พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว "Tawee Sodsong - พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง" ระบุว่า... ท่าทีพรรครวมฝ่ายค้านต่อ พ.ร.ก. กู้เงิน 3 ฉบับ ความเห็นเบื้องต้นของหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านซึ่งประกอบด้วย นายสมพงศ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย นายวันมูหะมัด นอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ นายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย และทีมคณะทำงานประสานงานพรรครวมฝ่ายค้านที่มี พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง ประธานประสานงานพรรครวมฝ่ายค้านพร้อมด้วยที่ปรึกษาคณะประสานงาน ประกอบด้วยนายภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รศ. ชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงศึกษาธิการ นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทยและนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาพรรคก้าวไกล ซึ่งมี นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขาคณะประสานงานฯ ต่อท่าที่ของฝ่ายค้านที่มีต่อ พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับ คือ 1. พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 (พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท) ฝ่ายค้านไม่ขัดข้องกับการกู้เงิน เพราะเล็งเห็นถึงความจำเป็น แต่ทักท้วงในด้านการนำไปใช้จ่าย และศักยภาพของรัฐบาลที่เป็นผู้ใช้งบการใช้งบต้องเกิดประโยชน์ ถูกต้อง ครอบคลุม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อพิจารณาดังนี้ • พ.ร.ก. เงินกู้เงิน 1 ล้านล้านบาทสามารถแยกพิจารณาเป็น 3 กลุ่มใหญ่ • ส่วนที่ 1: แก้ไขการระบาดโควิด-19 (45,000 ล้านบาท) : รัฐบาลต้องสามารถตอบคำถามให้ได้ว่า งบการก้อนที่มีรายละเอียดการใช้จ่ายอย่างไร เงินนอกเหนือจากการรักษาผู้ป่วยที่โฆษก ศบพ บอกว่าใช่คนละ 1 ล้านบาท คือประมาณ 3,000 ล้านบาท ทำไม่จึงไม่ช่วยเหลือเรื่อการป้องกัน คือกระจายงบประมาณสู่ เครือข่าย อสม. ซึ่งถือเป็นฮีโร่ตัวจริงกับการหยุดการระบาด และควรได้รับการยกย่อง กับการตรวจหาเชื้อโควิดแบบปูพรหมฟรี ตาม รธน 60 ม 47 วรรคท้าย “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” ที่ผ่านมาช่วงต้นๆรัฐบาลบกพร่องปล่อยให้ประชาชนเสียค่าตรวจแพง น่าจะไม่ชอบด้วยเหตุผลและรัฐธรรมนูญ • ส่วนที่ 2: การช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ (555,000 ล้านบาท) : เงินเยียวยามีปัญหาในเชิงปฏิบัติ ยิ่งคัดกรองมาก ยิ่งหลุดมาก ไม่ครอบคลุม ไม่ทั่วถึง ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมและโศกนาฏกรรม เนื่องจากประชาชนเป็นคนจ่ายภาษี ควรใช้ระบบถ้วนหน้าในการเยียวยา เป็นหลักที่ทุกคนควรได้รับการเยียวยา • ส่วนที่ 3: งบฟื้นฟูเศรษฐกิจ (400,000 ล้านบาท) : เป็นส่วนที่จะมีปัญหามากที่สุด มีข้อสังเกตว่าแบ่งตามกระทรวงต่าง ๆ ไว้หมดแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าสภา และตามที่รัฐบาลกล่าวถึงทิศทางการใช้เงินก้อนนี้ ไม่ตอบโจทย์ และไม่ได้คิดถึงภาพใหญ่ และโอกาสของประเทศ เพราะจะสนับสนุนการจ้างงานภาคการเกษตร ใช้ฝึกอบรม รวมถึงใช้เป็นงบชุมชน เปิดช่องการใช้เป็นเงินเพื่อประโยชน์ทางการเมือง แจกจ่ายให้กับ ส.ส. เสมือนเป็นการตีเช็คเปล่า หรือนำไปทำโครงการแบบเดิม ๆ เพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง โดยโครงการต้องเป็นไปเพื่อตอบสนองและตอบโจทย์เรื่องโควิด ไม่ใช่ใช้จ่ายไปทั่ว • เนื่องจาก พ.