นายโชติช่วง ศูรางกูร รองกรรมการผู้จัดการหนุ่มสาวทัวร์ ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ว่า หลังผ่านวิกฤติครั้งนี้ไป สิ่งที่เหลือไว้ คือ ร่องรอยความเสียหายที่ให้ระลึกถึง และสถานการณ์โดยรวมน่าจะกลับมาอย่างสมบูรณ์ ทั้งนักท่องเที่ยว บริษัททัวร์ รถเช่า โรงแรม สายการบิน คงจะเป็นต้นปี 2564 ยกเว้นประเทศไทยจะมีเกราะป้องกันไวรัส ก็จะช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ถึงกระนั้นในทุกวิกฤติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด อย่างวิกฤติการเงินที่ผ่านมาก็ทำให้ภาคการเงินแข็งแรงขึ้น ครั้งนี้ก็เช่นน่าจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแข็งแกร่งขึ้น พร้อมมากขึ้น เรียนรู้มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการด้านท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ นายโชติช่วง กล่าวว่า ช่วงต้นปีหน้า เมื่อสถานการณ์ท่องเที่ยวเริ่มมีแนวโน้มที่ดี แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปมีอยู่ประมาณ 10 ข้อ คือ 1. MICE is a mouse ธุรกิจ MICE ที่มีแนวโน้มเติบโตในช่วงก่อนหน้านี้ จะย่อขนาดลง งานอีเวนท์ใหญ่ๆ นิทรรศการ การจัดประชุมสัมมนา การจัดงานเฉลิมฉลองต่างๆ สถานที่จัดงานที่มีจำนวนคนกลุ่มใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องจะไม่เป็นที่นิยม venueต่างๆ โดยเฉพาะโรงแรมต้องหันมาทำ yield จากส่วนอื่นมากขึ้น กระทบต่อกลุ่ม Volume business แน่นอน ต้องหันมาทำแบบซอยย่อยมากขึ้น ไม่ได้เน้น volume แต่เป็น value ที่มีเอกลักษณ์ 2. Size matters การท่องเที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ เที่ยวกับคนที่ไม่รู้จัก จะเป็นที่นิยมน้อยลง ส่วนการเที่ยวแบบFIT เที่ยวแบบรวบรวมกลุ่มเพื่อน ครอบครัว ญาติ ที่เป็นกลุ่มของคนรู้จักจะนิยมมากขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจระหว่างการท่องเที่ยว 3. First in Last out การท่องเที่ยวระหว่างประเทศทั้ง Inbound & Outbound ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ต้นปีจะกลับมาช้าที่สุด ท่องเที่ยวในประเทศจะดีขึ้น เมื่อเข้าไตรมาสที่ 3 โดยโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ จะกลับมาเร็วที่สุด เพราะทุกคนสามารถขับรถไปกับเพื่อน/ครอบครัวได้ ส่วนโรงแรมก็จัดการด้าน operation และสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มความมั่นใจในความสะอาด เช่น อาหารเช้าแบบบุฟเฟต์จะกลายเป็นset menu , free room service, จากที่ไม่ซักผ้าปู/ผ้าขนหนูทุกวันเพราะรักษ์โลก จะเปลี่ยนมาซักทุกวันเพื่อความสะอาด เป็นต้น โรงแรมขนาดเล็กจะเรียก ความมั่นใจ ได้มากกว่าโรงแรมใหญ่ที่ต้องมีการแชร์ facilities กับคนจำนวนมาก 4. End of a price war (this round) เป็นการสิ้นสุดสงครามราคาของทัวร์ในวิกฤติครั้งนี้ ราคาทัวร์จะกลับมาสูงขึ้น เพราะที่ผ่านมาทัวร์ราคาถูกส่วนใหญ่มาจาก wholesale agent ที่ทุ่มทุน bulk ตั๋ว ทำเส้นทาง Charter flight การใส่ Volume เข้าไปมากๆ ทำให้ ทำราคาต่ำลงได้ แต่จากวิกฤตินี้ กลุ่มWholesale จะกล้ารับความเสี่ยงน้อยลง ลงทุนไม่เต็มมือเหมือนแต่ก่อน เพราะไม่รู้ว่า จะมีสถานการณ์ไวรัสหรือสถานการณ์อี่นๆ จะเข้ามาแทรกแซงอีกหรือไม่ ส่วนสายการบินที่ขาดสภาพคล่องหนัก ก็คงไม่จัดโปรแบบแทบไม่มีกำไร ในช่วงแรกที่เส้นทางยังไม่เปิดกลับมาทั้งหมดซ ในทางกลับกันภาคของโรงแรมพร้อมที่จะทุ่มกลยุทธ์ทางการตลาดและหั่นราคาเพื่อตอบรับความต้องการที่กำลังบูมหลังคนกักตัวกันมานาน 5. Zero to Hero  ท่ามกลางวิกฤติจะเห็นหลายบริษัทหยุดแล้วปรับระบบงานภายในและอีกหลายบริษัทปรับตัวเปลี่ยนแปลงการขายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเอเย่นต์ทัวร์ที่ขายทัวร์ไม่ได้ แต่ใช้จุดแข็งจากการเป็นช่องทางการขาย(Distribution) ที่มี customer database ใหญ่ ปรับเปลี่ยนเป็นช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย