U.S.Embassy Bangkok ได้โพสต์ข้อความบนเพจเฟสบุ๊คระบุว่า ไทยเหมาะเป็นที่ตั้งของห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ มั่นคง และคุ้มค่าการลงทุน โดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “เราจะรู้ว่าใครเปลือยกายว่ายน้ำก็ต่อเมื่อน้ำลงแล้วเท่านั้น” โชคร้ายที่ต้นปี 2563 เป็นช่วงน้ำลงสำหรับบรรดาบริษัทระดับโลกที่ถูกถาโถมด้วยการล็อกดาวน์เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่จีนและลุกลามไปสู่การปิดหรือจำกัดการดำเนินกิจการของบริษัทในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก วิกฤตการณ์นี้เผยให้เห็นจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทานในบริษัทระดับโลกจำนวนมาก อย่างไรก็ดี วิกฤตการณ์มักกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในโลกธุรกิจ หลายกิจการในสหรัฐอเมริกา ไทย และทั่วโลกกำลังมองไปยังอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น และวางแผนเพื่อฟื้นฟูธุรกิจและกลับมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมหลังช่วงวิกฤตนี้ผ่านพ้นไป ส่วนสำคัญของกระบวนการดังกล่าวคือ บริษัทต่าง ๆ กำลังทบทวนการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และการจัดการห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง รวมทั้งคุ้มทุนในเวลาเดียวกัน ห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัยมีอยู่ในนานาประเทศที่เป็นมิตรและพันธมิตรซึ่งต่างยึดมั่นในความโปร่งใส โอกาสที่เป็นเอกเทศ และตลาดเสรีที่ปราศจากการครอบงำของรัฐ ห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อถือได้มีอยู่ในนานาประเทศที่สื่อมีเสรีภาพและความเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีระบบศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ ซึ่งต่างยึดถือหลักนิติธรรมและหลักความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา และห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงมีอยู่ในนานาประเทศที่บริษัทต่าง ๆ ปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์หรือการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา ความยึดมั่นในเสรีภาพ หลักนิติธรรม และระบบตุลาการที่เป็นอิสระทำให้สหรัฐอเมริกามีบรรยากาศการลงทุนที่ดีและน่าสนใจ ซึ่งดึงดูดบริษัทจากทั่วโลก ทว่าบริษัทที่ต้องการเข้าถึงตลาดต่างประเทศให้มากขึ้นมีตัวเลือกที่เด่นชัดเพื่อขยายการลงทุนในภูมิภาค ทั้งนี้ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก บริษัทอเมริกันกำลังให้ความสนใจประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าที่อื่น ๆ เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งของอาเซียนที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความคุ้มทุน โอกาสในอนาคตดูสดใสยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากอาเซียนจะกลายเป็นตลาดระดับภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 30 ปี ใจกลางของอาเซียนคือประเทศไทย อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ตลอดจนเป็นพันธมิตรด้านสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย และเป็นพันธมิตรหลักนอกสนธิสัญญานาโตเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ในปีนี้นับเป็นวาระครบรอบ 187 ปีที่ราชอาณาจักรไทยลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ของสหรัฐฯ อันเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเราสองประเทศ ซึ่งงอกงามมาจนถึงทุกวันนี้ บริษัทอเมริกันหลายร้อยบริษัทได้ลงทุนในไทย โดยสร้างงานให้คนไทยหลายหมื่นคนและยังประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับทั้งสหรัฐฯ และไทย ธุรกิจของเราที่ชื่อคุ้นหูมีมากมาย ทั้งซิตี้แบงก์ เชฟรอน และฟอร์ด ซึ่งต่างก็ดำเนินการในไทยมาหลายทศวรรษและยังคงเชื่อมั่นว่าไทยเป็นที่ตั้งที่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน มีธุรกิจอื่น ๆ อีกมากที่เพิ่งจะเข้ามาหรือเพิ่งจะขยายการดำเนินงานในไทย ไม่นานมานี้ บริษัทอเมริกันด้านการผลิตวัสดุขั้นสูงแห่งหนึ่งได้เลือกที่จะตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่ประเทศไทยหลังจากวิเคราะห์ตัวเลือกทั้งหมด 24 แห่งในภูมิภาคนี้ บริษัทการ์เดียน กลาส ธุรกิจชั้นแนวหน้าด้านการผลิตกระจกประหยัดพลังงานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่น ๆ ดำเนินการผลิตในไทยมาตั้งแต่ปี 2534 และในปีที่แล้ว ได้เลือกกรุงเทพมหานครเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำเอเชีย-แปซิฟิก เนื่องจากไทยมีชื่อเสียงที่ดีทั้งในด้านการต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ มีเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังขยายตัว และเป็นสถานีการส่งออกไปยังทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทอลิอันซ์ ลอนดรี้ ยังได้เปิดโรงงานในต่างประเทศแห่งล่าสุดที่ไทยเมื่อปีที่แล้ว โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ก้าวหน้าของไทยในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่น่าสนใจ และผลงานด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ผ่านมาซึ่งทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค