นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กชื่อ Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า... “เก็บ พรก.ฉุกเฉิน ไว้-มีข้อดีข้อเสีย?” . [สำหรับผู้ที่ชอบฟังมากกว่าชอบอ่าน ให้ดูคลิป] https://youtu.be/1sCNytPlER8 . ? มีข้อถกเถียงกันว่า รัฐบาลควรเก็บ พรก.ฉุกเฉินไว้หรือไม่? เพราะสามารถคุมตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ได้ต่ำเป็นเวลานานแล้ว . ที่สูงขึ้นเกินสิบในบางวันนั้นเป็นผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ และวันนี้ ตัวเลขภายในประเทศก็ลดเหลือศูนย์แล้ว เหลือแต่ต้องระวังผู้เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศเท่านั้น . ดังนั้น เมื่อถึงวันนี้ การเก็บ พรก.ฉุกเฉิน ไว้จึงมิใช่เงื่อนไขทางสาธารณสุขแล้ว แต่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งสังคมไทยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ . คนที่กลัวโควิด หรือเชียร์รัฐบาลประยุทธ์ จะสนับสนุนให้เก็บไว้ก่อน เพราะเพิ่งจะมีความเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงยิงปืนนัดเดียว สยบได้ทั้งโควิดและการเมือง แต่รัฐบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงผลทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป . ? เนื่องจากโควิดแพร่ทางลมหายใจและน้ำลาย ดังนั้น เมื่อประชาชนเอาจริงเรื่อง social distancing ประเทศนั้นย่อมจะเบรกการแพร่กระจายได้อยู่แล้ว . อย่างไรก็ดี ถึงแม้เบรกการแพร่กระจายได้ แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะคลายเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีวัคซีน . ขณะนี้มีกว่า 100 องค์กรที่เร่งพัฒนาวัคซีน หลายองค์กรไปถึงขั้นทดลองกับมนุษย์แล้ว แต่วัคซีนใช้เวลาระยะหนึ่ง! . ? นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ให้ข้อมูลผมว่า การทดลองในขั้นที่ทำกับมนุษย์ ที่เรียกว่า ระดับคลีนิคนั้น จะต้องทำเป็น 3 phase . Phase 1 คือเริ่มทดลองโดยแบ่งกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบกัน ต้องใช้ปริมาณที่ต่างกัน ต้องมีเวลาติดตามดูอาการ . Phase 2 จะเริ่มได้ ต่อเมื่อประสบความสำเร็จจาก Phase 1 แล้ว โดยจะมีการนำคนกลุ่มใหม่เข้ามาร่วมทดลองด้วย . Phase 3 นำผลสำเร็จจาก Phase 2 ไปขยายจำนวนคนทดลองให้กว้างขึ้นอีก . แต่กรณีโควิด เมื่อปล่อยคนที่ฉีดวัคซีนเข้าไปใช้ชีวิตปกติที่คนเน้น social distancing แล้วนั้น อาจจะทำให้กินเวลานาน กว่าจะรู้ผล . ? ดังนั้น นพ.วิชัยจึงคิดว่า ช่วงสำเร็จ คือ มิ.ย. - ธ.ค. 2564 และกว่าจะผลิตได้เชิงอุตสาหกรรมเพื่อกระจายไปประเทศต่างๆ ก็จะต้องใช้เวลาอีก 6-9 เดือน . นอกจากนี้ เนื่องจากไทยไม่ได้เข้าไปร่วมลงทุนพัฒนาวัคซีน เมื่อใดที่ต่างชาติพัฒนาเสร็จ ไทยจะไม่ได้อยู่ในคิวอันดับต้นที่จะได้รับวัคซีน . เจ้าหน้าที่ WHO กล่าวใน CNN ว่า ถึงแม้บางองค์กรตั้งเป้าให้มีวัคซีนภายใน ธ.