รวมถึงบริการ delivery ซึ่งเมื่อวิกฤติจบลง สินค้าเหล่านี้จะเป็นรายได้เพิ่มให้อีกทางหนึ่ง นอกจากทัวร์ที่เป็นธุรกิจหลัก และกลายมาเป็นคู่แข่งที่เข้มแข็งในวงการ คนที่ปรับตัวได้และปรับตัวเร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลงแม้ในยามวิกฤติใหญ่ จะมีศักยภาพการแข่งขันที่สูงและจะอยู่รอดในทุกสถานการณ์ เปลี่ยนจากวิกฤติเป็นโอกาส เป็น Survival of the fittest อย่างแท้จริง 6. Don’t put all your eggs in one basket  ธุรกิจจะรู้จักการกระจายความเสี่ยงมากขึ้น (Diversification) ไม่ทำตลาดเดียว และจะมีแหล่งรายได้มากกว่าหนึ่งทาง สนใจกระแสเงินสดและสภาพคล่องตัวเองมากขึ้น และให้ความสำคัญกับต้นทุนของธุรกิจ โดยเฉพาะต้นทุนคงที่ คนที่เป็นพนักงานก็เช่นกัน จะหารายได้หลากหลายทางมากขึ้น ทำ side job มากขึ้น และอาจกล้าเสี่ยงทิ้งงานประจำออกไปทำงานอิสระมากขึ้น 7. Short term target  เกมส์การลงทุนต่อไปจะมุ่งผลในระยะสั้น จะระมัดระวัง เพื่อเลี่ยงความไม่แน่นอนต่างๆ จะถือเงินสดมากขึ้น การลงทุนระยะกลางจะลดลงเพื่อลดความเสี่ยง 8. Function leads Emotion จากที่คนใช้ Emotion ในการซื้อสินค้าในระยะหลังๆ จะปรับเปลี่ยนมาเป็นเรื่อง function ของๆสิ่งนั้นมากขึ้น ดูเรื่องความจำเป็นมาก่อน รู้จักประหยัด ใช้เงินอย่างคุ้มค่า ไม่ได้ซื้อจากความอยากเพียงอย่างเดียว 9. Who is Who สำหรับ Human resource เป็นขุมกำลังสำคัญในทุกธุรกิจบริการ ทำให้ในยามวิกฤติ หลายบริษัทเลือกที่จะทำตรงข้ามกับตำราการเงิน คือ แทนที่จะลดต้นทุนคงที่ทันที เพิ่มสภาพคล่อง เพราะกระแสเงินสดคือกระแสเลือด ถ้าหมด ธุรกิจก็ตาย กลับไม่ลดคน เลี้ยงดู ช่วยเหลือพนักงาน เพราะถือเป็นความห่วงใยที่บริษัทมีต่อพนักงาน วิกฤตินี้จะทำให้เห็น True Colour ของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง โดยฝั่งนายจ้าง จะเห็นคนที่เป็นผู้นำ (Leader) ใช้อารมณ์ความรู้สึก เสียสละส่วนของตัวเองก่อน แล้วให้ลูกน้องกินให้อิ่ม ตามคอนเซปต์ Leader eats last กับอีกกลุ่มที่เป็น เจ้านาย (Boss) ที่เลือกทำสิ่งที่ควรทำตามตำรา แบ่งสัดส่วนของตนและลูกน้อง แล้วค่อยตัดทอน  ในส่วนของลูกจ้าง จะเห็นว่าใครเป็นยังไง ใครสำคัญ ใครรับผิดชอบ ใครไว้ใจได้ ใครช่วยเหลือ ใครเข้าใจ ใครที่ควรอยู่เมื่อมาถึงจุดที่ต้องเลือก ยิ่งหลังวิกฤติจะมี skilled labours ล้นตลาด เพราะที่ผ่านมามีคนว่างงานเป็นจำนวนมาก 10. New Normal  ซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปแบบก้าวกระโดด คนจะต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น Sharing economy จะกลายมาเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวัง อย่าง Airbnb ที่อาจไม่ได้รับการยอมรับด้านการดูแลความสะอาดเท่ากับโรงแรม ผู้บริโภคจะศึกษาเงื่อนไขก่อนซื้ออย่างจริงจัง โดยเฉพาะคนที่เคยมีแผล และคนจะเน้นความ Hygiene ในการเดินทาง ต้องมี hand gel นั่งกินข้าวในกลุ่มที่เล็กลง ต้องมีช้อนกลาง ความเบียดเสียดแออัดจะสร้างความไม่สะดวกใจ ความสะอาด ถูกสุขอนามัยจะถูกเอามาใช้ในการสื่อสารการตลาดและเจาะเข้ากลุ่มเป้าหมายมากขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคจะเคยชินกับการสั่งอาหาร ซื้อของ จ่ายเงินออนไลน์เพราะมีเวลาและโอกาสมากมายให้เรียนรู้ในช่วงกักตัว และจะเป็นเทรนด์ใหม่ในการเข้าถึง ดังนั้นในทุกสงคราม ไม่มีใครไม่เจ็บตัว ครั้งนี้ก็เช่นกัน ถ้ามองในแง่บวก What doesn't kill you, makes you Stronger คือการได้ประสบการณ์ ได้เรียนรู้วิธีการบริหารวิกฤติจากนานาชาติ รู้จักคนบางคนมากขึ้น รู้จักบ้าน รู้จักว่าไม่มีอะไรแน่นอน อย่าฟุ่มเฟือย รู้คุณค่าของอะไรหลายๆอย่าง ที่ไม่เคยคิดถึงยามที่มี แต่คิดถึงสุดๆเมื่อขาด  สำหรับคนด้านท่องเที่ยว ต้องเตรียมพร้อม ปรับรับกับการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อคนเริ่มเชื่อมั่นที่จะเดินทางอีกครั้ง การท่องเที่ยวพุ่งทะลักอย่างแน่นอน