ETE คุยฟุ้งใช้เวลา 4 เดือน สร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ เสร็จ 4 โครงการใน 4 จังหวัด ขายไฟฟ้าเข้าระบบเรียบร้อย โกยรายได้ปีละ 127 ล้าน เผยใช้เงินลงทุน 900 ล้าน ลั่นเตรียมประมูลเฟส 2 เพิ่มอีก 55 เมกะวัตต์ มั่นใจศักยภาพบริษัททำได้ตามแผน นายไรวินท์ เลขวรนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บูรพาเทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ( มหาชน) หรือ ETE เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้เข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าสหกรณ์เพื่อการเกษตร โดยเริ่มต้นโครงการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2559 ซึ่งบริษัทสามารถจับฉลากได้ 16.47 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น 4 โครงการคือ ที่ จ.สระแก้ว 2 โครงการ และที่ จ.ตราด และประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 1 โครงการ ตามโครงการทั้งหมดที่รัฐบาลมีนโยบายออกมา จะเป็นโครงการของสหกรณ์เพื่อการเกษตร 400 เมกะวัตต์ และของข้าราชการ 400 เม็กกัวัตต์ รวมทั้งหมด 800 เมกะวัตต์ เราเข้าร่วมในส่วนของสหกรณ์ ตอนประมูลเรายื่นเสนอทั้งหมด 6 โครงการ แต่ได้จริงๆ 4 โครงการ เริ่มจับฉลากเมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 4 เดือนเสร็จทุกโครงการ โดยเริ่มก่อสร้างใน เดือนกันยายน ซึ่งตามแผนของรัฐบาลบังคับว่าจะต้องแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2560 โดยจะต้องเชื่อมต่อเข้าระบบไฟฟ้าหลัก ให้ได้ และจ่ายไฟฟ้าได้ (COD) ให้ได้ตามกำหนด มิฉะนั้นจะถูกยกเลิกสัญญา ปรากฏว่า ผู้ที่ได้โครงการไปที่พร้อมๆ กัน รวม 200 เม็กกะวัตต์ CODได้ไม่เกินครึ่ง วันนี้ยังไม่รู้เลยว่าถ้าทำไม่ทันผลต่อไปจะเป็นอย่างไร ซึ่งโครงการนี้เราใช้เงินลงทุนทั้งหมด 900 กว่าล้านบาท สัดส่วนการลงทุนเราลง 1 ส่วนกู้เงินธนาคาร 3 ส่วน แผงโซล่าเซลส์ใช้แผงของ บริษัทเทียร์น่า จากประเทศจีน อินเวิร์ทเตอร์ และหม้อแปลงไฟฟ้า ของ บ.เอกลักษณ์ ตามโครงการทั้งหมดคาดว่าจะสามารถขายไฟฟ้าได้ปีละ 127 ล้านบาท โดยจะคิดเป็นกำไรเฉลี่ยปีละ 27 ล้านบาท จากผลการดำเนินงาน ในเดือนม.ค. - ก.พ. และช่วง มี.ค.ผลการผลิตไฟฟ้าค่อนข้างดีกว่าที่คิด และคาดว่าทั้งปีผลประกอบการจะออกมาดีกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ โครงการโรงไฟฟ้าสหกรณ์ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลเปิดโครงการขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้สหกรณ์ และส่วนราชการมีรายได้ ซึ่งโครงการที่ทำเป็นโควต้าของสหกรณ์ โดยบริษัทเป็นผู้ลงทุน และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้สหกรณ์ประมาณ 7 - 8% เป็นระยะเวลาทั้งหมด 25 ปี ไม่ต้อง สหกรณ์จะมีรายได้ทุกเดือน รวมเฉลี่ยปีละ 10 ล้านบาท ส่งผลให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งมากขึ้น เป็นโครงการที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชนมาช่วยสหกรณ์ ช่วยให้สหกรณ์มีรายได้และมีความมั่นคงมากขึ้น ส่วนที่ดินในโครงการโรวไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดเป็นที่ดินของสมาชิกของสหกรณ์ ซึ่งหลังจากโรงไฟฟ้าสร้างเสร็จแล้ว ทำให้ชุมชนมีกิจกรรมและการจ้างงานสามารถสร้างความเจริญให้ท้องถิ่น โดย กฟภ. จะรับซื้อไฟฟ้าแบบฟีดอินทาลิฟท์ (FIT) หน่วยละ 5.66 บาท แต่ถ้าเป็นโครงการเฟส 2 ต่อจากนี้ จะรับซื้อ 4.12 บาท ลด 27% โดยทางบริษัืทจ่ายไฟฟ้าทั้งระบบแล้วทั้ง 4 โครงการ ส่วนกลางเดือนหน้าบริษัทจะร่วมประมูลโรงไฟฟ้าอีก และขออนุมัติบอร์ดไปเมื่อวันที่ 21เม.ย.ที่ผ่านมา โดยจะยื่นเสนอเข้าประมูลทั้งสิ้นเพิ่มอีก 55 เมกะวัตต์ ที่ผ่านมา เมื่อโครงการสร้างเสร็จ สหกรณ์ต่างๆ มีการประกวดโรงไฟฟ้าระหว่างกัน ปรากฏว่าโครงการของบริษัททำออกมาได้ดีมาก จนมีคนขอเข้ามาดูงานเป็นจำนวนมาก ทั้งที่จริงแล้วโครงการของเราจ่ายส่วนแบ่งให้สหกรณ์น้อยกว่าโครงอื่น ที่ให้ส่วนแบ่ง 10 - 15% แต่สมาชิกสหกรณ์กลับมีความเชื่อมั่น เพราะเรายืนยันว่าไม่คิดจะขายโครงการ และต้องการสร้างโครงการมีคุณภาพ ซึ่งโครงการที่จะมีการประมูลกันใหม่เฟส 2 กฟภ.จะรับซื้อไฟฟ้าในราคาถูกกว่าเดิม เท่าที่ทราบจะรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 4.12 บาท ลดลง 27% แต่เมื่อคำนวณแล้ว ราคานี้ยังสามารถทำได้ เพราะราคาค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงตลอดเวลา และเราจะลงมือซื้ออุปกรณ์และก่อสร้างเอง ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 30% ETE และบริษัทย่อย ประกอบธุรกิจ 3 กลุ่ม คือ 1.ธุรกิจบริการบริหารจัดการ ได้แก่ การบริหารจัดการบุคลากร ระบบงานธุรกิจ และรถเช่าพร้อมพนักงานขับรถ 2.ธุรกิจบริการงานวิศวกรรม ได้แก่ วิศวกรรมระบบไฟฟ้า และระบบโทรคมนาคม 3.ธุรกิจพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ 4 โครงการ กำลังการผลิตรวม 16.47 เมกะวัตต์ ซึ่งเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วทั้ง 4 โครงการเมื่อช่วงสิ้นปี 2559