รศ.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กชื่อ Suvinai Pornavalai ระบุว่า... ชนวนสงครามโลกครั้งที่สาม? จับตาโลกฟ้องจีนค่าปฏิกรรมสงครามโควิด-19 ช่วงสัปดาห์ต้นเดือนเมษายน สื่อต่างประเทศรายงานว่ามีหลายองค์กรและบุคคลในต่างประเทศได้ยื่นฟ้อง "#การเรียกร้องค่าชดเชย" ต่อประเทศจีนเนื่องจากดำเนินการไม่เพียงพอที่จะจำกัดการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จนลุกลามกลายเป็นโรคระบาด การอ้างสิทธิ์แม้ว่าจะแตกต่างกัน แต่สามารถจำแนกได้เป็นสามกลุ่มใหญ่ ฟ้องโดยตรงต่อรัฐบาลจีนในศาลต่างประเทศ กดดันผ่านรัฐบาลของตนให้ดำเนินคดีให้จีนชดเชยความเสียหาย หรือปลดหนี้ของประเทศตน ฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ กับ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เหล่านี้ผู้เชี่ยวชาญว่า บางมุมเปรียบเหมือน "ค่าปฏิกรรมสงคราม" ที่ผู้ก่อเหตุสงครามต้องจ่ายเป็นค่าชดเชยเพื่อให้ครอบคลุมความเสียหายระหว่างสงคราม เพียงแต่นี่เป็นรูปแบบสงครามที่เรียกว่า "สงครามไร้ขีดจำกัด" (Unrestricted Warfare) #คดีความกลุ่มแรก ฟ้องโดยตรงต่อรัฐบาลจีนในศาลต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น สำนักงานกฎหมายที่ตั้งอยู่ในฟลอริด้าในนามของผู้อยู่อาศัยในฟลอริด้าได้ยื่นคดีในศาลฟลอริดาตอนใต้กับรัฐบาลจีน กล่าวหาว่าจีนล้มเหลวในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาฯ ในอู่ฮั่นและปล่อยให้มันกลายเป็นโรคระบาด มีผู้เสียชีวิตไปหลายหมื่นคนและก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล นอกจาก สำนักงานในฟลอริด้า ยังมีอีกหน่วยงานกฎหมายในรัฐมิสซูรี่ของสหรัฐอเมริกา ได้ฟ้องรัฐบาลจีนเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหาย #คดีความกลุ่มที่สอง คือกลุ่มที่กดดันผ่านรัฐบาลของตนให้ดำเนินคดีให้จีนชดเชยความเสียหาย ตัวอย่างเช่น ในการสัมภาษณ์กับ Fox Television สมาชิกรัฐสภาของพรรครีพับลิกันจากรัฐอินเดียนากล่าวว่า จีนควรจ่ายค่าชดเชยสำหรับความเสียหายที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกา หรือโดยในลักษณะให้ใช้วิธีปลดหนี้ที่สหรัฐฯ เป็นลูกหนี้อยู่ นอกจากนี้สมาชิกรัฐสภาออสเตรเลียได้เสนอให้ยึดคืนที่ดินจากบริษัทจีนในออสเตรเลียเพื่อชดเชยกับข้อหาว่าจีนแพร่ไวรัส ในสหราชอาณาจักร Henry Jackson Society หน่วยงานนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอังกฤษ กำลังมองหาการสนับสนุนทั่วโลกในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากประเทศจีน 5.6 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับการ 'ปกปิดข้อมูลไวรัส' #คดีความกลุ่มที่สาม ฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ กับ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีองค์กรและบุคคลยื่นอุทธรณ์ผ่านหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อให้จีน "รับผิดชอบ" ต่อการระบาดใหญ่และบังคับให้จ่าย "ค่าชดเชย" ตัวอย่างเช่น องค์กรพัฒนาเอกชนบางแห่งในอินเดียได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้จีนจ่ายเงิน "ชดเชย" ให้กับประชาคมระหว่างประเทศสำหรับความสูญเสียที่เกิดจากการระบาดใหญ่ นอกจากนี้นักกฎหมายชาวอเมริกันได้ยื่น "คดี" ในศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) กล่าวหาจีนว่า "จงใจพัฒนา" ไวรัสฯ เป็น "อาวุธชีวภาพร้ายแรง" อ้างความล้มเหลวของรัฐบาลจีนและทหาร "เพื่อป้องกันอู่ฮั่น บุคลากรของไวรัสวิทยาจากการติดเชื้ออาวุธชีวภาพ จากนั้นนำไวรัสออกสู่ชุมชนโดยรอบและแพร่กระจายไปยังสหรัฐอเมริกา " นักกฎหมายอ้างว่า เนื่องจากเป็น "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" ศาลอาญาระหว่างประเทศ ควรสอบสวนปัญหานี้ ถ้าอัยการไอซีซีเชื่อว่าคำฟ้องและหลักฐานที่ส่งมานั้นมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะเริ่มการสอบสวน และนี่คือส่วนหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มให้ความเห็นถึงความพยายามในการเชื่อมโยงข้อมูลโดยตั้งสมมติฐานไปในทิศทางให้ไวรัสเป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นจากห้องปฏิบัติการชีวภาพ มากกว่าการสืบหาสาเหตุเพื่อพัฒนาวัคซีน ซึ่งความเป็นไปได้มากน้อยก็คงขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของหลักฐานแต่ละฝ่าย ผู้เชี่ยวชาญฯ เสริมว่า ในเรื่อง #การตัดยกหนี้ให้สหรัฐฯ และ #ยึดที่ดินบริษัทจีนในออสเตรเลีย เป็นเรื่องผิดกฎหมายไม่น้อยเพราะเชื่อมโยงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่กับการอ้างสิทธิ์ละเมิดสัญญาอย่างไร้เหตุผล ณ เวลานี้ #ข้อกล่าวหาเรื่องจีนสร้างไวรัสอู่ฮั่นยังไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ และยังถกเถียงกันอีกกับความจริงที่ว่ามีการรายงานการระบาดครั้งแรกในอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยเพียงอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่ามันมาจากประเทศจีน ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายกล่าวว่า ในกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากข้อพิจารณาเรื่องเขตอำนาจศาล ยังมีการกระทำของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นไม่สามารถนำมาประกอบกับการกระทำของรัฐ การแพร่เชื้อของคนในประเทศใดไม่ใช่จะนำมาประกอบเป็นการกระทำของรัฐบาลนั้นได้ ยังมีเหตุอื่น ๆ อีก อาทิ ความล้มเหลวของจีน หรือความล้มเหลวในการบริหารจัดการของรัฐบาลอื่น ๆ ในการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสในประเทศนั้น ๆ เพื่อประกอบคดีความทั้งในทางข้อกฎหมายและและข้อเท็จจริง สามกลุ่มคดีนี้ (และจะมีกลุ่มคดีที่สี่อื่น ๆ อีกหรือไม่) น่าสนใจติดตามกันว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป