ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างโดยเฉพาะประชาชนในทุกภาคส่วน ทั้งแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานเห็นถึงความสำคัญในการช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงมาตรการ การให้ความช่วยเหลือว่า “กระทรวงแรงงานได้แบ่งความช่วยเหลือออกเป็นแรงงานในต่างประเทศและในประเทศ สำหรับแรงงานในต่างประเทศ เรามีแผนในการป้องกัน การแพร่กระจายของโควิด-19 เราห่วงใยความปลอดภัยทั้งแรงงานและทูตแรงงานใน 12 ประเทศทั่วโลก โดยจัดให้ มีการให้ความรู้ และการแจ้งข้อมูลข่าวสารผ่านไปให้กับนายจ้างและลูกจ้าง ดูแลทั้งกลุ่มผู้เดินทางไปทำงานอย่างถูกกฎหมายและลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย ประสานงานกับทูตแรงงานทั้ง 12 ประเทศทั่วโลก ให้เข้าไปดูแล แรงงานทั้ง สองกลุ่ม เป็นอย่างดีที่สุด ประสานกับประเทศปลายทางต่างๆเพื่อให้แรงงานงานที่ทำงานในต่างประเทศ ได้รับความปลอดภัย สำหรับแรงงานในประเทศเราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แรงงานในระบบ หรือแรงงานในมาตรา 33 และแรงงานนอกระบบผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานมาตรา 39 และมาตรา 40 สำหรับแรงงานในมาตรา33 สามารถเดินทางไปรับการตรวจ เชื้อโควิด-19 ได้ในโรงพยาบาลมี่ท่านมีสิทธิ์ได้ กรณีเดินทางไปต่างจังหวัด สามารถเข้าไปรับการตรวจที่โรงพยาบาลใกล้ๆได้ การตรวจหาเชื้อ โควิด-19 นั้นจะอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์ว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ควรจะตรวจหาเชื้อโควิดไหม เพราะค่าใช้จ่ายในการตรวจมีอัตราค่อนข้างสูง 5,000 ถึง 7,000 บาท กรณีแรงงานในมาตรา 33 ป่วยจากติดเชื้อโควิด 19 นั้น 30 วันแรกของการนอนในโรงพยาบาลจะได้รับเงินเดือนตามปกติ ส่วนค่ารักษาพยาบาลสำนักงานประกันสังคมดูแลเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีป่วย และถ้านอนโรงพยาบาลเกิน 30 วัน เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายจะถูกตัดไป ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนให้ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนตามอัตราจ่ายเงินสมทบที่จัดเก็บสูงสุด15,000บาท สำหรับแรงงานในมาตรา 39 ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จะได้รับสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์และการนอนในโรงพยาบาลใน 30 วันแรก ได้รับสิทธิ์เงินทดแทนรายได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ของการส่งเงินสมทบในอัตรา 4,800 บาท สำหรับแรงงานในมาตรา 40 กรณีป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ทางสำนักงานประกันสังคมไม่ได้ดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลในส่วนนี้ ต้องไปใช้สิทธิ์ในส่วนของ สปสช. แต่จะได้รับเงินทดแทนรายได้ เมื่อนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างต่ำ 3 วัน ได้รับวันละ 300 บาท และในกรณีที่แพทย์ให้มารักษาตัวที่บ้าน 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม 200 บาทต่อวัน การดูแลประชาชน ในกรณี โควิด -19 ในเวลานี้ จะแยกเป็น 2 ส่วน คือแรงงานในระบบ หรือแรงงานในมาตรา 33 ทางกระทรวงแรงงานจะดูแลในกรณีเงินทดแทนการว่างงานจากกรณีคำสั่งของรัฐ หรือแม้กรณีที่นายจ้างไม่สามารถเปิดกิจการต่อไปได้อันเกิดจากเหตุสุดวิสัยที่เกิดจาก โควิด กรณีนี้มารับการชดเชยตามเงื่อนไขของกระทรวงแรงงงาน โดยมีสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดูแล และสำหรับกรณีที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างกักตัว 14 วันเพราะมีความเสี่ยงใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างตามปกติ แต่ถ้าลูกจ้างขอหยุดกักตัว 14 วันเอง โดยลูกจ้างจะต้องใช้วันลาตามสิทธิ์ของตนเอง ซึ่งนายจ้างยังคงจ่ายค่าจ้างตามปกติ แต่ในกรณีขอกักตัวแบบไม่ได้ใช้วันลา นายจ้างสามารถงดจ่ายค่าจ้างได้ สำหรับแรงงานในมาตรา 39 และมาตรา 40 จะได้รับช่วยเหลือกรณีการรับได้ผลกระทบจาก โควิด -19 จากรัฐบาล ตามมาตรการของกระทรวงการคลัง ที่เปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์การเยียวยา เดือนละ 5,000 บาท และในกรณีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น ผู้ประกอบจะได้รับการปรับลดการส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม