นพ.ชำนาญ ภู่เอี่ยม อดีตหัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข โพสต์ให้ความเห็นผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า... “การใช้พลังมวลชนเท่านั้นที่จะสกัดกั้นโควิดได้” เห็นพฤติกรรมคนไทยในช่วงมาตรการผ่อนคลายนี้ .... ถ้าบอกตรงๆแบบเกรงใจก็บอกว่า”น่าเป็นห่วง” ถ้าบอกแบบไม่เกรงใจไม่กลัวคนด่าก็บอกว่า”ไม่น่าดูเลย” ถ้าบอกแบบสุภาพ แบบกระซิบข้างหูนายกลุงตู่ก็บอกว่า”ผลงานที่ทำมา น่าจะเสียของ” “เห็นภาพผู้คนแย่งกันซื้อเหล้า..ราวกับจะฆ่ากันตาย เห็นภาพคนแย่งกันขึ้นรถไฟฯ..ราวกับจะไปสวรรค์ Social Distancing คือ การวิ่งแข่งแย่งกัน... มีแต่หน้ากากเท่านั้น ที่พอมีกันติดตัว”(Chamnan._) แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปจริงๆ ก็ไม่ใช่ความผิดของเขาทั้งหมด ร้านค้า และ รถไฟฟ้าจะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะถ้ามีการเตรียมการที่ดี มีระบบที่ดี มีเจ้าหน้าที่มาร่วมจัดระเบียบ ผมเชื่อ100%ว่ามันจะไม่วุ่นวายขนาดนั้น เพราะผมพอมีประสบการณ์กับตัวเองมาบ้าง..ประสบการณ์อย่างไรผมจะเล่าให้ฟัง.... เมื่อหลายปีมาแล้ว ผมไปเที่ยวสวนจตุจักร สมัยก่อนเขาอนุญาตให้นำรถเข้าไปในสวนได้ ช่วงตอนเย็นสังเกตว่ามีรถยนต์ขาออกติดมาก ผมเลยเดินเข้าไปดู ปรากฎว่าที่4 แยกแห่งหนึ่ง มีรถยนต์แถวหน้า4คันหันหน้ายันกันอยู่ไม่มีใครยอมใคร และเวลานั้นไม่มีเจ้าหน้าที่มาดูแล ผมรออยู่สักครู่เห็นไม่มีอะไรดีขึ้น จึงเดินไปทำหน้าที่จราจรโบกรถ โดยใช้การสลับกันผ่าน4แยกครั้งละ 5คัน ตอนแรกพวกเขาดูไม่เชื่อผมเพราะการแต่งกายไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ แต่หลังจากผมได้อธิบายให้รถแถวหน้าฟังเขาก็ยอมปฏิบัติตามโดยดี และในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงการจราจรก็คล่องตัว แถมรถยนต์คันหลังๆบางคันกล่าวขอบคุณผมด้วย กลับบ้านมีความสุขมาก แต่เสียดายอย่างเดียวในสมัยนั้นโลกออนไลน์ยังไม่เฟื่องฟู ป่านนี้ผมคงถูกถ่ายคลิปลงยูทูปในฐานะพลเมืองดีไปแล้ว...(จะเห็นว่าบางครั้ง ในสังคมไทยยังจำเป็นต้องมีคนจัดการ) ในสังคมทุกสังคม จะมีคนอยู่ 3ประเภท คือ... 1.ไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น 2.คอยดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น 3.ชอบทำอะไรให้เกิดขึ้น ประเภทแรก จะเป็นกลุ่มที่เข้าถึงยาก อาจเป็นเพราะระดับการศึกษา เศรษฐานะ และนิสัยส่วนตัว ประเภทที่ 2 “คอยดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น” คือ”พลังเงียบ”ที่พร้อมจะจับกระแส ขับเคลื่อนตาม ถ้าพวกเขาเห็นว่าดี มีเหตุมีผล น่าเชื่อถือ น่าศรัทธา มีโอกาสสำเร็จ หรือ มีโอกาสชนะ พวกเขาจะเอาด้วย.... แต่ขณะเดียวกัน บางครั้งกระแสที่ไม่ดี เขาก็จะเอาด้วย เช่น เห็นผู้คนได้เงินเยียวยา ทั้งๆที่ตนเองไม่มีคุณสมบัติที่จะได้ ก็จะเอาด้วย เห็นคนอื่นเอาเปรียบแซงคิวก็จะแซงด้วย ซึ่งกำลังเป็นปัญหาด้านวินัยอยู่ในขณะนี้ ประเภทที่ 3 “ชอบทำอะไรให้เกิดขึ้น” คือ ประเภทที่ไม่ดูดาย มีน้ำใจรับผิดชอบต่อสังคม จะมีนิสัยอยู่เฉยไม่ได้ถ้าเห็นอะไรไม่ดี หรือมีอะไรที่จะช่วยสังคมได้ ในปัจจุบันนี้ กลุ่มนี้นอกจากมีน้ำใจแล้วต้องมีความกล้า เพราะการทำความดีในแง่ของเขา อาจจะเป็นความไม่ดีในแง่ของคนอื่น (ขอบอกว่า สังคมไทยขณะนี้การทำความดีดูเหมือนจะยากกว่าทำความไม่ดี) เมื่อฟังอย่างนี้ ดูเหมือนบุคคลสำคัญที่จะเปลี่ยนสังคมได้ คือ บุคคลกลุ่มที่ 3 แต่ถ้าเราวิเคราะห์สังคมให้ลึกลงไปจริงๆ บุคคลสำคัญของสังคมที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในขณะนี้ ไม่ใช่คนกลุ่มที่ 3 ที่”ชอบทำอะไรให้เกิดขึ้น” หากแต่เป็นคนกลุ่มที่สองที่”คอยดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น” เพราะพวกเขาคือ”คนส่วนใหญ่ของสังคม” พวกเขาคือพลังเงียบที่มีจำนวนมากที่สุดของสังคม สามารถชี้เป็นชี้ตายของสังคมได้... ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาโควิด-19ขณะนี้ กล้าบอกได้เลยว่า เราไม่สามารถชนะโควิดได้เลย ถ้าคนส่วนใหญ่ของชาติไม่มีวินัย ลำพังคนกลุ่มที่3 ต่อให้มีวินัยโดยเคร่งครัดพร้อมเพรียงกัน ก็สู้โควิดไม่ได้ แต่ถ้าคนกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมเอาด้วยโดยถ้าพวกเขารู้สึกว่ามันเป็นเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องมีวินัยโดยพร้อมเพรียงกัน การชนะโควิด-19ก็จะไม่ใช่แค่วาทะกรรมอีกต่อไป.... กล้าพูดได้ว่า การชนะโควิด-19 โดยไม่ต้องรอวัคซีนหรือรอยาจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้นำ และ กลุ่มแกนนำของประเทศสามารถเรียกความศรัทธา ความเชื่อมั่นจากพลังมวลชนกลุ่มใหญ่ของประเทศได้ และไม่จำเป็นต้องได้กำลังมาหมดสิ้น.. เพราะส่วนที่เหลือที่วุ่นวายวินัยย่อนอยู่ขณะนี้ จะเกาะกระแส ปรับตัวตามเองในไม่ช้า...เรื่องปากท้องจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะจะคลายล็อคเมื่อไรก็ได้ ถ้ามีวินัยกันทุกคน.... “การใช้พลังมวลชนเท่านั้นที่จะสกัดกั้นโควิดได้”