นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกวุฒิสภาโพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ระบุว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมจากCovid-19ที่ตามมาจะมหาศาล รัฐบาลต้องใช้เงินอีกมากเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูวิกฤตครั้งนี้จากงบประมาณแผ่นดิน ในระยะสั้นรัฐฯสามารถดึงมาจากงบกลางกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นสำหรับปี63ที่ตั้งไว้96,000ลบ. แต่ขณะนี้ใช้ไปแยะแล้ว โดยเมื่อ17 มี.ค.ครม.เพิ่งอนุมัติงบบรรเทาสถานการณ์Covidและภัยแล้งไปอีก14,610.45ลบ.(11กระทรวงและ4หน่วยงานอื่น) และ2,700ลบ.ในโครงการจ้างงานปชช.ที่ได้รับผลกระทบจากCovid ล่าสุดรัฐออกนโยบายเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบคนละ5,000บาทต่อเดือนรวม3เดือน คล้ายกับที่อังกฤษUKจ่ายคนละ2,500ปอนด์ต่อเดือนคนละ3เดือนสำหรับแรงงานอิสระ ยังไม่รู้จำนวนคนลงทะเบียนว่าเท่าใด แต่ถ้าจำนวนมากตามที่รัฐคาดการณ์ถึง9ล้านคน จะต้องใช้เงินถึง 135,000ลบ.เกินจากงบกลางที่เหลือ จึงต้องหาแหล่งเงินอื่น มติครม.เมื่อ10มีค.ให้หน่วยงานตัดงบประจำ10%ไปเป็นการจัดซื้อจัดจ้างรายย่อยหรือการจ้างงาน ส่วนงบศึกษาดูงานหรือไปราชการต่างประเทศก็ให้ปรับเป็นในประเทศหรือเปลี่ยนเป็นจัดซื้อจัดจ้างหรือจ้างงานในประเทศ ส่วนงบลงทุนครุภัณฑ์ต่ำกว่า1ลบ.หรือสิ่งก่อสร้างต่ำกว่า10ลบ.ซึ่งดำเนินการไม่ทันให้ปรับเป็นจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาCovidหรือภัยแล้งโดยเฉพาะโครงการที่ทำให้เกิดการจ้างงาน สำหรับโครงการที่ตั้งงบฯกลางสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินก็ขอให้ชะลอ รัฐจึงจะไม่ได้งบประมาณจากกรณีนี้มากนักนอกจากตราพรบ.โอนงบประมาณรายจ่ายปี63 เพื่อดึงงบประมาณข้ามกระทรวงมาเลยเพื่อไม่ให้ผิดม.35ของพรบ.วิธีการงบประมาณ2561 หรือผิดมาตรา24ของพรบ.วินัยการเงินการคลัง61 แต่ต้องรอเปิดสภาดำเนินการและได้เงินไม่พอ หรือการตราพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ตามม.21ของพรบ.วินัยการเงินการคลัง 2561 ก็ต้องรอเปิดสภาเช่นกัน คงต้องตราพรก.กู้เงินที่รัฐตั้งใจผลักดันเข้าครม.วันอังคารหน้า เพราะไม่ต้องรอเปิดสภาและสามารถดำเนินการได้เลย เป็นไปตามมาตรา53ของพรบ.วินัยการเงินการคลัง61 ซึ่งคงมีรายละเอียดตามมาอีกมาก การออกพรก.เป็นไปตามรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย ม.172 กู้ได้เท่าไรต้องอยู่ในกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อGDPกำหนดโดยคกก.วินัยการเงินการคลังซึ่งตั้งตัวเลขไว้ที่60%ของGDP ขณะที่หนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่41.44% และประมาณการGDPอยู่ที่16.9ลลบ.(กพ.63) การกำหนดวงเงิน800,000หรือ1ลลบ.จึงยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางวินัยการเงินการคลัง เปรียบเทียบการใช้งบประมาณเยียวยาและฟื้นฟูของประเทศอื่น อิตาลีใช้เงิน25,000ล้านEuro(1.4%ของGDP)(934,400ลบ.) สเปน ใช้เงิน32,000ล้านEuro(2.6%ของGDP)(1,168,000ลบ.) ฝรั่งเศส ใช้เงิน45,000ล้านEuro(2%ของGDP)(1,642,500ลบ.) UK ใช้เงิน350,000ล้านปอนด์(2%ของGDP)(14,266,000ลบ.) Germany13,500ล้านEuro(0.4%ของGDP)(492,750ลบ.) US ใช้เงิน1,300,000ล้านUSD(อยู่ระหว่างการพิจารณา)(42,900,000ลบ.) เกาหลีใต้ 29,000,000ล้านวอน(783,000ลบ.) มาเลเซีย 57,000ล้านริงกิต(430,863ลบ.) ยังไม่รู้ว่าเราจะตั้งวงเงินเท่าใด แต่เปรียบเทียบตามข้อมูลจากBOTแล้วพบว่าแต่ละประเทศล้วนแต่ใช้เงินเยียวยาและฟื้นฟูจำนวนมากทั้งสิ้น ผลที่ได้รับน่าจะขึ้นกับประสิทธิผลการใช้เงินและคุณภาพของคน ครับ