ค. 2563 แต่ในอดีตจะเลยเป้ามากทุกครั้ง . ดังนั้น กว่าจะมีวัคซีนที่วางใจได้ ก็จะใช้เวลา . ? ถามว่า ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง กลุ่มไหนจะถูกกระทบด้านเศรษฐกิจจากโควิด? . ? กลุ่มที่จะถูกกระทบหนักสุด คือพนักงานและลูกจ้างธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง . ไม่ว่าธุรกิจนั้นถูกล็อคดาวน์หรือไม่ แต่จะเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน โดยลูกค้าจะระมัดระวังตัวไปอีกนาน ทั้งในด้านสุขภาพ และในด้านการออมเงิน ตัวอย่างเช่น . ? โครงการอสังหาฯ ที่มียูนิตค้างสต๊อคสูงจะพบว่าลูกค้าชะลอการซื้อ คอนโดสำหรับคนจีนและรัสเซียจะขายยาก รวมไปถึงบ้านตากอากาศหรูสำหรับคนยุโรป . ขณะนี้ บริษัทอสังหาฯ บางรายเจรจาบีบให้ supplier ช่วยซื้อบ้านและคอนโดที่ค้างสต๊อคกันแล้ว . ผู้ที่เข้าไปในศูนย์การค้าช่วงล็อคดาวน์ จะพบว่าไม่ต่างอะไรกับเข้าเขตภัยพิบัติ เพราะบรรยากาศเครียด มีแต่เด็กมอเตอร์ไซค์นั่งรอรับอาหาร . ร้านค้าปลีกขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง จะหายไปจากช้อปปิ้งมอลล์ จะมีการค้างค่าเช่า ร้านสินค้าแบรนด์เนมจะร้าง และถึงแม้ในออฟฟิซคนจะนั่งห่างกันมากขึ้น แต่พื้นที่เช่าออฟฟิซจะลดลงเพราะ Work From Home . ส่วนโรงหนัง โรงละคร สนามมวย จะต้องคิดมาตรการที่จะทำให้ประชาชนวางใจ . พฤติกรรมลูกค้าที่กระทบต่อรายได้อสังหาฯ จะปรากฏชัดเจนขึ้นภายหลังการคลายล็อคดาวน์ และจะหนักต่อเนื่องไปทุกเดือนตลอดปี 2563 และ 2564 . จะมีการเลื่อนการก่อสร้าง โครงการที่สร้างไม่จบจะเก็บเงินได้ยาก ค่างวดจะจ่ายช้าลง และจะกระทบร้านค้าวัสดุก่อสร้างไปด้วย ธุรกิจจะเปลี่ยนไปขายแบบเงินสดเป็นหลัก . ? โรงแรม 4-5 ดาวจะไม่มีนักธุรกิจ งานแต่งงาน งานสัมมนา คนกินเที่ยวจะน้อยลง เพราะบรรยากาศกินเที่ยวสังสรรค์ที่ผ่อนคลายจะหายไปกับ social distancing . กิจการต่อเนื่องกับท่องเที่ยวก็สะดุดหมด ไม่ว่ารถทัวร์ เรือสำราญ ร้านอาหาร ร้านนวด ร้านขายของที่ระลึก . ขณะนี้มีบริษัทคนไทยนับร้อย ที่เสนอขายอย่างเงียบๆ ทั้งโรงแรม และกิจการต่างๆ แต่ไม่มีใครสนใจซื้อ ไม่ว่านักลงทุนตะวันตกหรืออาหรับ . ✈️ สายการบินทั่วโลกแทบจะหยุดบิน ต้องจอดวางเครื่องบินส่วนใหญ่ และพฤติกรรมเดินทางน้อยลง จะเปลี่ยนเป็นขับรถเที่ยวใกล้ๆ จะกระทบธุรกิจต่อเนื่องอย่างหนัก . วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 และแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 ประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาแล้ว สลับจังหวะผลัดกันทรุด แต่คราวนี้ทรุดพร้อมกัน และลามไปถึงประเทศผลิตน้ำมัน . ? ถึงแม้จะมีบางคน หวังจะซื้อรถยนต์เพื่อเลี่ยงการแออัดในรถไฟ แต่ลูกค้าส่วนใหญ่จะเลื่อนการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน และ Work From Home มีการใช้รถน้อยลง . ดังนั้น โรงงานรถยนต์ก็จะเผชิญปัญหายอดขายทั่วโลกตกต่ำไประยะหนึ่ง . ปัญหา cash flow ธุรกิจจะเริ่มตึงตัวในเดือน มิ.ย. เป็นต้นไปภายหลังการคลายล็อค และพฤติกรรมลูกค้ามีผลต่อรายได้ . ?? ถึงแม้รัฐบาลให้ ธปท. อุ้มบริษัทที่ออกตราสารหนี้ แต่ ธปท. ช่วยได้แต่ cash flow ชั่วคราว รัฐบาลไม่สามารถเนรมิตรายได้กลับคืนให้เอกชน . บริษัทที่เดิมมีสัดส่วนหนี้สูง หรือกู้เงินขยายกิจการมากเกินไป หรือกู้เก็งกำไรที่ดิน จึงจะมีบางรายที่ default และจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นทั้งระบบ จะทำให้ทุกบริษัทยิ่งลดเครดิตการค้าระหว่างกัน . ธุรกิจที่มีความต้องการเงินสดหมุนเวียนมากขึ้น จำเป็นต้องขอสินเชื่อชั่วคราวจากแบงค์ . ? แต่บริษัทจะพบว่า แบงค์ระมัดระวังสินเชื่อใหม่เป็นพิเศษ เพราะแค่ลูกหนี้เดิมก็เสี่ยงเป็น NPL มากมายอยู่แล้ว ไม่ว่าบริษัทธุรกิจ หรือบุคคลธรรมดาที่ผ่อนรถผ่อนบ้าน . หลายนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ที่กระตุ้นอุปโภคบริโภคระยะสั้น เช่น ชิมช้อปใช้ ช้อปช่วยชาติ ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนขึ้นไปสูงเป็นอันดับต้นของอาเซียน จะส่งผล ในอนาคตอันใกล้ ลูกหนี้บางรายจะหมดกำลังผ่อนรถผ่อนบ้าน . นอกจากนี้ ราคาอสังหาฯ ที่ลดลง จะทำให้หลักประกันเสื่อม แบงค์จะเรียกให้ลูกหนี้หาหลักประกันมาเพิ่ม (ในข่าวข้างล่าง เครดิตบูโร คาดหนี้เสียอาจจะพุ่ง พิษโควิดอาจกระทบแรงแก้ยาก อาจนานที่จะฟื้น) . ?