นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า... “คลิปซูเปอร์โฮลดิ้งที่ไม่ได้ฉาย” . ? สำนักข่าว อีไฟแนนซ์ไทย รายงานว่า . เมื่อวันที่ 25 พ.ค. นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) โพสต์เฟซบุ๊กเผยถึงเบื้องหลังการเสนอร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้ง ‘บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ’ ที่เรียกกันว่า Super Holding Company . เพื่อให้เป็น ‘องค์กรเจ้าของ’ คอยกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ 13 แห่ง เลียนแบบองค์กรความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) เช่น Temasek ของสิงคโปร์, Khazanah Nasional ของมาเลเซีย ฯลฯ . ? นายบรรยงกล่าวว่า สมาชิกส่วนใหญ่ของ สนช. ไม่เห็นด้วย “ประกอบกับมีการประกาศต่อต้านจากกลุ่ม NGO ขาประจำที่อ้างความรักชาติ-สมบัติชาติเป็นเหตุผลไม้ตายเสมอมา” ร่างกฎหมายก็เลยถูกตัดทอนสาระสำคัญออกไปเกือบทั้งหมด . “น่าเสียดาย.. ผู้นำที่ไม่ได้มีความมุ่งมั่นทางการเมือง (Political Will) ที่แข็งแรง และไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเพียงพอเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะทำ พอถูกทักโน่นทักนี่ก็เลยล้มเลิกความตั้งใจที่จะทำเรื่องยากเอาง่ายๆ ทำแต่สิ่งเล็กน้อยเป็นเพียงลูบหน้าปะจมูกไป” . ? ในประเด็นนี้ ผมวิเคราะห์ว่านายบรรยงกล่าวถึงพลเอกประยุทธ์ . นายบรรยงบรรยายด้วยว่า ตนได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะทำงานเตรียมการจัดตั้ง Super Holding Company จึงได้ไปจัดทำคลิปวีดีโอเพื่อเผยแพร่ เพื่อโน้มน้าวประชาชนให้สนับสนุน Super Holding Company . ? แต่ฉายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือในการประชุม คนร. เพราะพอฉายเสร็จ “ท่านผู้นำหัวโต๊ะซึ่งวันนั้นบังเอิญอารมณ์บ่จอย ไม่รู้หงุดหงิดอะไรมา ตบโต๊ะประกาศเลยว่า . “ไม่เอาๆ ไม่ได้เรื่องเลย ทำไมไปตำหนิคนเขาเยอะแยะ เนื้อหาไม่สร้างสรรค์อะไรเลย โยนทิ้งไปเลย เดี๋ยวผมคิด ผมเขียนให้ใหม่เองก็ได้ เอาแบบให้มันสร้างสรรค์ๆ” . ซึ่งท่านคงกำลังนึกถึงเพลงของท่าน! . ? ในประเด็นนี้ ผมวิเคราะห์ว่านายบรรยงกล่าวถึงพลเอกประยุทธ์อีกเช่นกัน . ? ถามว่า กลุ่ม NGO ขาประจำที่นายบรรยงอ้างถึงเป็นใคร? . ? น่าจะเป็นผม และคุณรสนา โตสิตระกูล เรื่องจากไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการที่พิจารณาร่างกฎหมายนี้ . ผมเองเขียนหนังสือ Thailand RESET เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2560 เรียกร้องให้มีการปฏิรูปเรื่องนี้อยู่แล้ว ดังนี้ . ✍️ “รีเซทรัฐวิสาหกิจ (State Enterprse RESET) . ถามว่า ถ้าเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง จะมีวิธีบริหารเศรษฐกิจรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้นได้อย่างไร . คำตอบคือ จะต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ดังนี้ . 