หลังลงพื้นที่ ระดมสมองร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ออกแบบสื่อให้คำแนะนำการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันรับการเปิดเมือง อย่างปลอดภัย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งลงพื้นที่เก็บข้อมูลในด้านต่างๆ รวมทั้งระดมสมองร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ในหลากหลายด้าน ใช้กระบวนการดีไซน์ ธิงกิ้ง Dedign Thinking มาออกแบบสื่อที่จะให้คำแนะนำประชาชนและภาคต่างๆ ในการนำไปปฏิบัติในชีวิตจริงรับการเปิดเมือง รับนิวนอร์มอล วิถึชีวิตใหม่ ซึ่งมี 12 คำแนะนำ อาทิ 1.เจ้าของตลาดสด ตลาดนัด แผงลอย ร้านค้าริมถนน ให้จัดพื้นที่ขายไม่ให้ชิดกัน เตรียมเจลแอลกอฮอล์ รักษาสุขอนามัยทิ้ง รักษาระยะห่าง หยิบจับต้องล้างมือ การจ่ายเงินต้องมีตะกร้าให้เป็นจุดแลกเปลี่ยน ลดการสัมผัส มีแผงกั้นลดการแพร่เชื้อ หลังจากขายเสร็จ ร้านต้องทำความสะอาดทุก 1 ชม. 2ร้านอาหารตามสั่ง การเข้าคิวต้องรักษาระยะห่าง 1-2 เมตร เตรียมเจลล้างมือ ที่ล้างมือ ใส่หน้ากาก คัดกรองสวัดไข้ถ้าจำเป็น การปรุงอาหารใส่ถุงมือขณะปรุง การจ่ายเงิน ใช้ระบบโอนเงินต่างๆ เป็นทางเลือกหนึ่ง หากจ่ายเงินสดให้ลดการสัมผัส วางที่ถาดหรือตะกร้า แล้วล้างมือ ซื้อขายเสร็จทำความสะอาดทุก 1 ชม. 3.การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า มีคำแนะนำจากการออกแบบ ก่อนขึ้นรถ ล้างมือด้วยเจล การเข้าคิวรักษาระยะห่าง การแลกเหรียญ ถ้าใช้บัตรส่วนตัวจะลดโอกาสแพร่เชื้อ ใส่หน้ากาก ขึ้นรถไปแล้วอาจแออัดบ้าง ให้พยายามมีระยะห่าง 1-2 เมตร ระหว่างโดยสารลดการพูดคุยหรือใช้โทรศัพท์ ลงรถให้ล้างมือด้วยเจล ขณะรถไฟฟ้าต้องทำความสะอาดให้ถี่ขึ้นเพื่อความมั่นใจ 4.การใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์ ระหว่างรอ ต้องรักษาระยะห่าง ใส่หน้ากาก เน้นพิเศษใส่หมวกกันน็อค ซึ่งถ้าใส่ถูกวิธีคือการใส่เฟซชีลด์ดีๆ ร่วมกับใส่หน้ากาก ลดการพูดคุย ไม่ขยี้หูตา ไอจามขณะอยู่บนรถ หลังลงรถล้างมือ จ่ายเงิน ถ้ามีทางเลือกใช้ระบบดิจิตัล ถ้าจ่ายสดทำความสะอาดมือ ขณะวินฯระหว่างรอผู้โดยสาร ให้ลดการจับกลุ่ม รักษาระยะห่าง ลางมือ ใส่ถุงมือ ทั้งนี้ เป็น 4 ตัวอย่างจาก 12 แบบคำแนะนำ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ www.Thaihealth.or.th หรือ https://thai.care เปิดเมืองปลอดภัย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษไปเผยแพร่ และจะมีการแปลเป็นภาษาพม่า ลาว ร่วมด้วย นำไปเลือกปฏิบัติได้