บริษัทซีเกท ซึ่งดำเนินการในไทยมากว่า 30 ปี ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ทุกวันนี้บริษัทได้ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งในการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและวิชาการในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้บริษัทซีเกท คงตำแหน่งผู้นำระดับโลกด้านการผลิตฮาร์ดไดร์ฟไฮเทคและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำสมัยอื่น ๆ เมื่อผมสอบถามบริษัทเหล่านี้ว่าเหตุใดจึงเลือกประเทศไทย พวกเขาต่างตอบว่า ลักษณะการผลิตในไทยมีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง ในขณะเดียวกันก็ยังมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ทั้งด้านต้นทุนที่ดิน ค่าแรง และค่าครองชีพ ตัวอย่างเช่น ค่าแรงเฉลี่ยรายเดือนสำหรับภาคการผลิตในไทยต่ำกว่าจีนมากกว่าร้อยละ 50 โดยอ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ นอกจากนี้ การเริ่มต้นการดำเนินธุรกิจในไทยยังไม่ซับซ้อนอีกด้วย ในเดือนกุมภาพันธ์ U.S. News and World Report จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 1 ของประเทศที่เหมาะกับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดจากการสำรวจประจำปี 2563 โดยมีเกณฑ์การตัดสิน 5 ประการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล ระเบียบราชการ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ความเชื่อมโยง และการเข้าถึงเงินทุน นอกจากนี้ ไทยเป็นที่รู้จักดีในด้านคุณภาพของระบบการสาธารณสุข ซึ่งรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้อย่างน่ายกย่อง เช่นเดียวกับโรงเรียนนานาชาติระดับแนวหน้าของโลกที่มีให้เลือกมากมาย ทั้งยังมีสถานที่ทางวัฒนธรรมและท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและงดงามที่สุดในโลกหลายแห่ง ตลอดจนมีอาหารที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเลิศรส ไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะอยู่แบบเพียงคนเดียวหรือเป็นครอบครัว ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงกฎระเบียบที่เป็นมิตรกับธุรกิจผ่านการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 กิจการของสหรัฐฯ ในไทยชื่นชมรัฐบาลไทยเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความยืดหยุ่นในการอนุญาตให้โรงงานผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น ในขณะที่อีกด้านก็บังคับใช้มาตรการสาธารณสุขที่เข้มข้นเพื่อชะลออัตราการติดเชื้อ ธุรกิจอเมริกันยังแสดงความประทับใจที่รัฐบาลไทยได้แจ้งข้อบังคับใหม่ล่วงหน้า ส่งผลให้สามารถวางแผนสำรองได้อย่างเหมาะสม ราชอาณาจักรไทยดำเนินการในแง่มุมเหล่านี้ได้อย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับชาติอื่นในเอเชีย นอกจากนี้ ผมขอชมเชยรัฐบาลไทยที่ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนต่าง ๆ ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งยังมอบสิทธิประโยชน์ที่สร้างแรงจูงใจสำคัญให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งนี้บรรดาบริษัทในโครงการดังกล่าวมีข้อได้เปรียบในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของทวีปเอเชีย นับตั้งแต่ที่ผมได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่มาจากภาคเอกชนเป็นคนแรก ผมได้หารืออย่างกว้างขวางกับธุรกิจทั้งของสหรัฐฯ และไทย เพื่อหาวิธีที่เราจะสามารถกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของสองประเทศได้ ณ ช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์นี้ ขณะที่ทั่วโลกต่อสู้กับผลที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 สหรัฐฯ ต้องการเห็นไทยคว้าโอกาสที่จะได้ส่วนแบ่งในห่วงโซ่อุปทานโลกที่ไทยสมควรจะได้รับ ประเทศไทยสามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ด้วยการประกาศให้กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศรับทราบทั่วกันว่าไทยยังคงยึดมั่นในวิสาหกิจเสรี การค้าที่เป็นธรรม ตลาดที่เปิดกว้าง ความโปร่งใส ตลอดจนแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจที่สุจริต นอกจากนี้ ไทยยังสามารถส่งเสริมให้กำลังแรงงานในประเทศมีความน่าสนใจมากขึ้น ด้วยการดำเนินการหลายประการเฉกเช่นที่เรากำลังพยายามทำในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับหลักสูตรของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาเพื่อเน้นทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (สะเต็ม) รวมถึงเสนอให้มีการฝึกอบรมการทำงานใหม่ และ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เพื่อพัฒนาทักษะให้กับแรงงานที่มีอยู่ สำหรับงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ โดยอาจมีผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอภายในประเทศ ไทยควรอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ ว่าจ้างชาวต่างชาติที่มีความชำนาญ เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายโอนองค์ความรู้ขั้นสูงให้แก่พลเมืองไทย และเพิ่มจำนวนคนไทยที่มีทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก