SUPER เดินหน้าเสียบปลั๊กจ่ายไฟโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน จังหวัดพิจิตร กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน 9 เมกะวัตต์ เผยมีโครงการโรงไฟฟ้าขยะในมือที่อยู่ระหว่างการพัฒนาตามแผนงานจำนวน 57.9 เมกะวัตต์ มีกำหนดทยอย COD ต่อเนื่องในช่วง 2-3ปี ข้างหน้า หนุนผลงานสร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากโซลาร์ฟาร์ม-วินด์ฟาร์ม ในเวียดนาม และประเทศอื่นๆ เพื่อเติบโตแกร่งและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทและผู้ถือหุ้น นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER)เปิดเผยว่า บริษัท ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 6. จํากัด (SEE6) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SUPER ภายใต้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชนที่จังหวัดพิจิตร ขนาดกำลังการผลิตเสนอขาย 9.9 เมกะวัตต์ เดินเครื่องจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) 9 เมกะวัตต์ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)ซึงจะช่วยผลักดันรายได้ของบริษัทเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการผลิตและสร้างรายได้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเข้ามาเสริมกับรายได้ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้โครงการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน จังหวัดพิจิตร มีมูลค่าลงทุนก่อสร้างทั้งหมด 1,405 ล้านบาท ได้รับวงเงินสนับสนุนจาก ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ( EXIMBANK Thailand ) โดยคาดว่าจะมีรายได้จากโครงการกว่า 800 ล้านบาทต่อปี สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าขยะ จังหวัดพิจิตร เป็นอีกหนึ่งโครงการโรงไฟฟ้าของเรา จากก่อนหน้าที่ COD โครงการโรงไฟฟ้าขยะ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะจำหน่ายไฟฟ้าปีละ 72 ล้านหน่วย ในอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Tariff +ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) Adder 3.5 บาทต่อหน่วย มีระยะเวลา 7 ปี ผมเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นอีกหนึ่งในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทนอกเหนือโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยปัจจุบัน SUPER มีโรงไฟฟ้าขยะที่ดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการรวม 6 แห่ง ปริมาณไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟรวม 64 เมกะวัตต์ โดยเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะของบริษัทย่อยของ SUPER จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์(COD) ให้กับให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 2 โครงการ ปริมาณการซื้อขายไฟตามสัญญารวม 18.0 เมกกะวัตต์ ขณะที่ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะ จังหวัดหนองคาย 6 เมกะวัตต์,โรงไฟฟ้าจากขยะ จ.นนทบุรี 16 เมกะวัตต์,โครงการโรงไฟฟ้าจากขยะ จ.นครศรีธรรมราช กำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าจากขยะ จ.เพชรบุรี 8 เมกะวัตต์ คาดว่าจะทยอย COD ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ( 2563-2565 ) ประธานคณะกรรมการ SUPER กล่าวอีกว่า บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2563 เติบโต 20% จากปีก่อน สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่เข้าไปลงทุนในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการต่อเนื่องทั้งโครงการโซลาร์ราชการและสหกรณ์,การซื้อขายไฟฟ้าในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ SPP Hybrid Firm โครงการโรงไฟฟ้าขยะ รวมไปถึงแผนในการขายไฟการขายไฟฟ้าโดยตรงให้กับลูกค้าในลักษณะ Private PPA รวมไปถึงขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทและผู้ถือหุ้น