แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมเผยว่า กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 133/2563 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน 5จีแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ,ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และนายวิษณุ เครืองาม เป็นรองประธาน ส่วนกรรมการคนอื่นๆนั้นมาจากรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆทั้งกระทรวงการคลัง,กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา,กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,กระทรวงคมนาคม,กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม,กระทรวงพาณิชย์,กระทรวงมหาดไทย,กระทรวงสาธารณสุข,กระทรวงอุตสาหกรรม,เลขาธิการกสทช.,เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก,เลขาธิการสภาพัฒน์นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย,ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 จี ของประเทศ ในส่วนของการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5 จี ภายหลังจากที่ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมมีการประมูลคลื่นความถี่และมีการลงทุนขยายโครงข่ายในพื้นที่ต่างๆ ไปแล้ว โดยยืนยันจะไม่ไปก้าวล่วงอำนาจของ กสทช.ในส่วนของการบริหารจัดการคลื่นความถี่แต่อย่างใด มีแต่จะให้การสนับสนุนการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หรือนำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ถูก กสทช.เบรกอ้างว่า ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ โดยมาเห็นการจัดการศึกษาออนไลน์ในยุคโควิด-19 ที่กระทรวงศึกษาให้ทุกโรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพิ่อให้สอดรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แค่การถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ที่ปูพรมไปทั่วประเทศก็เกิดปัญหา ทั้งจากความไม่พร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง ที่ต้องนั่งเฝ้าหน้าจอทีวีคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ทั้งความไม่พร้อมของโรงเรียนสถานศึกษาในท้องถิ่นพื้นที่ห่างไกลหรือแม้แต่ในเขตเมืองไกลปืนเที่ยงเองก็ตาม และโดยเฉพาะความไม่พร้อมของ infrastructure ทั้งเน็ต WiFi เน็ตประชารัฐที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ จนทำให้กระทรวงศึกษาไม่สามารถจะนำเอานโยบายการจัดการเรีบนการสอนแบบออนไลน์มาใช้ได้ สำหรับการเฝ้าระวัง ตรวจสอบอย่างใกล้ชิดในชุมชนทั่วประเทศ จากการทำงานของกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.‘นักรบเสื้อเทา’ ที่มีอยู่กว่า 1 ล้าน 5 หมื่นราย จึงมีความสำคัญสูงสุด ในการสกัดกั้นการระบาดในระลอกที่ 2 ไม่รู้นโยบายยกระดับการศึกษาสู่ระบบออนไลน์ของประเทศไทยจะได้เรียนรู้ความสำเร็จจาก อสม.ออนไลน์นี้หรือไม่ ทั้งนี้การตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนกันมาอีกกี่ชุด แต่หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่รู้จักการบูรณาการการใช้ประโยชน์ จัดเทคโนโลยีที่แท้จริงไม่เป็นอย่างที่อยากให้เป็น งานก็ไม่เดินหน้าไปอย่างที่ควรที่ขณะนี้โควิด-19 ยังอยู่กับเราอีกนานจนต้องมีการปรับตัว ต่อยอดใช้ประโยชน์รับ New Normal