อันจะทำให้ชาวไทยสามารถประกอบอาชีพเหล่านั้นได้ในอนาคต แทนที่จะต้องว่าจ้างชาวต่างชาติ ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากจุดพลิกผันไปสู่การทำงานทางไกลและธุรกิจดิจิทัลที่เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการรับมือกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ไทยควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการยกระดับธุรกิจดิจิทัลในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ ตั้งแต่การเงินไปจนถึงการเกษตร รวมทั้งคุ้มครองธุรกิจเหล่านั้นให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยข้อปฏิบัติต่าง ๆ การปกป้องบริษัทจากการโจรกรรมทางไซเบอร์ยังจะเน้นย้ำถึงข้อได้เปรียบที่ไทยมีมากกว่าประเทศอื่นที่เป็นแหล่งของการโจมตีในลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ ไทยยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจดิจิทัล โดยการเข้าร่วมในระบบภายใต้กรอบการควบคุมความเป็นส่วนตัวข้ามพรมแดนของเอเปค (APEC Cross-Border Privacy Rules) ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลสามารถไหลเวียนได้อย่างเสรีและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท้ายสุดนี้ ไทยสามารถรักษาและพัฒนาแหล่งพลังงานที่มีอยู่หลากหลาย ตลอดจนใช้ศักยภาพในการส่งพลังงานได้อย่างคุ้มทุนและเต็มกำลัง เพื่อจำหน่ายพลังงานที่เชื่อถือได้และราคาไม่แพงภายในประเทศ ไทยมีโอกาสอันยอดเยี่ยมเพราะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ได้พัฒนาขนาดใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งในอ่าวไทย จึงสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติราคาไม่แพงได้ไปอีกหลายชั่วอายุคน นอกจากนี้แล้ว ในระยะสั้น การดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางในการค้าขายและขนส่งพลังงานในภูมิภาค จะมีส่วนอย่างมากต่อการทำให้เศรษฐกิจไทยมีอุปทานพลังงานที่มีเสถียรภาพและราคาไม่แพงในระยะยาว ประธานาธิบดี แคลวิน คูลิดจ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ภารกิจของอเมริกาคือธุรกิจ” ทุกวันนี้ที่วิสาหกิจเสรีต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐอีกครั้ง เราจะต้องระลึกถึงอำนาจแห่งวิสาหกิจเสรีแบบอเมริกัน ผมขอปิดท้ายด้วยคำกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่านแรกที่เดินทางมาเมืองไทย ประธานาธิบดี ยูลิสิส เอส. แกรนต์ ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งมาเยือนไทยในปี 2422 ว่า “ผมไม่เคยเห็นที่ไหนน่าสนใจเท่า [ประเทศไทย] มาก่อน” ผมเห็นด้วยกับถ้อยคำของประธานาธิบดีแกรนต์และขอย้ำว่า ราชอาณาจักรไทยยังคงเปิดกว้างสำหรับธุรกิจในช่วงเวลาที่ท้าทายเหล่านี้ และเป็นสถานที่ซึ่งปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคงสำหรับการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ผมหวังว่าจะได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยและบริษัทสัญชาติไทยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งยิ่งขึ้นให้กับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและพาณิชย์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย อันเฟื่องฟูเป็นอย่างดีนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563) https://th.usembassy.gov/th/safe-reliable-secure-and-cost-effective-supp... ------------------------------------------------- Safe, Reliable, Secure and Cost-Effective Supply Chains Belong in Thailand By U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre “You only find out who is swimming naked when the tide goes out,” the famous investor Warren Buffett once said. Unfortunately, the tide went out for global companies in early 2020 as they were slammed by the coronavirus-induced lockdowns that spread from China to shut down or limit operations in most countries around the world. This crisis revealed vulnerabilities in the supply chains of many global companies. Crisis, however, can spur positive change in the corporate world. Many businesses in the United States, Thailand and around the world are looking to a brighter future, and planning to emerge from this crisis stronger and more resilient than they were before. As a key part of that process, companies are reexamining their global business operations, investments and supply chains to ensure they are safe, reliable and secure while also being cost-effective. Safe supply chains run through countries that are friends and allies who share a commitment to transparency, individual opportunity, and markets free from domination by the state. Reliable supply chains run through countries with a free and robust media and an independent judiciary who share a commitment to the rule of law and the sanctity of contracts. And secure supply chains exist in countries where companies are secure from cyber