และระยะเวลาการส่งเงินสมทบ จะมีการยืดเวลาให้ในเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม โดยการส่งเงินสมทบในเดือนมีนาคมนี้ ให้ไปยื่นได้ 15 กรกฎาคม และขยับเลื่อนแต่ละเดือนไปเป็นลำดับ รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ได้ฝากข่าวดีถึงนายจ้างกรณีที่มีกฎหมายกำหนดในเรื่องการพัฒนา ให้ความรู้ อบรมเสริมทักษะ ให้ลูกจ้างนั้น จากเดิมจำนวน ร้อยละ 50 ของลูกจ้างที่มีอยู่เหลือร้อยละ 10 ของลูกจ้างที่มีอยู่ และในกรณีที่นายจ้างได้กู้เงินจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ของกระทรวงแรงงานมีกำหนดชำระคืน ใน 1 ปี หรือ 12 เดือน ได้ยืดเวลาให้เป็น 18 เดือน สำหรับการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หลักสูตรที่เปิดรับสมัครแล้วตอนนี้ก้อชะลอการอบรมไปก่อน และปรับให้บางหลักสูตรสามารถอบรมทางออนไลน์ได้ บางหลักสูตรแบ่งอบรมในภาควิชาการไปก่อน 50 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นค่อยกลับมาอบรมในภาคปฏิบัติ ทางกระทรวงแรงงานได้เปิดศูนย์ทำงาน พาร์ทไทม์ ปัจจุบันมีนายจ้างแจ้งยอดความต้องการพนักงาน พาร์ทไทม์ จำนวน 28,000 กว่าตำแหน่ง ท่านใดมีความประสงค์จะหางานพาร์ทไทม์ สามารถติดต่อเข้ามาที่เว็บไซต์ และผ่านตู้ Job Box หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 รศ.ดร.จักษ์ ฝากถึงลูกจ้างและนายจ้าง ผู้ประกอบการทุกคน ว่าในสถานการณ์แบบนี้ เราย่อมได้รับผลกระทบกันทุกคน เราเปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน นายจ้างคือเหรียญหนึ่งด้าน ลูกจ้างคืออีกด้านหนึ่ง เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ที่ต้องช่วยกันเดินผ่านวิกฤติไปได้ด้วยกัน มีปัญหาหรือข้อจำกัดอะไรในการทำงาน ทางกระทรวงแรงงานพร้อมให้คำแนะนำ กระทรวงแรงงานอยู่กับท่านทั้งนายจ้างและลูกจ้าง มาตรการดังกล่าวนี้ถ้าสถานการณ์โควิด -19 ยังไม่ดีขึ้น เราคงต้องมาพิจารณามาตรการต่างๆอีกครั้ง ขอให้ประชาชนทุกคนติดตามข่าว “ นอกจากความช่วยเหลือภาคแรงงานแล้วในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ปัญหาของภาคเกษตร รัฐบาลได้ทำการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในกลุ่มเกษตรกรผู้ประสบปัญหาคือเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ซึ่งประสบปัญหาการนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศทั้งแบบถูกกฎหมายและการลักลอบนำเข้า ส่งผลให้ราคาผลผลิต ตกต่ำ ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช ปัญหาเล่าส่งผลต่อคุณภาพและราคาขายมะพร้าว ที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญแหล่งใหญ่ นายอำเภอทับสะแกได้นำเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเกษตรอำเภอและนักวิชาการ เข้ารวมตัวเข้ามาพูดคุยถึงปัญหา โดยมีศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๑ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นผู้ประสานงานและจัดเวทีการพูดคุย นำโดย พล.ท.พิชัย เข็มทอง ผอ.ศปป๑ กอ.รมน. พล.ท.พิชัย ได้กล่าวว่า “การทำงานแบ่งเป็นการจัดเวทีสานเสวนาเพื่อรับฟังปัญหาและหาวิธีการแก้ไขปัญหา ในการจัดเสวนาจะอยู่ในแผนพัฒนาการเมืองซึ่งเป็นกระบวนการปรึกษาหารือเพื่อให้ได้แนวทางในการจัดการปัญหา และเมื่อทราบถึงแนวทางในการแก้ปัญหาเช่นปัญหาแมลงศัตรูพืชแล้ว ส่วนที่สองคือส่วนแผนรักษาความมั่นคงของมนุษย์ จะเข้าส่งเสริมให้ความรู้ในด้านต่างๆเช่นในการกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยใช้วิธีทางธรรมชาติ คือการเลี้ยงตัวเบียน เพื่อปล่อยในสวนมะพร้าวให้ตัวเบียนไปกินหนอนหัวดำที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัย ต้นทุนต่ำและได้ผลดี การส่งเสริมอาชีพอื่นๆที่ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์มะพร้าวเช่นการทำโลชั่นบำรุงผิว ทำสบู่ หรือน้ำมันมะพร้าว และผลิตภัณฑ์อื่นจากมะพร้าว งานทั้งหมดนี้จะอยู่ในการดูแลของศูนย์ประสานการปฏิบัติ ที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาพรวมของปฏิบัติการของแผนพัฒนาการเมืองและแผนรักษาความมั่นคงของมนุษย์ เป้าประสงค์คือความมั่นคงแห่งรัฐ” ทาง พล.ท.