1 สำรวจกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน (State Non Competition) . รัฐจะต้องสั่งให้ทุกรัฐวิสาหกิจทำการสำรวจครั้งใหญ่เพื่อค้นหากิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน โดยจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาเพื่อพิจารณาเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาเรื่องนี้ . ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาอาจมีหลายทาง เช่น ให้รัฐวิสาหกิจยกเลิกกิจกรรมดังกล่าว ให้รัฐวิสาหกิจประมูลขายกิจการดังกล่าวออกไป หรือให้รัฐวิสาหกิจประมูลขายบริษัทลูกออกไป เป็นต้น . 2 เพิ่มความโปร่งใสในการบริหารรัฐวิสาหกิจ (Open State Enterprises) . เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีการทำกิจกรรมในเชิงธุรกิจ จึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐวิสาหกิจในทุกๆ ด้าน . จึงควรกำหนดให้ทุกรัฐวิสาหกิจต้องเปิดเผยข้อมูลในเว็บไซต์ของตนเองอย่างละเอียด เช่น . -รายงานการประชุมคณะกรรมการ ทั้งของรัฐวิสาหกิจและบริษัทลูก . -รายชื่อบริษัทที่ซื้อหรือขายกับรัฐวิสาหกิจและบริษัทลูก 10 รายแรก . -ให้บริษัทที่ซื้อหรือขายกับรัฐวิสาหกิจและบริษัทลูก 10 รายแรกดังกล่าว จะต้องแถลงการณ์ทุกปี เพื่อยืนยันว่า ในการใช้จ่ายเงินของบริษัทเหล่านี้ในการจัดซื้อจัดจ้างไปยังบริษัทเอกชนต่างๆ อีกทอดหนึ่งนั้น มีผู้บริหารหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เกี่ยวข้องกับบริษัทที่รับเงินในการจัดซื้อจัดจ้างอีกทอดหนึ่ง หรือไม่ อย่างไร . -นอกจากนี้ กรณีที่รัฐวิสาหกิจยืนยันว่า ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการบางอย่างผ่านบริษัทลูก และยังไม่สามารถยุติกิจกรรมนั้นได้นั้น หรือยังไม่สามารถยกเลิกบริษัทลูกได้นั้น ควรกำหนดให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่า กิจกรรมในบริษัทลูกดังกล่าวในแต่ละปี มีอย่างใด และให้เปิดเผยรายชื่อผู้ซื้อและผู้ขายรายใหญ่ 10 รายแรกเช่นเดียวกัน” . ? ผมจึงสนับสนุนให้ปรับปรุงการบริหารรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว แต่คัดค้านการจัดตั้ง Super Holding Company ที่จะเน้นทิศทางรัฐวิสาหกิจไปในเชิงธุรกิจเอกชน เพราะผมเกรงว่าจะยิ่งทำให้นักการเมืองแทรกแซงง่ายขึ้น ไม่ต้องไปแทรกแซงแต่ละรัฐวิสาหกิจ แต่แค่แทรกแซง Super Holding Company ที่เดียวก็พอแล้ว . ส่วนการทำงานแบบธุรกิจเอกชนนั้น รัฐไม่ควรเข้าไปยุ่ง หรือขยายบทบาทมากเกินไป แต่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเอกชนกันเอง . นอกจากนี้ ผมยกตัวอย่างการบริหาร Sovereign Wealth Fund ในบางประเทศที่เป็นช่องทางคอร์รัปชันใหญ่โต เช่น กรณี 1MDB ของมาเลเซีย เป็นต้น . ⚠️ สุดท้าย คณะกรรมาธิการจึงได้กรุณาปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อกระชับการกำกับดูแลให้รัดกุมมากขึ้น แต่ตัดเรื่องการจัดตั้ง Super Holding Company ซึ่งในอนาคตจะเปิดช่องให้นักธุรกิจที่หากินกับนักการเมืองเข้ามาหาประโยชน์ส่วนตนกันยกใหญ่ อันจะเป็นอันตรายต่อประเทศ คณะกรรมาธิการตัดส่วนนี้ทิ้งไป . ในเรื่องนี้ ผมเชียร์พลเอกประยุทธ์เต็มที่ครับ เพราะปิดช่องทางหาประโยชน์เชิงธุรกิจเอกชนไปได้อย่างเรียบร้อย