แม้ “ไต้หวัน” เป็นประเทศเล็กๆ คือ ขนาดพื้นที่เพียง 36,197 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรแค่ราว 25 ล้านคน แถมมิหนำซ้ำการยอมรับสถานภาพความเป็นประเทศ ก็ใช่ว่าจะเอกฉันท์ เพราะยังมีอีกหลายชาติ รวมไปถึงองค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง อย่าง สหประชาชาติ หรือยูเอ็น ไม่ยอมรับสถานภาพความเป็นประเทศ ทว่า “ไต้หวัน” ก็หาได้ย่อท้อต่อโชคชะตาข้างต้นไม่ เพราะในท่ามกลางที่พวกเขาเผชิญหน้ากับวิกฤติปัญหาหลายครา ก็สามารถฟันฝ่ามาได้ด้วยดี แถมยังได้รับเสียงสรรเสริญชื่นชมจากประชาคมโลกอีกต่างหากด้วย อย่างล่าสุด ในวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 หรือไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่กำลังคุกคามสุขภาพและคร่าชีวิตประชาคมชาวโลกให้ปลิดปลงราวใบไม้ที่ร่วงหล่น ณ เวลานี้ ก็ปรากฏว่า “ไต้หวัน” หรือที่หลายคนเรียกว่า “จีนเล็ก” บ้าง “จีนไทเป” บ้าง ได้รับคำเชยชมจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก ยกให้เป็นหนึ่งในประเทศที่รับมือกับวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสมรณะได้ดีที่สุดประเทศหนึ่ง พร้อมกับถูกหยิบยกให้เป็น “โมเดล” หรือ “แบบจำลอง” แนวทางที่ควรทำตามอย่างให้แก่ประเทศต่างๆ สำหรับการรับมือกับวิกฤติดังกล่าวกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ หากมีคำถามว่า หรือเป็นเพราะไต้หวัน เป็นประเทศเล็กๆ มีประชากรเพียง25ล้านคนกระมัง? ถึงได้ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้โดยง่าย ก็ต้องขอตอบว่า ประเทศออกสเตรเลีย แดนจิงโจ้ ซึ่งมีขนาดจำนวนประชากรไล่เลี่ยกับไต้หวัน คือ ราว 25 ล้านคน แต่ปรากฏว่า จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีปริมาณห่างกันไกลอย่างเทียบกันไม่ได้ โดยที่ออสเตรเลีย มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อจำนวน 5,635 ราย เป็นอย่างน้อย ขณะที่ ไต้หวันมีจำนวนเพียง 363 รายเท่านั้น ทั้งๆ ที่มีรายงานจากทางการไทเปยว่า พบการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงแรกๆ เมื่อช่วงปลายเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว หรือเมื่อกว่า 3เดือนที่แล้วเป็นต้นมา ทั้งนี้ เมื่อว่ากันเหตุปัจจัยความสุ่มเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดของโรคร้ายนั้น ก็ต้องบอกว่า ไต้หวันนั้นมีอัตราเสี่ยงมากกว่าหลายประการด้วยกัน นั่นคือ การมีพรมแดนที่อยู่ใกล้กับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นต้นตอ หรือศูนย์กลางของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 และนอกจากนี้ ไต้หวันประสบกับเกมหมากกลทางการเมืองระหว่างประเทศจากจีนแผ่นดินใหญ่สารพัด แม้กระทั่งการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม และได้รับการแจกจ่ายด้านข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก หรือดับเบิลยูเอชโอ (ฮู) ถึงขนาดทางการไต้หวันตำหนิประณามองค์การด้านสุขภาพสาธารณสุขระหว่างประเทศแห่งนี้ว่า ไม่ผิดอะไรกับเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่เลยทีเดียว ทว่า ไต้หวันก็สามารถจัดการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างอยู่หมัด เหตุปัจจัยที่ทำให้ไต้หวันประสบความสำเร็จ ก็เพราะว่า พวกเขาเคยได้รับบทเรียนโรคระบาดมาครั้งหนึ่งแล้ว จากวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส เมื่อปี 2546 (ค.ศ. 2003) จนไต้หวันติดอันดับ 3 ที่ผจญกับไวรัสซาร์ส โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 346 ราย และมีผู้ป่วยเสียชีวิต 181 ราย เมื่อพวกเขาเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยทันทีที่รู้ว่ามีเชื้อไวรัสร้ายปรากฏโฉมบนโลกเมื่อปลายเดือน ธ.ค.ปีที่แล้วเป็นต้นมา ทางการไต้หวัน ก็ออกมาตรการอย่างเป็นรูปแบบขึ้นมาใช้ปฏิบัติการโดยทันที เรียกว่า “รายการสิ่งที่ต้องกระทำ (Action Items)” โดยทางการไต้หวัน ออกมตรการเหล่านี้ๆ เป็นระยะๆ เรื่อยมา จนถึง ณ เวลานี้ มจำนวนอย่างน้อย 124 ข้อ หรือประการด้วยกัน เรียกว่า “รายการสิ่งที่ต้องกระทำ 124 ประการ (124 Action Items)” อาทิเช่น ข้อแรกเลยก็ได้แก่ การตวจตราด้านสุขภาพอย่างเข้มงวดแก่ผู้ที่เดินทางมาจากเมืออู่ฮั่น มณฑลเหอเป่ย จีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งไต้หวันได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. ปีที่แล้ว ในขณะที่หลายประเทศยังไม่รู้เรื่องอะไรเลยด้วยซ้ำ การกำหนดระดับของบรรดาประเทศที่มีความเสี่ยงโรคระบาด เพื่อเตือนภัยเรื่องการเดินทาง และคัดกรองอย่างเข้มงดต่อผู้ที่เดินทางมาจากบรรดาประเทศดังกล่าว ไม่เว้นแม้กระทั่งการออกมาตรการและเอาจริงเอาจังอย่างเข้มงวดต่อการจำหน่ายหน้ากากอนามัย การมีกระบวนการตรวจสอบหน้ากากอนามัยให้ได้มาตรฐาน ซึ่งหน้ากากอนามัยข้างต้นก็ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการควบคุมโรคระบาดในหมู่ประชาชนไม่ให้ลุกลามออกไป ทั้งนี้ นอกจากไต้หวันประสบความสำเร็จในการรับมือกับแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมาก ล่าสุด ไช่ อิง-เหวิน ประธานาธิบดีหญิงจอมแกร่งแห่งทางการไทเป ก็ประกาศตัว ขออาสาช่วยเหลือนานาประเทศที่ผจญชะตากรรมจากเชื้อไวรัสร้ายทันทีที่ได้รับการร้องขอมา