ร.ก. ฉบับนี้ รมว.คลังเป็นผู้รับผิดชอบ โดย*นายกฯลอยตัว ไม่ต้องรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่ความรับผิดชอบควรเป็นนายกฯซึ่งเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และเป็น “ระบบของคณะกรรมการ” จำนวน 11 คน เป็นข้าราชการประจำตำแหน่งวิชาการและอำนวยการ 6 ตำแหน่ง คือเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ ,ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ,ปลัดกระทรวงการคลัง ,ผู้อานวยการสำนักงบประมาณ ,ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, ผู้อำนวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจานวนไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการ ซึ่ง ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิจะสามารถตั้งใครก็ได้ เห็นว่าทั้ง 11 คนมีอำนาจและหน้าที่ในการวางแผน กำหนดในใช้เงิน 1 ล้านล้าน (ตามมาตรา 8)ที่เป็นภาษีอากรของประชาชน การไม่กำหนดเงื่อนไข ข้อห้ามเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ไว้ ที่อาจมีการสั่งการโดยผู้มีอิทธิพล เช่นผู้มีบุญคุณ หรือผู้แต่งตั้งกรรมการดังกล่าว เพื่อให้ใช้อำนาจสถานะหรือตำแหน่งกระทำการใดไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม อันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่เพื่อหาประโยชน์ของตนเองของผู้อื่น โดยมิชอบได้ และไม่มีบทกำหนดโทษเฉพาะกรรมการไว้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการที่กระทำผิดเฉพาะไว้ น้องจากนี้ พรก กำหนดลงนามในสัญญากู้เงิน หรือออกตราสารหนี้ภายในวันท่ี 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นกรณีที่สามารถจัดทำงบประมาณในปี 2564 ได้ น่าจะมีประเด็นที่น่าจะไม่ชอบด้วย พรบ วินัยการเงินการคลังของรัฐ ด้วย 2. พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ฝ่ายค้านเห็นความจำเป็นต้องช่วยเหลือ ต้องโปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติ เพราะข้อมูล SME มีประมาณ 3.7 ล้านราย เป็นขนาดเล็กประมาณ 3.3 ล้านราย และขนาดกลางประมาณ 4 แสนราย ฝ่ายค้านมีข้อพิจารณา ที่เห็นว่าอาจเป็นช่องทางเอื้อประโยชน์ให้ให้พวกพ้อง คือ • ดุลยพินิจของการปล่อยกู้ อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ ที่มีแนวโน้มปล่อยให้ลูกค้าเดิมที่แข็งแรงอยู่แล้ว เพราะไม่ต้องการความเสี่ยงเพิ่ม และไม่ต้องมีขั้นตอนวุ่นวาย ไม่ต้องประเมินหลักทรัพย์ จึงส่งผลให้ลูกค้าที่แข็งแรง (ซึ่งมีแนวโน้มเป็นขนาดกลางขึ้นไป) ได้ประโยชน์จากสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ แต่ SMEs ที่ประสบปัญหา ได้รับผลกระทบจากโควิด ก็ยังคงเข้าไม่ถึงสินเชื่อเหมือนเดิม • มีช่องทางที่เอกชนรายที่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อ เอาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไปปล่อยต่อให้เอกชนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อในราคาสูง มีลักษณะเหมือนสินเชื่อนอกระบบ รายใหญ่ได้ประโยชน์ รายเล็กโดนเอาเปรียบ • โดยธรรมชาติธนาคารพาณิชย์ต้องมุ่ง 'กำไร' และไม่มีความจำเป็นที่ต้องช่วยสนับสนุนธุรกิจเล็ก ๆ ของของประชาชน ถ้าทำก็ทำเพียงให้เห็นเป็นพิธีเท่านั้น • นโยบาย Soft Loan ดีที่หลักการ แต่ธรรมชาติและกลไกมันไปคนละทางและ ธปท. ต้องเรียนรู้และอยู่อยู่กับความเป็นจริงและ ทุกวันนี้ที่มีธนาคารพาณิชย์เอา Soft Loan ปล่อยอยู่บ้าง ก็เป็นไปเพื่อสร้างภาพเท่านั้น • จำนวนเงินที่ SMEs จะกู้ได้ ดูๆแล้วมันเหมือนกับจะไม่ช่วยอะไรได้สักเท่าไหร่ เพราะมีการกำหนดเอาไว้ว่าให้กู้แต่ละรายไม่เกินร้อยละ 20 ของหนี้สินที่เหลืออยู่ จึงทำให้ SMEs ที่ชำระหนี้ไปเกือบหมดก็กู้ได้น้อยตามสัดส่วน 3. พ.