นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัวระบุว่า...อะไรเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่ววูป ชั่วคราว อะไรเป็นเรื่องที่เราควรให้อยู่ต่อไปอะไรบ้างควรจะเป็นความปกติใหม่สำหรับสังคมไทย เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราควรทำต่อไปไม่ว่าโควิดจะจบหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่เราควรทำอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่เราควรเปลี่ยนอยู่แล้ว โควิดเป็นเพียงตัวกระตุ้นให้เราเปลี่ยนเร็วขึ้น 1. การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล 1.1 การทำงานที่บ้าน การทำงานที่บ้านช่วยลดปัญหาโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ไข้หวัดใหญ่ ทั้งยังช่วยลดปัญหาจราจร คนทำงานที่บ้านมีเวลาเพิ่มขึ้นไม่ต้องสูญเสียไปกับการจราจร ลดความเครียด ลดความแออัดของสังคมเมือง ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับหน่วยงานได้ด้วยหากบริหารจัดการได้ดี 1.2 การเหลื่อมเวลาทำงาน การเลือกเวลาทำงาน จะช่วยให้เราสามารถลดความแออัดของสำนักงาน และระบบขนส่งสาธารณะได้เป็นอย่างดี 1.3 การจัดระบบคิวในการให้บริการ จะลดความแออัดของจุดให้บริการลูกค้าและประชาชนได้เป็นอย่างดี 2. การออกแบบทางวิศกรรม เช่น 2.1 การจัดระบบระบายอากาศให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การเปิดหน้าต่างปิดแอร์หากสามารถทำได้ 2.2 หากเปิดหน้าต่างไม่ได้อาจติดตั้งพัดลมดูดอากาศ 3. ปรับปรุงระบบงาน โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน เช่น 3.1 การปรับกระบวนทัศน์ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนใหม่ การเรียนอาจไม่จำเป็นต้องเรียนที่โรงเรียน การเรียนควรเกิดขึ้นได้หลากหลายหนทาง หลายวิธี จัดระบบใหม่ จัดกระบวนการใหม่ มองหาวิธีใหม่ ปฏิรูปการศึกษา ด้วยการคิดใหม่จริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่วาทะกรรม 3.2 การประชุมทางไกล ง่าย สะดวก ใช้แล้วติดใจ ประหยัดเวลา ทำงานได้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง คุ้มมากในเชิงการลงทุน 3.3 การสนับสนุนให้ผู้รับบริการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต 3.4 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงาน โดยเฉพาะภาครัฐที่ขยับช้ามาก นายกรัฐมนตรีอุตส่าห์ลุกขึ้นมากผลักดันทั้ง government 4.0, big data, data analytics, digital transformation ด้วยตัวเอง เรื่องนี้จึงต้องช่วยกัน 4. การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และสุขอนามัยส่วนบุคคล 4.1 แม้โควิดจะจบก็ยังอยากให้คนไทยที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจทุกคนสวมหน้ากากอนามัยขณะที่มีอาการกันต่อไป 4.2 ล้างมือบ่อย ๆ ช่วยได้หลายโรค 4.3 รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด และใช้ช้อนกลางส่วนตัว จะช่วยลดโรคระบบทางเดินอาหารได้ หลายคนบ่นทำนองว่าโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การทำงาน การเดินทาง เศรษฐกิจ และมุ่งหวังให้ภาครัฐเข้ามาจัดการกับปัญหาต่างๆ ให้ จริงๆ แล้วภาครัฐสามารถเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาลงได้บางส่วน ไม่ทั้งหมด คนไทยต้องไม่ลืมว่า พลังที่ยุติหรือยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด 19 รวมถึงลดผลกระทบต่างๆ อยู่ที่คนไทยทุกคน ทุกคนต้องร่วมมือกัน ร่วมกับทางภาครัฐในการป้องกันตัวเองให้เต็มที่ เจ้าของสถานประกอบการก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาแพร่ระบาดในสังคมไทยให้คงระดับต่ำอย่างต่อเนื่องต่อไป ด้วยการดูแลสถานที่หรือสถานประกอบการของตัวเองให้มีความเสี่ยงในการเป็นแหล่งแพร่เชื้อให้ต่ำที่