ปทุมธานีประชุมด่วนแนวทางการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พร้อมใช้หลัก"สุขภาพนำเสรีภาพ" เมื่อเวลา15.00.น. วันที่ 3 เม.ย.2563 ที่ห้องประชุมชั้น 7 อาคารกิตติวัฒนา รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ นายแพทย์สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี และคณะแพทย์ พยาบาล ผู้บริหารโรงพยาบาลอำเภอในจังหวัดปทุมธานี ร่วมประชุมเพื่อรับฟังเกณฑ์การรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 และแนวทางปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล สนาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้ข้อสรุปว่า เมื่อมีผู้ป่วยมีผลบวกเชื้อโควิด-19 ทางโรงพยาบาลจะมีขั้นตอนดังนี้ 1. ให้ผู้ป่วยโควิด-19พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ หากมีอาการหนักหรือรุนแรงจะให้การดูแลรักษาผู้ป่วยภายในห้องความดันลบ (Nagative pressure) ส่วนผู้ป่วยอาการที่ไม่รุนแรงจะอยู่ในห้อง Cohort ward ซึ่งเป็นห้องรวมกับผู้ป่วยโควิดท่านอื่น 2. เมื่อผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาและสังเกตอาการพบว่าอาการดีขึ้นแล้ว ทางโรงพยาบาลจะส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ 3. โรงพยาบาลสนามรับเฉพาะผู้ป่วยที่ผ่านการดูแลกับทางโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7 วัน โดยผู้ป่วยมีอาการคงที่ (ส่งไปพักรักษาตัวหรือกักกันตัวต่อที่โรงพยาบาลสนามจนครบ 14 วัน) 4. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ มีบริการทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลสนามตามมาตรฐาน (มีการติดตามอาการผ่านจอมอนิเตอร์วงจรปิด เพื่อดูอาการและใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย 5. หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง จะรับคนไข้กลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ อีกครั้งหนึ่ง * การเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการโควิด-19 ประกอบด้วย 1. ด้านบุคลากร ได้รับการสนับสนุนบุคลากรจากศูนย์สุขศาสตร์ ดังนี้ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. ด้านสถานที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ มีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด จำนวน 60 เตียง ห้องความดันลบ 4 เตียง และโรงพยาบาลสนาม 308 เตียง 3. ด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ปัจจุบันทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ มีการสำรองวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้สำหรับป้องกันบุคลากรไม่ให้ติดเชื้อจากผู้ป่วยไว้เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอพร้อมใช้ 4. ด้านการงบประมาณ โรงพยาบาลรับบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนวิกฤตในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากาก N95 , ชุด PPE เครื่องมือที่จำเป็นต่างๆ รวมถึงเครื่องมอนิเตอร์ที่ใช้ดูแลคนไข้ที่มีจำนวน 308 เตียง * โดยแนวทางการรับผู้ป่วย COVID-19 ของ “โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์” ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์จะต้องมีการยืนยันครบ 5 ข้อดังนี้ 1. ผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน มีผลภาพถ่ายรังสี (X-Ray) และสัญญาณชีพปกติ (อุณหภูมิไม่เกิน 75 องศาเซลเซียส และ Oxygen saturation มากกว่า 95%) 2. ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ สามารถสื่อสารรู้เรื่อง ไม่ก้าวร้าว และไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช 3. ผู้ป่วยแข็งแรงไม่มีปัจจัยเสี่ยง กลุ่มอาการไม่รุนแรง (Mind symptoms) ไม่มีไข้ 4. ต้องมีการเบิกยารักษา COVID-19 สำหรับให้ผู้ป่วยรับประทานด้วยตัวเองจนครบแผนการรักษาของแพทย์ 5. โรงพยาบาลต้นทางยินดีมารับผู้ป่วยกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลต้นทาง หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง * หมายเหตุ : กรณีไม่เข้าเกณฑ์ให้อายุรแพทย์โรคติดเชื้อเป็นผู้พิจารณา ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าว่า หมอเปรียบเสมือนนักรบที่อยู่แนวหน้าคอยต่อสู้สกัดกั้นข้าศึกที่มองไม่เห็น ด้วยความเสียสละอดทน ทีมแพทย์ต้องมีขวัญกำลังใจที่เข้มแข็งอยู่เสมอ เพื่อเอาชนะวิกฤตในครั้งนี้ และเคร่งครัดในเรื่องระยะห่างทางสังคมโดยจังหวัดปทุมธานีจะใช้หลัก”สุขภาพนำเสรีภาพ”ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวไว้ จากนั้น ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ นายแพทย์สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ได้ร่วมกันมอบอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ COVID -19ให้กับโรงพยาบาลอำเกอในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 รายการดังนี้ 1. ชุดอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (PPE) ได้รับบริจาคจาก แจ๊คหม่า 2. หน้ากากป้องกันการติดเชื้อ (N99) ได้รับบริจาคจากคณะแพทยวชิรพยาบาลที่คิดค้นขึ้นมาเอง