พิชัย ยังฝากถึงกลุ่มเกษตรกร ทุกกลุ่มว่า การแก้ปัญหา ต้องเริ่มต้นเกิดจากการแก้ปัญหาในพื้นที่ของแต่ละตนเองก่อน โดยไม่รอให้รัฐมาแก้ปัญหาให้ การแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อน เป็นการปลูกฝังในเรื่องหน้าที่พลเมือง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาการเมือง ถึงแม้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะสร้างผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง แต่ยังมีกลุ่มคนที่ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาของตนเอง กลุ่ม สหกรณ์การเกษตร วัน วัน วัน จำกัด จ.สุรินทร์รวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่จำหน่ายในท้องตลาดไม่ได้คุณภาพ มีคุณภาพต่ำมีการปะปนกันของสายพันธ์ ปรับวิธีการปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธ์เป็นแบบปลูกใส่ถุงพลาสติก ที่เรียกว่าปลูกข้าวนาถุง คุณณชมนฑ์ ตรงใจ ที่ปรึกษาสหกรณ์ วัน วัน วัน จำกัดกล่าวว่า “ได้นำความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ เช่นกรมการข้าว ศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าว จ.สุรินทร์ สำนักงานเกษตร ก้อนำมาประยุกต์ใช้ และในปี 2558 กอ.รมน. จ.สุรินทร์ ได้เข้ามาช่วย และส่งเสริม โดยมีงบประมาณเข้ามาสนับสนุน เรื่องถุงที่ใช้ในการปลูกข้าว โครงการนี้ได้รับรางวัลการบริหารดีเด่น ชนะเลิศอันดับ 1 จากการเข้ารวมประกวด ของกอ.รมน.ส่วนกลาง และยังได้เป็นตัวแทนของ กอ.รมน.ภาค 2 นำผลงานเข้าไปเสนอกับท่านนายกรัฐมนตรี พล.เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล” วิถีการปลูกข้าวนาถุง ใช้หลักการ สร้างความเครียด ให้กับต้นข้าว โดยการปลูกในถุงดำที่มีความหนาพิเศษ ใช้ดินผสมกับปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์ ที่กลุ่มผลิตขึ้นเอง ใส่เมล็ดพันธุ์ถุงละ 3 เมล็ด ดูแลรดน้ำ และใส่ปุ๋ยตามปกติ นำถุงไปวางได้ในสถานที่ทั่วไป ช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรที่พื้นที่น้อย ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ง่ายและสะดวกต่อการดูแล ลดการปลอมปนของสายพันธุ์ มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ พื้นที่ขนาด 1 ไร่ สามารถวางถุงข้าวได้ถึง 4,000 ถุง จากนโยบายภาครัฐ ที่สนับสนุนให้เกษตรรวมกลุ่มกัน และเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย กลุ่มเกษตรกร วัน วัน วัน ได้สร้างเครือข่ายให้สมาชิกสามารถนำการปลูกข้าวนาถุงแบบอินทรีย์ ไปใช้ในพื้นที่ตัวเอง และเมื่อหมดฤดูทำนา ก็นำดินถุงนั้นไปใช้ปลูกพืชผักอื่นๆได้ เป็นการประหยัดต้นทุนการผลิต พลตรี เอกภาพ สุหร่าย ที่ปรึกษา กอ.รมน.จังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า “ จ.สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องข้าว แต่ทุกปีเกษตรกร จะประสบปัญหา ภัยแล้ง หรือ น้ำท่วม ส่งผลกระทบให้เมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เพียงพอ ทาง กอ.รมน. จ.สุรินทร์ ได้ร่วมมือกับกรมการข้าว และกลุ่มเกษตรกร วัน วัน วัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาปลูกข้าวโดยไม่ใช้ที่นา ปรับเป็นการปลูกข้าวนาถุง และในปีนี้ศูนย์วิจัยข้าว ได้รับรองว่ากลุ่ม วัน วัน วัน เป็นกลุ่มที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ” พ.อ.ศุภชัย แก้วมณี ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๑ กอ.รมน. กล่าวเพิ่มเติมว่า "ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๑ มีภารกิจในการส่งเสริมกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ กลุ่มที่มีความยากจนที่สุดแต่เข้มแข็งที่สุด มีความรัก ความสามัคคี ยึดมั่นในศาสตร์พระราชา ยึดมั่นในหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคือภารกิจหลักของศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๑ ที่จะทำต่อไปในปี 2563" การเดินหน้าปฏิรูป เดินหน้ารวมใจต้านภัยโควิด-19 ภาวการณ์แพร่กระจายขิงเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน รัฐบาลได้จัดให้ มีนโยบายช่วยเหลือประชาชนและ ผู้ใช้แรงงานในทุกมิติ ทุกกลุ่ม รวมทั้งยังคงมุ่งแก้ปัญหาให้กลุ่มเกษตรกร พร้อมร่วมพัฒนาค้นหานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อใช้แก้ปัญหา ขอให้ประชาชนทุกคนร่วมเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางสาธารณสุข เราจับมือก้าวผ่าน ภาวะของโควิด-19 ไปด้วยกัน อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