ร.ก. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 ฝ่ายค้านเห็นว่ามีความจำเป็นต้องในการักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจฯ แต่มีข้อพิจารณาในเรื่องการเอื้อประโยชน์และความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ คือ • ธนาคารชาติมีหน้าที่เป็นธนาคารของรัฐบาล และเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ ไม่มีหน้าที่ลงไปจัดสรรสินเชื่อเอง ซึ่งอาจขาดทุนเป็นภาระภาษีของประชาชน • ทำให้ธนาคารชาติขาดความเป็นกลาง ขาดความน่าเชื่อถือ • มี ‘คณะกรรมการ’ 2 คณะ ไม่มีห้ามเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของคณะกรรมการและระบบอนุญาตไว้ จึงเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันได้ (ขัดหลักการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 วรรคสาม) ที่กฎหมายหรือ พรก ให้หลีกเลี่ยงระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการ และหากมีความจำเป็น จะต้องบัญญัติเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ไว้ เพื่อไม่ให้กรรมการใช้สถานะหรือตำแหน่งกระทำการใดไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม อันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่เพื่อหาประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น โดยมิชอบ และไม่มีบทกำหนดโทษคณะกรรมการกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเป็นการเฉพาะไว้ (ต่างกับ พรก ปรส ในปี 40 ที่กำหนดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ไว้ชัดเจน) • รัฐมนตรีคลังมีอำนาจล้น ตาม “มาตรา 5 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชกาหนดนี้ ให้รัฐมนตรี เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้ถือเป็นที่สุด และให้ผู้เกี่ยวข้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้น” รมว คลังมีอำนาจสูงสุด เสมือนเป็นศาลฎีกาหรือศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้เองเพียงคนเดียว ไม่ต้องมีองค์คณะ 3 คน หรือ 9 คน เหมือนศาลฎีกาหรือศาลรัฐธรรมนูญ แต่อย่างใด • ควรทำตามขั้นตอนเดิม คือให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณารับซื้อตราสารหนี้เอกชนตามความเสี่ยง จากนั้นธนาคารพาณิชย์สามารถนำตราสารหนี้เหล่านี้ มาค้ำประกันเพื่อกู้เงินเสริมสภาพคล่องจากธนาคารชาติ • หากบริษัทใดผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้รับความเสี่ยง ธนาคารชาติเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของระบบตลาดการเงิน ตามหน้าที่ที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นระบบปกติ ซึ่งจะดีกว่าธนาคารชาติเข้าไปทำการจัดสรรสินเชื่อเอง แม้มีคณะกรรมการ ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งอาจถูกกล่าวหาใช้เงินรัฐอุ้มคนรวย อาจเกิดปัญหาคอรัปชัน และเกิดความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นในระบบการเงินของประเทศ ขอนำคลิปการแถลงข่าวของหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ตามแนบ https://www.facebook.com/110443097111966/videos/952914631812886/?vh=e&d=n