วันที่ 21 พ.ค.63 ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เผยถึงแนวทางด้านสาธารณสุขเพื่อเตรียมความพร้อมเปิดสถานศึกษา ว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการปิดเรียนยาวนานเนื่องมาจากการแพร่ระบาดโควิด-19 หากเมื่อถึงความจำเป็นที่จะต้องเปิดเรียน จะต้องมีการเตรียมพร้อม ทำความเข้าใจ ก่อนจะเปิด เรียน ซึ่งโรงเรียน มีความเสี่ยงสูง เพราะเด็กจะต้องอยู่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ โรงเรียนขนาดใหญ่ และการคุมเด็กในบางช่วงวัยทำได้ยาก รวมถึงระยะเวลาของเด็กที่ใช้ระยะเวลาในโรงเรียน นานกว่า สถานที่อื่น จึงมีความจำเป็นต้องให้ชะลอการปิดเรียนในช่วงนี้ ดังนั้น โรงเรียนควรเป็นสถานที่ที่จะพัฒนาความรู้ของเด็ก จึงต้องให้มีความพร้อมมากที่สุด อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า จากข้อมูลทางระบาดวิทยา พบว่า กลุ่มเด็กอ่ยุ 10-19 ปี ติดเชื้อ ประมาณ 3.81% ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากครอบครัว แต่ส่วนใหญ่เด็กติดเชื้ออาการจะไม่รุนแรง แต่อาจจะนำไปแพร่เชื้อ ต่อบุคคลอื่นภายในครอบครัว หรือ ครูได้ โดยที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ บูรณการ ทำแผนคู่มือทำร่วมกัน สำหรับแนวทางการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา คือ 1. มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ อาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา โดยขอความร่วมมือผู้ปกครองให้ช่วยสังเกตอาการบุตรหลาน 2. สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา 3.ให้มีจุดล้างมือด้วยสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ 4.มีการเว้นระยะห่าง ภายในโรงเรียน 5.เน้นทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ เช่น สนามเด็กเล่น / ให้เด็กทำความสะอาดมือทุกครั้ง และ6.งดกิจกรรมความแออัด การรวมกลุ่มของนักเรียน โดยแนวทางอนามัยโรงเรียน ทางกระทรวงศึกษาธิการ จะร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ลงไปดูแล ตรวจสอบ ดำเนินการในโรงเรียนแต่ละสังกัด ส่วนสถานเด็กเล็ก แนวทางสาธารณสุข จะคล้ายกับแนวทางในสถานศึกษา แต่อาจจะจำกัดในการรวมกลุ่มของเด็ก ประมาณ4-5 คน ซึ่งจะต้องพิจารณาอีกครั้งว่สจะสามารถเปิดให้บริการได้เมื่อไหร่ และการเล่นที่สาธารณะ ของเด็ก ก่อนและหลังเล่น เด็กต้องทำความสะอาดมือทุกครั้ง ส่วนกรณีที่ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ก่อนโรงเรียน อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า การเปิดโรงเรียนมีความเสี่ยงสูงกว่าเปิดห้างสรรพสินค้า เพราะ การจำกัดเว้นระยะห่างในโรงเรียนเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะจะต้องมีกิจกรรมการเรียนอยู่ร่วมกันวันละไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง ซึ่งแตกต่างจากการเดินห้างสรรพสินค้าที่ใช้เวลาเดินไม่นาน ทั้งนี้ อธิบดีกรมอนามัย บอกถึง ผู้ปกครอง อย่ากังวล เพราะเด็กๆ จะได้ไปโรงเรียนตามปกติ แต่ อาจจะต้องทำความเข้าใจ สื่อสาร กับบุตรหลานให้มากขึ้น ในการดูแลป้องกันตนเองด้านสาธารณสุข ซึ่งผู้ปกครองกับทางโรงเรียน คงต้องสื่อสารกันให้มากขึ้น เช่น สังเกตอาการเจ็บป่วย หาก ไข้ ไอจาม ให้หยุดเรียนทันที หรือไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้แน่ใจถึงอาการป่วยของเด็กที่อาจจะเกิดขึ้น