theft or the theft of intellectual property. The commitment to freedom, the rule of law, and the independent legal system in the United States make for a strong, attractive investment climate, attracting companies from around the world. However, for companies seeking closer access to overseas markets, there are also clear choices when deciding where else to invest in the region. In the Indo-Pacific region, American companies are looking much more at the countries of ASEAN as cost-effective locations for supply chains. Future prospects look even brighter, as ASEAN will become one of the world’s fastest growing regional markets with over 50 percent of its population under age 30. Right in the middle of ASEAN is mainland Southeast Asia’s largest transportation and logistics hub: Thailand, the oldest treaty ally of the United States in Asia and the only Major Non-NATO Ally of the United States in mainland Southeast Asia. This year marks the 187th anniversary of the signing of the United States Treaty of Amity and Commerce with the Kingdom of Thailand, which marks the beginning of the U.S.-Thai commercial relationship. That relationship has flourished. Hundreds of U.S. companies, employing tens of thousands of Thai nationals, have invested in Thailand to the mutual economic benefit of both our nations. Many of our companies are recognizable names like Citibank, Chevron and Ford that have been here for decades and continue to believe Thailand is the right place to be. But many others have come here recently or have recently expanded their operations in Thailand. A US-based advanced materials company recently chose Thailand as the location to establish a new manufacturing complex, after analyzing 24 different options in the region. Guardian Glass, a global leader in energy-efficient glass for buildings, automotive and other sectors, has produced glass in Thailand since 1991; Guardian, which chose to establish its regional Asia-Pacific Headquarters in Bangkok last year, was attracted to Thailand because of its strong reputation for welcoming foreign investors, growing domestic economy, and location as a platform for global exports. Alliance Laundry also opened its latest international factory in Thailand last year, basing its decision on the advanced transportation infrastructure available in the Eastern Economic Corridor (EEC), attractive investment incentives, and competitive edge that Thailand's record of protecting intellectual property gave it over other countries in the region. Another company, Seagate, with a presence in Thailand for more than 30 years, today works with Thai universities to develop local engineering and technical skills that help the company maintain its position as a global leader in the manufacture of high-tech hard drives and other cutting-edge data storage products. When I speak to these companies about why they chose Thailand they tell me it is because of the Safe, Reliable and Secure nature of manufacturing in Thailand while also being competitive with other locations in Asia in the cost of land, labor and living. As an example, average monthly manufacturing wages in Thailand are more than 50% lower than in China according to the most recent available data. Also, establishing operations in Thailand is simple. In February, Thailand was ranked Number 1 by U.S. News and World Report’s 2020 survey of the best countries in which to start a business. It based this ranking on five attributes: affordability, bureaucracy, low manufacturing costs, connectivity, and access to capital. Thailand is also renowned for the quality of its health care system, which has performed admirably during the COVID-19 pandemic, as well as its range of world-class international schools. It has some of the most diverse and beautiful cultural and tourist sites in the world. And the food speaks for itself. It is simply a wonderful place to live, both for individuals and for families. Thailand has demonstrated its business-friendly regulation through its handling of the COVID-19 pandemic. U.S. businesses in Thailand have been uniform in their praise of the Royal Thai Government’s flexibility in allowing manufacturing facilities to continue uninterrupted while Thailand implemented otherwise stringent public health limitations to flatten the curve of infections. U.S. businesses have similarly appreciated the efforts of