เมื่อวันที่ 11 เม.ย. นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการวุฒิสภาการเกษตร ด้านการผลิต อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่มีผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจของทั่วโลกเกิดการชะลอตัว โดยการประเมินของธนาคารชาติคาดว่า GDP ของประเทศไทยจะติดลบประมาณ 5.3% จนทำให้รัฐบาลต้องออกพระราชกำหนด 3 ฉบับ วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจไทย การเกษตรไทยต้องใช้วิกฤติเป็นโอกาส เราจะเห็นได้ว่ากลุ่มสินค้าเกษตรที่ไม่ได้รับผลกระทบ อาทิ ทุเรียน ข้าวหอมมะลิ แต่ในระยาวอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ เพราะประเทศผู้ซื้อมีปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังกังวลเรื่องสุขอนามัยของผู้บริโภค และยังมีปัญหาเรื่องการขนส่ง จึงทำให้การเกษตรของประเทศไทยเกิดปัญหาตามมาด้วย การบิดเบือนกลไกตลาดด้วยการให้เปล่า เป็นการสร้างแรงจูงใจที่จะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตจนทำให้ผลผลิตมากกว่าความต้องการของตลาด จะเป็นปัญหาในอนาคต การกระตุ้นให้เกษตรกรปรับตัวโดยนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน จะเป็นการเปลี่ยนแปลงการเกษตรของประเทศไทย ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาของ TDRI เงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน ของรัฐบาลที่ให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยยกเว้น 10 กลุ่มอาชีพ ซึ่งรวมถึงอาชีพเกษตรกร ทำให้เกิดการตรวจสอบคนไทย ซึ่งทำให้เกิดแผนงานด้านสาธารณสุขและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยมีการเยียวยาประชาชน 6 เดือน เยียวยาเกษตรกร และดูแลด้านสาธารณสุข วงเงิน 600,000 ล้านบาท อีกทั้งยังมีงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ครอบคลุมการดูแลสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจในชุมชน และสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีกประมาณ 400,000 ล้านบาท จากการช่วยเหลือของรัฐบาล ทำให้เกิดการพิสูจน์ฐานะบุคคลของเกษตรกรอย่างแท้จริง เพราะต้องใช้หลักฐานการลงทะเบียน เลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยแสดงเป็นคนภาคเกษตรหรือครัวเรือนภาคเกษตร จากการที่ทราบว่ามีคนไปลงทะเบียนเพื่อรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลโครงการเราไม่ทิ้งกัน มีจำนวน 23 ล้านคน และคนในภาคเกษตรอีก 8 ล้านครัวเรือน ซึ่งจะมีคนในภาคเกษตรถึง 32 ล้านคน โดยใช้อัตราส่วน 4 คนต่อครัวเรือน คงต้องมีการพิสูจน์ข้อมูลที่ถูกต้องอีกสักพัก เพราะการลงทะเบียนภาคการเกษตร เป็นแบบสมัครใจ การตรวจสอบจำนวนเกษตรกรที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่รัฐบาล และคนทำงานด้านเกษตรอยากให้เกิดขึ้น การหยุดและเปลี่ยนแปลงอาชีพการเกษตร จะขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเกษตร ถ้าขาดทุนก็เลิกหรือเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ราคาทุเรียนดีก็โค่นยางมาปลูกทุเรียนแทน หากใช้วิกฤติเป็นโอกาสในการลงทะเบียนเกษตรกรเป็นภาคบังคับ ทำให้เกิดเอกภาพของอาชีพเกษตรกร การพัฒนาและช่วยเหลืออาชีพเกษตรจะทำได้ตรงเป้าตรงจุด การออกกฎหมายให้ทะเบียนเกษตรกรเป็นทะเบียนที่ถูกต้อง ซึ่งในอเมริกาและยุโรป อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ต้องขึ้นทะเบียนและบัตรมีอายุ 5 ปี ถ้ามีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น อาทิเช่น โควิด19 รัฐบาลต้องการช่วยเหลือก็สามารถจ่ายเงินได้ทันที ถ้ารัฐบาลจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรของไทย ต้องออกพระราชกำหนดการขึ้นทะเบียนเกษตรกร จะทำให้เกิดการปฏิรูปการเกษตรกรไทย จะทำให้เราเป็นครัวของโลกอย่างแท้จริง