วันนี้(25 มี.ค.2563) ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 38 แห่ง และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ทําความตกลงร่วมมือในเรื่องการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ผ่านทางระบบ Video Conference ณ ห้องประชุมเฟื้องฟ้า 4 ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงในครั้งนี้มีแนวคิดจะฟื้นฟู สนับสนุน และร่วมมือกับศูนย์/สถาบันศิลปะ และวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ซึ่งมีอยู่ 38 แห่ง เพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมต่างๆ อาทิ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม การวิจัยและจัดการความรู้ด้าน วัฒนธรรม การเผยแพร่องค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายทาง วัฒนธรรมในการดําเนินงานทางวิชาการ การเผยแพร่ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม โดยมีสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาในพื้นที่เป็นเครื่องมือส่วนสําคัญที่จะขับเคลื่อนการดําเนินงาน ด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตและประเพณี อีกทั้งยังได้มีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริม ฟื้นฟูมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรมที่จะสร้างความยั่งยืนสืบต่อไป ในการนี้ ได้กําหนดประเด็นการดําเนินงานที่มีความเชื่อมโยง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์กระทรวงวัฒนธรรม และนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ไว้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การสืบสาน รักษา และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ประเด็นที่ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมของทุกภาคส่วน ประเด็นที่ 3 การพัฒนาองค์กรและการบริการทางวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 38 แห่ง และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จะร่วมกันดําเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม โดยเป็นการความร่วมมือซึ่งกันและกันในส่วนที่เป็นภารกิจงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๘ แห่ง และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม 2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน โดยมุ่งเน้นการดําเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๘ แห่ง และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในการจัดโครงการ/กิจกรรม ด้านวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่เป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม 3. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน การเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมไปถึงงานวิจัย ที่เกี่ยวงานวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 4. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน การจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ และนําไปสู่การขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเสนอต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ซึ่งจําแนกออกเป็น 5 สาขา คือ วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ศิลปะการแสดง แนวทางปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาล ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล งานช่างฝีมือดั้งเดิม การเล่นพื้นบ้าน การกีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว และลักษณะอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง 5. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการบริการทางวัฒนธรรม ในส่วนของพื้นที่ทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ เพื่อใช้ดําเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ภายใต้การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม 6. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการประชาสัมพันธ์มหกรรม เทศกาล งานประเพณี โครงการ/กิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38แห่ง และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม