ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า... ไวรัสอัปเดทรอบดึก - วันนี้อยากเล่าเรื่องเศรษฐกิจกับไวรัส ทำไงดี โดยมีตัวอย่าง 2 ประเทศครับ ทั้งสองเป็นประเทศใหญ่ ประชากรเกิน 200 ล้านทั้งคู่ เริ่มจากบราซิล (210 ล้าน) สถานการณ์ไวรัสตอนนี้กำลังพุ่ง ยอดสะสมเกือบ 1.5 แสน ยอดเสียชีวิตเกินหมื่น ที่น่าห่วงคือกำลังเข้าพีค ยอดเพิ่มแถวหมื่นทุกวัน ต่อกันมา 3 วันแล้วแต่การเมืองในบราซิลมีผลมาก ประธานาธิบดีเน้นเศรษฐกิจปากท้อง ขณะที่หลายพื้นที่ท้องถิ่นพยายามล็อคดาวน์ จึงค่อนข้างสับสน ดูแล้วมีส่วนคล้ายอเมริกาครับ ก็ต้องตามดูต่อไปว่าสุดท้ายจะเป็นอย่างไร อีกประเทศใกล้บ้านเราคืออินโดนีเซีย วันนี้รายงานผู้ป่วยเพิ่ม 533 สูงสุดตั้งแต่มีมา ยอดผู้เสียชีวิตเกือบพัน ในเอเชียแถบเราเป็นรองแค่จีนและอินเดีย แต่อินโดกำลังจะเริ่มคลายล็อค 5 ระดับ โดยตั้งเป้าว่าจะเปิดทุกอย่างปลายกรกฎาคม (บลูมเบิร์ก) ยังอีกบางประเทศที่อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ล็อคตั้งแต่ตัวเลขต่ำ แต่กดตัวเลขไม่ลง จนเมื่อล็อคต่อไม่ไหวก็จำเป็นต้องเริ่มคลาย เพื่อนธรณ์อาจสงสัยว่ามันแปลกนะ ขนาดล็อคยังคุมไม่อยู่ ขืนยิ่งคลายยิ่งลำบาก คำตอบอยู่ที่เศรษฐกิจโลกครับ ข้อมูลในเดือนเมษาเริ่มออกมาเรื่อย บอกว่าก่อนหน้านี้เรามองโลกในแง่บวกเกินไป เมื่อวานยกตัวเลขตกงานของสหรัฐที่มากสุดๆ วันนี้เอาตัวเลขการใช้น้ำมัน หลายสถาบันประเมินว่า กว่าการใช้น้ำมันจะกลับมาระดับเดิมก่อนไวรัส ต้องรอถึงสิ้นปี 64 นั่นคือการประเมินว่าวัคซีนจะออกมาปีหน้า แต่ตราบใดที่ไม่มีของจับต้องได้ มีแต่ข่าว การประเมินใดๆ ก็ต้องบอกว่าเป็นการคาดการณ์ แต่เศรษฐกิจที่กำลังกระทบอยู่ตอนนี้ มันเป็นเรื่องจริง บางประเทศในตะวันออกกลางเริ่มประสบปัญหาหนัก เพราะขายน้ำมันไม่ได้ จนมีท่าทีว่าอาจมีปัญหากับเงินที่กู้มาเพื่อการลงทุนขนาดใหญ่ ยังหมายถึงอีกหลายประเทศที่แย่อยู่บ้างแล้ว เจอแบบนี้คงต้องเหนื่อยหนัก หลายประเทศจึงมองไปข้างหน้าว่าขืนล็อคต่อไปกู้ไม่ไหวแน่ จึงถือโอกาสที่บางประเทศเริ่มคลายล็อคกัน ทำตามไปด้วย แต่ในทางกลับกัน บางประเทศเข้มสุดๆ เช่น เกาหลี แค่มีผู้ป่วยคนนึงไปแถวบาร์ อาจเป็นสาเหตุการแพร่ระบาด เกาหลีสั่งปิดผับบาร์ 2,100 แห่งทันที ทั้งที่ตัวเลขเพิ่มในแต่ละวันต่ำมาก เกาหลีผ่านการระบาดใหญ่มาก่อน คงทราบดีว่าผลกระทบมันเยอะมาก ยังต้องมีค่าใช้จ่ายมหาศาล ทั้งตรวจทั้งรักษาคนจำนวนมาก จึงพยายามตัดไฟตั้งแต่ต้นลมทันที หันมามองไทย เราช่วยกันดีจริงๆ ที่คุมอยู่ และอยู่ในสถานการณ์ที่ดีมากครับ การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ก็เป็นไปแบบสอดคล้องกับตัวเลข ไม่ใช่โดนบีบบังคับจากภาวะเศรษฐกิจ อันที่จริง ผมคิดว่าเราอยู่ในจังหวะที่ดีมากในการปรับเปลี่ยนแนวทางใหม่ๆ เรื่องนี้ยาว ขอติดไว้ก่อน เอาเป็นว่าช่วยกันต่อไปนะครับ หมายเหตุ - ตัวเลขในตาราง บางประเทศยังรายงานไม่ครบครับ