‍? ทั้งนี้ ชาวบ้านระดับรากหญ้าที่ตกงานในกรุงเทพ ก็ไม่สามารถย้ายกลับไปอยู่ต่างจังหวัดได้ง่าย เพราะไม่มีรากฐานเหลือเก็บไว้ ไม่มีที่ดินจะใช้ทำกินได้ เป็นต้น . ขณะนี้มีแรงงานต่างจังหวัดส่วนหนึ่งที่ตกงาน ค้างค่าเช่า และต้องออกไปเร่ร่อนอยู่ใต้สะพาน กลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมกรุงเทพ . ?‍? มิใช่เฉพาะชาวบ้านระดับรากหญ้าเท่านั้น แต่นักศึกษาที่จบหลักสูตรในปีนี้และปีหน้า ก็จะมีความยากลำบากในการหางานกว่าเดิม . ความฝันที่จะเริ่มต้นชีวิตวัยทำงาน ก็จะสลายไปต่อหน้า! . เศรษฐกิจที่ไปได้ชั่วคราว ก็เกิดขึ้นแก่เฉพาะบางกลุ่มที่สามารถใช้อินเทอร์เนต ทำธุรกิจดิลิเวอรี่ แต่แรงงานที่หาเช้ากินค่ำ ที่เน้นใช้แรงกาย อินเทอร์เนตไม่ให้คำตอบ . ?? ปัญหาความเหลื่อมล้ำของไทยติดอันดับโลกอยู่แล้ว เพราะ . 1. ตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา (ดูรูปการเมืองในกะลาแลนด์) รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ใช้นโยบาย Trickle down economy ที่เน้นสร้างโครงการใหญ่ให้แก่นักลงทุน หวังจะให้ล้นเขื่อนลงไปประชาชนรากหญ้า แต่ผลปรากฏว่าการกระจายรายได้แย่ลง . 2. ค่าแรงไทยสูง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมระดับมีเดียมเทค รัฐบาลพลเอกประยุทธ์พยายามแก้ด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แต่ระบบการศึกษาไม่พัฒนารองรับ . 3. นโยบายเอื้อนายทุน เช่น ยกเลิกเพดานราคาก๊าซหุงต้มสำหรับภาคครัวเรือน และแก้ปัญหาชดเชยด้วยการเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำมัน มีผลเป็นเอื้อประโยชน์แก่บริษัทที่ผูกขาดธุรกิจก๊าซ ตลาดหุ้นบูม จีดีพีสูง แต่ประชาชนย่ำแย่ . 4. นโยบายปล่อยให้เอกชนผูกขาดการผลิตไฟฟ้า ทำให้ประชาชนต้องแบกรับกำลังผลิตที่เกิน peak demand ถึง 30-40% มีผลเป็นการเอื้อประโยชน์แก่นายทุน แต่ประชาชนย่ำแย่ . ? พอมาเจอเศรษฐกิจโควิด ประชาชนก็ยิ่งเดือดร้อนหนัก . ? ถามว่า พรก.ฉุกเฉินจะมีผลเสียต่อเศรษฐกิจอย่างไร? . ? ต้องเริ่มต้นก่อนว่า ถึงแม้คลายล็อคดาวน์ ถึงแม้จะยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ประชาชนก็ต้องการ์ดไม่ตก ยังต้องดูบทเรียนการระบาดรอบสองของประเทศอื่นเป็นตัวอย่าง . แต่การไม่ยกเลิก จะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศลดลงไปเรื่อยๆ มีผลต่อเศรษฐกิจ 2 กลุ่ม . พ่อค้าแม่ค้ารายจิ๋วที่ขายของเองตามตลาด ถูกกระทบโดยตรงจากล็อคดาวน์ . ในระดับใหญ่ขึ้นมาหน่อย คือกลุ่ม SMEs ที่ถูกกระทบจากล็อคดาวน์ ยิ่งล็อคนาน ก็ยิ่งสลบสนิท ยิ่งต่ออายุกฎหมายฉุกเฉิน ก็ยิ่งไม่ฟื้น ส่วนนี้มีมาก . พรก.ฉุกเฉินทำให้เครียด ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน ไทยเที่ยวไทยจะไม่เกิด . ? สำหรับการบริหารเศรษฐกิจเพื่อรองรับปัญหานี้ ว่ารัฐบาลควรทำอย่างไรนั้น ผมจะค่อยเสนอในลำดับต่อๆ ไป . แต่ต้องระวังว่า สถานการณ์ที่จะเลวลงไปเรื่อยๆ อย่างนี้ อาจจะทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมือง เพราะคนหมดหนทาง