the Royal Thai Government to provide advance notice of restrictions which permitted appropriate contingency planning. In these areas, the Kingdom of Thailand has been a stand-out among countries in Asia. I also want to commend the Royal Thai Government for assistance and support of Thailand's Board of Investment and the incentives available in the Eastern Economic Corridor (EEC) which have been critical in attracting companies to locate their manufacturing activities in Thailand. Companies in the EEC have taken advantage of its proximity to Laem Chabang, the fourth largest port on the Asian continent, to export goods to the ASEAN regional market and beyond. Since I was chosen as the first United States Ambassador to the Kingdom of Thailand to come from the private sector, I have engaged extensively with American and Thai businesses on how we can strengthen the U.S.-Thai economic partnership. At this pivotal moment in history, as the world grapples with the outcomes of the COVID-19 pandemic, the United States wants to ensure that Thailand seizes the share of global supply chains that it deserves. Thailand can help achieve this by broadcasting to the international business community its continued commitment to free enterprise, fair trade, open markets, transparency, and honest business practices. It can also bolster the attractiveness of its labor force by doing many of the things we are trying to do in the United States: Strengthen vocational schools programs; reform curricula to focus on science, technology, engineering and math (STEM) skills; offer job retraining and "lifelong learning" to improve the skills of those already in the workforce. For those jobs that require special expertise that might not be in adequate supply locally, Thailand should allow companies to hire foreign nationals with special expertise. Doing so will facilitate transfers of advanced knowledge to Thai citizens and broaden the pool of Thais with skills in high demand, enabling Thais, rather than foreigners, to fill such jobs in the future. Thailand can take advantage of the necessary pivot to telework and digital business that occurred during the coronavirus response. Thailand should support and enable greater digital business across all sectors of the economy, from finance to agriculture, and secure that business with strong cyber security protocols. Protecting companies from cyber theft will also highlight Thailand’s advantages over countries that are the source of such attacks. Thailand can also demonstrate its commitment to facilitating digital business by joining the APEC Cross Border Privacy Rules System to enable the free flow of data and ensure protection of personal information. Finally, Thailand can maintain and further develop diversified sources of energy and ensure cost-effective and full utilization of transmission capacity to supply reliable, affordable energy domestically. Thailand has a great opportunity with one of the largest undeveloped natural gas fields in the Gulf of Thailand to provide very inexpensive natural gas for many generations to come. Also, in the short term, efforts to develop Thailand into a hub for the trading and transport of energy in the region would contribute substantially to the long term stability and affordability of energy supply to Thailand’s economy. “The business of America is business” said President Calvin Coolidge. In this day when free enterprise is once again pitted against state-dominated economies, it is important to remember the power of American free enterprise. I would close by quoting the first U.S. President to visit Thailand. President Ulysses S. Grant commented on his visit to Thailand in 1879; “I have never seen anything that interested me more than [Thailand].” I echo the words of President Grant and emphasize that the Kingdom of Thailand remains open for business during these challenging times and Thailand is a safe, reliable and secure place to locate a company’s supply chain. I look forward to collaborating with the Royal Thai Government and Thai companies to further strengthen the U.S.-Thai economic and commercial relationship that has flourished so well since its beginnings in the 1800s. (The Thai version of this Op-Ed was originally published in Prachachart Turakij newspaper on May 23, 2020.) https://th.usembassy.gov/safe-reliable-secure-and-cost-effective-supply-...