้ง เพราะสามารถจุน้ำได้ 5 หมื่นถึง 8 หมื่นลูกบากค์เมตร ไม่เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค ในส่วนของค่าชดเชยและผลอาสินนั้น ทางกรมชลประทานได้มีการพูดคุยกับชาวบ้านตำบลลำพะยามาแล้วหลายครั้ง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าชลประทาน ประธานสภาเทศบาล หัวหน้าฝ่ายทะเบียนที่ดิน หัวหน้าฝ่ายกฎหมายที่ดิน เจ้าหน้าที่จัดหาที่ดิน เป็นกรรมการกำหนดราคา ส่วนเรื่องสุสานจีนที่อยู่ในบริเวณ ทางกรมชลประทานก็ได้เข้าไปเจรจาพูดคุยกับผู้ได้รับผลกระทบแล้ว โดยจะมีการย้ายสุสานทั้ง100ราย โดยคณะกรรมการชดเชยค่าที่ดินและผลอาสินได้กำหนดย้ายให้ไปอยู่บนเนินบริเวณเหนือเขื่อน โดยจะมีค่าชดเชยและมีที่ดินรองรับอยู่แล้ว และมีซินแสมาทำตามประเพณีให้ สำหรับในส่วนผู้ไม่เห็นด้วยกับโครงการ ทางกรมชลประทานเองโดยสำนักก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 16 ได้ทำหนังสือไปยังกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง เพื่อขอออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อจะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยา ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม 2562 ความคืบหน้าก็อยู่ที่การทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา เพื่อจะออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ได้รับผลกระทบเพราะสามารถอุทธรณ์ราคากับศาลปกครอง หากไม่พอใจในการประเมินราคาของกรมชลประทานหากเห็นว่าราคาประเมินต่ำไปรึราคาจริงสูงกว่านี้ก็สามารถอุทธรณ์ราคาได้